ดราม่า โควต้าพิเศษครู ช่วงโควิด ทุกสายงานต้องเท่าเทียมแผนบรรจุข้าราชการ

กลุ่มครูอัตราจ้าง พื้นที่ จ.ลำพูนและ เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ทุกหน่วยงานต้องปรับกระบวนการปฏิบัติงานตามนโยบาย ในขณะที่ประเด็นการเพิ่มขวัญกำลังใจบุคลากรทางสาธารณสุขเพื่อเสนอบรรจุให้เป็นข้าราชการกว่า 38,000 อัตรา มาสู่รอบที่ 2 แล้ว

ในขณะที่บุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญในการปฏิบัติงานตามนโยบาย บางกลุ่มยังหาความมั่นคงในเส้นทางอาชีพไม่ได้ เช่น กลุ่มครูโรงเรียนเอกชน ส่วนหนึ่ง ได้รับผลกระทบ เพราะรูปแบบการเรียน การสอนช่วงโควิดระบาด ทำให้หลายๆ สถานศึกษาเอกชน แบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว ต้องลดต้นทุนลง และเลือกที่จะเลิกจ้างครู บางสายงาน

” 30 ก.ย.นี้ มีครู บุคลากรทางการศึกษาเกษียณกว่า 2 หมื่นอัตรา แต่การ สอบบรรจุครูผู้ช่วย ยังต้องเลื่อนออกไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แต่มีแนวทางโควต้าพิเศษ ในการบรรจุครูผู้ช่วย โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน โดยวิธีพิเศษ มีการกำหนดผลงานการแข่งขันทางวิชาการ 27 รางวัล ก็ยังเป็นกระแส วิพากษ์ วิจารณ์ของสังคม มองว่าอาจเปิดช่อง การแสวงประโยชน์ในการบรรจุ ทั้งๆ ที่เงื่อนไข รางวัลที่ระบุนั้น กิจกรรม ที่กำหนด ไม่ใช่ง่ายๆไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ,รางวัลการแข่งขันโอลิมปิควิชาการ ,รางวัลการแข่งขันทางวิชาการระดับประเทศ เป็นต้น เป็นหลักเกณฑ์ที่บุคลากรทางการศึกษา ในอำเภอรอบนอก หรือต่างจังหวัดเข้าถึงได้ยาก ถ้าไม่ใช่โรงเรียนใหญ่ๆ มีครู นักเรียนเก่งๆ ”

ด้านพนักงานจ้างเหมา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ผู้ที่เรียนจบสายงานครู ส่วนใหญ่ มีความฝัน มีความหวังที่จะบรรจุเป็นครู ในระบบราชการทั้งนั้น แม้กระทั่งตนเองพยายามหาทางสอบครูผู้ช่วยมาหลายปี เป็นหนึ่งในผู้สมัครสอบกลุ่มทั่วไปในจำนวนกว่า 175,403 คนของปีนี้

“การเปิดสอบออนไลน์ หรือความพยายามที่จะเร่งเปิดสอบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดแบบนี้คงเป็นไปได้ยาก อยากให้บุคลากรทางการศึกษาได้รับสิทธิ เงื่อนไข แบบกลุ่มสาธารณสุข ที่ได้รับขวัญกำลังใจ ในการเสนอบรรจุเป็นข้าราชการบ้าง หรือพนักงานจ้างเหมาท้องถิ่น ได้สิทธิเป็นลูกจ้างประจำ เป็นพนักราชการก็ยังดีต้องยอมรับว่า กลุ่มครูในระบบ จะมีทั้งครูอัตราจ้างใช้เงินจาก สำนักงานเขตพื้นที่จ้างถ้าทำงานครบ 3 ปี จึงจะมีสิทธิ์สอบ เพื่อ
บรรจุเป็นครูผู้ช่วย และกลุ่มครู ที่ใช้เงินโรงเรียนจ้าง ทำงานกี่ปีก็ไม่มีสิทธิ์ใช้อายุงานมาสอบบรรจุการต่ออายุ ส่วนมากจะต่อปีต่อปี ถ้าไม่มีงบก็ต้องออก เช่นเดียวกับพนักงานจ้างเหมาใน อปท. ตามศูนย์เด็กเล็ก ทั้งๆ ที่บางคน ทำงานในโรงเรียนมานานหลายปี ถ้าไม่หาทางสอบบรรจุก็ไม่มีโอกาส เป็นข้าราชการอดีตผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ในพื้นที่ อ.ป่าซาง ลำพูน กล่าวว่า ตามที่มีแนวทางคืนอำนาจการแต่งตั้งโยกย้ายการบริหารงานบุคคลให้เขตพื้นที่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ฉบับเดิม เป็นแนวทาง
ที่ดี อย่าไปมองเพียงเรื่องการเรียกรับผลประโยชน์ แต่ควรมองถึงอำนาจการบริหารงานบบุคลควรจะอยู่ที่หน่วยงานต้นสังกัด

“ครูอัตราจ้างพนักงานจ้างเหมา ทุกๆ คนอยากได้ความมั่นคง ในอนาคตทั้งนั้น ส่วนหนึ่งทุ่มเท ทำงาน ทำการสอนมานานเป็นสิบๆ ปี ไม่มีโอกาสไปนั่งทำเอกสาร เสนอขอวิทยฐานะ ทุกคนในโรงเรียน ในกองการศึกษา รู้ดีว่า มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด อยากจะเสนอโควต้าพิเศษ ให้บรรจุเป็นครูผู้ช่วย เป็นลูกจ้างประจำ เป็นพนักงานราชการ ก็ทำไม่ได้ความเป็นครู มีในสายเลือด ไม่เช่นนั้นคงไม่เลือกเรียนมาทางสายครู บางท่านทำทุกอย่างทั้งงานธุรการ สารพัดงานของโรงเรียน บรรดาผู้บริหาร กลุ่มครู เห็นผลงาน รวมถึงผู้ปกครอง แต่ ช่วยผลักดันอะไรไม่ได้เลย นอกจากปล่อยให้เผชิญกับรูปแบบการสอบแข่งขันถ้าสอบผ่าน ก็ต้องรอเรียกบรรจุ หลังจากนั้น ก็ต้องหันมาทำวิทยฐานะ ที่ไม่ผ่านก็วนมาแบบเดิม ปีต่อๆ ไป พยายามสอบอีก อยากให้เห็นใจ สร้างเสริมขวัญกำลังครู บุคลากรทางการศึกษา เช่นสายงานอื่นๆ ที่ได้รับในช่วงโควิดบ้าง ทุกๆ คน มีบทบาท มีภาระหน้าที่แตกต่างกัน แต่สิทธิพื้นฐานที่ควรได้รับ ควรเท่าเทียมกันทุกสายงาน อย่าลืมว่าการศึกษา คือการสร้างอนาคตของชาติ”

ร่วมแสดงความคิดเห็น