ปภ.แนะแก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในเด็กบนอาคารสูง ลดอันตรายร้ายแรง

การพักอาศัยในอาคารสูง
การอาศัยในอาคารสูง เป็นทางเลือกสำหรับครอบครัวยุคใหม่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็ก การจัดการสภาพแวดล้อมอาคารสูงให้ปลอดภัย และการสอนเด็กให้เรียนรู้อันตรายจากจุดเสี่ยงในอาคารสูง จะช่วยป้องกัน
การบาดเจ็บและการเสียชีวิตในเด็ก เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสารณภัย (ปภ.) ขอเตือนจุดเสี่ยงอุบัติภัยในเด็กบนอาคารสูง ดังนี้

ระเบียง ให้ปฏิบัติ ดังนี้
จัดทำที่กั้นราวระเบียงแบบทึบ โดยมีความสูงไม่ต่ำกว่า 120 เซนติเมตร หรือเกินระดับการเอื้อมของเด็ก
จัดทำลูกกรงในแนวตั้ง โดยมีระยะห่างไม่เกิน 9 เซนติเมตร เพื่อป้องกันเด็กลอดหรืออวัยวะเข้าไปติดในลูกกรง
ไม่วางสิ่งของบริเวณระเบียง อาทิ โต๊ะ เก้าอี้ คอมเพรสเซอร์ หรือกล่อง เพราะเด็กอาจจะปีนป่าย ทำให้พลัดตกได้
ปิดจุดเสี่ยงที่เด็กอาจจะปีนป่าย อาทิ ปิดช่องวางเท้า ไม่วางสิ่งของที่มีลักษณะที่เป็นแท่งในแนวนอนบริเวณริมระเบียง
ไม่ให้เด็กเล่นบริเวณระเบียง เพราะเด็กอาจจะปีนป่ายก็ไปนั่งเล่น ทำให้พลัดตกระเบียงได้

ประตู – หน้าต่างระเบียง ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ติดตั้งเหล็กดัดแบบเปิดได้ เพื่อป้องกันเด็กปีนป่าย ทำให้พลัดตก อีกทั้งหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะช่วยเหลือเด็กได้อย่างทันท่วงที
ปิดล็อกประตูและหน้าต่างอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันเด็กออกไปเล่นที่ระเบียง ก่อให้เกิดอันตรายได้

ทางหนีไฟ ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ไม่ให้เด็กเล่นบริเวณทางหนีไฟ เพื่อป้องกันการพลัดตก หรือกลับเข้ามาในส่วนของอาคารไม่ได้ เพราะเด็กไม่มีแรงดึงประตู

 

 

ลิฟต์โดยสาร ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ไม่ให้เด็กใช้ลิฟต์ตามลำพัง เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างปลอดภัย
สอนการใช้ลิฟต์อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการปฏิบัติตนกรณีลิฟต์ค้างหรือขัดข้อง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

สระว่ายน้ำ ให้ปฏิบัติ ดังนี้
จัดให้มีที่กั้นหรือรั้วล้อมรอบสระว่ายน้ำ เพื่อป้องกันเด็กลงไปเล่นน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายได้
ไม่ให้เด็กเล่นน้ำ หรืออยู่บริเวณสระว่ายน้ำตามลำพัง เพราะอาจจมน้ำเสียชีวิตได้

ลานจอดรถ ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ไม่ให้เด็กใช้ลานจอดรถเป็นพื้นที่วิ่งเล่น เพราะอาจจะถูกรถชนได้
ไม่ให้เด็กปีนป่ายราวกั้นบริเวณลานจอดรถ เพื่อป้องกันการพลัดตก

กลุ่มเสี่ยงอุบัติภัย
เด็กอาคารสูงเด็ก 2-5 ขวบ เกิดการจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อาทิ ราวระเบียงมีความสูง ไม่มากพอ และมีช่องห่างมากเกินไป ทำให้เด็กสามารถมุดลอดช่องระเบียง และพลัดตกลงมาได้ เพื่อความปลอดภัย ควรจะจัดสภาพแวดล้อมอาคารสูงให้ปลอดภัยสำหรับเด็กเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป เกิดจากความซุกซน ของเด็กที่มักจะปีนป่าย ทำให้พลัดตกจากที่สูง เพื่อความปลอดภัย
ควรจะสอนให้เด็กรู้ถึงความเสี่ยงอันตราย โดยไม่เข้าใกล้ ปีนป่าย ชะโงกตัวหรือศีรษะออกไปนอกระเบียง
ทั้งนี้ ผู้ปกครองไม่ควรจะปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังในห้องพักอาคารสูง แม้เด็กจะนอนหลับ เพราะหากเด็กตื่น
ขึ้นมาแล้วไม่พบใคร เด็กจะพยายามทุกวิถีทางที่จะออกจากห้องพัก โดยเฉพาะหากประตูห้องถูกปิดล็อกจากภายนอกเด็กอาจจะเป็นปลายทางหน้าต่างหรือระเบียงทำให้พลัดตกจากอาคารได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น