ชาวสวนเหนือสิ้นหวัง รัฐฯชงงบ 65 ทุ่ม 2.5 พันล้าน ดันราคาผลผลิตแบบเดิมๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 2,562 ล้านบาท

โดยมีเป้าหมายอช่วยเหลือสินค้าเกษตร 10 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ผลไม้ พืชหัว พืชผัก ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ ประมง กล้วยไม้ ผ่านมาตรการ เพิ่มช่องทาง/ระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ,เสริมสภาพคล่องด้านเงินทุน ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อใช้ในการรับซื้อผลผลิตจากการเกษตรกรเพื่อจำหน่ายหรือเก็บสต๊อกไว้รอจำหน่าย , สร้างการรับรู้เพื่อเพิ่มการบริโภค กระตุ้นการบริโภค ผลักดันและบริหารจัดการส่งออก เพื่อลดอุปทานส่วนเกินในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมปัจจัยผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพปรับคุณภาพและด้านทุนการผลิต
นอกจากนี้มีการกำหนดราคาเป้าหมายสินค้าเกษตรปี 2565 เพื่อกองทุนฯจะได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการช่วยเหลือเกษตรกร ตามนโยบายดูแลเกษตรกรตามแผนที่กำหนดไว้อีกด้วย

ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2564 ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2563 – 15 ก.ค. 2564 นั้นกองทุนได้จัดสรรงบประมาณ ไปแล้ว 2.1 พันล้านบาท ในการดูแลเกษตรกรในกลุ่มสินค้าผลไม้, ไข่ไก่ ,ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, มันสำปะหลัง ,ปาล์มน้ำมัน ,พืชหัว ,พริก, ข้าวเหนียว, ปศุสัตว์/ประมง เป็นการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ต้องเป็นไปอย่างครอบคลุม เข้าถึงปัญหาอย่างรวดเร็ว และเป็นธรรม อย่างไรก็ตามเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือและ กลุ่มชาวสวนลำไยภาคเหนือ กล่าวว่า มาตรการจัดการผลผลิตทางการเกษตรยังคงยึดโยงการดันราคาพืชเศรษฐกิจตามฤดูกาล ซึ่งมีผลสะท้อนผ่านกลไกการตลาดในประเทศแล้วว่า ราคาผลผลิตต้องพึ่งพาตลาดส่งออกหลักๆจึงจะสามารถสร้างรายได้ที่คุ้มทุนของเกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่

” ประเด็นลำไย นั้น มีการแก้ปัญหามายาวนาน และฤดูกาลนี้ ทำให้หลายๆฝ่ายรับรู้ ถึงปมปัญหาที่ซับซ้อน ในการกุมตลาดของคู่ค้า ซึ่งจะเป็นตลาดจีน ด้วยมาตรการแบนลำไย ช่วงกลางเดือน สค.ที่ผ่านมา กลวิธีแบบนี้ไม่มีหลักประกันใดๆเลย ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวสวน ชาวไร่ กลุ่มเกษตรกรในบ้านเราเพราะอาจจะเกิดปัญหา มีข้ออ้างเรื่องศัตรูพืช เข้ามาเจรจาต่อรอง ระงับสินค้า การเกษตรของไทย ในแต่ละฤดูกาลได้ และลำไยน่าจะเป็นตัวอย่างที่จะกระตุ้น ให้ มีการพลิกรูปแบบ สินค้าทางการเกษตร เพื่อทันเกมส์กติกาสากลระหว่างประเทศ ไม่ให้ผลกระทบกำหนดโควต้า ส่งออก ผลผลิต สินค้าภาคการเกษตรไปยัง คู่ค้าเสียเปรียบทางการค้าเช่นที่เกิดขึ้นในตลาดลำไยในปัจจุบัน ”

กลุ่มผู้ค้าผลผลิต ออนไลน์ ใน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การค้าขายผลผลิตผ่านตลาดออนไลน์ ก็เริ่มได้รับผลกระทบจากการมองเห็น การเข้าถึง เพจ.ต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรการจัดระเบียนการค้าขายออนไลน์ของเฟสบุ๊ค รวมทั้งปัญหาการขนส่งที่ไม่ตอบสนองต่อสินค้าทางการเกษตร ทั้งๆที่การขนส่งสินค้าของหน่วยงานในสังกัดรัฐ ควรมีความทันสมัย รวดเร็ว ค่าบริการย่อมเยาว์กว่าเอกชน ในการส่งด่วน” ในสถานการร์โควิด 19 ระบาด การค้าขาย การสร้างรายได้ เพื่อครอบครัว กลายเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องดิ้นรน หาหนทางกันเอง ไม่มีมาตรการ สนับสนุน ส่งเสริม ที่ตรงเป้าหมาย ในแต่ละกลุ่มผลผลิต อีกทั้ง กิจกรรม โครงการ ที่ ดำเนินการ ของภาครัฐ จะมุ่งไปยัง แผนงานพัฒนา ขยายเครือข่าย แหล่งผลิต ในการก่อสร้างอาคาร จัดซื้อ จัดหา วัสดุ อุปกรณ์ อบรม ต่อยอดสินค้า พืชเศรษฐกิจต่างๆตามชุมชน
ทั้งๆที่ รูปแบบ วิธีการเหล่านั้น มีคำตอบแล้วว่า ไม่มีประสิทธิเพียงพอ หรือเหมาะสมกับยุคสมัย ”  

ร่วมแสดงความคิดเห็น