(มีคลิป) ผู้​ประกอบ​การเกสท์เฮาส์​ชุมชนล่ามช้าง ตบเท้ารับวัคซีน​ พร้อมเปิดเมืองท่องเที่ยว​ 1 ต.ค. นี้ ด้าน ปธ.ชุมชน วอนรัฐทบทวนกฏหมายโรงแรม

วันที่ 19 ก.ย. 64 รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ศูนย์​อนามัยที่ 1 เชียงใหม่​ โรงพยาบาล​ส่งเสริม​สุขภาพ​แม่และเด็ก เชียงใหม่​ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่​ กลุ่มผู้ประกอบการ​ที่พักเกสท์เฮาส์​ ในพื้นที่​รอบคูเมืองเชียงใหม่​ นำโดยชุมชนล่ามช้าง ที่มีผู้ประกอบการ​เกสท์เฮาส์​ไม่ต่ำกว่า 100 ราย เข้ารับการฉีดวัคซีน​ไวรัส​โควิด-19 เข็มแรก เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม​ในการที่จังหวัด​เชียงใหม่​จะเปิดเมืองท่องเที่ยว​ในวันที่ 1 ต.ค. 64 ที่กำลังจะมาถึง

สำหรับการ​ฉีดวัคซีน​ในวันนี้ จะมีผู้ประกอบการ​เกสท์เฮาส์​ และพนักงาน​ รวมถึงแรงงานในภาคที่เกี่ยวเนื่องรวมแล้ว 500 คน เข้ารับการฉีดวัคซีน​ โดยทั้งหมดจะได้รับวัคซีน​สูตร​ไขว้ตามนโยบาย​ของกระทรวง​สาณารณสุข โดยชุมชนล่ามช้างเป็นชุมชนที่ธุรกิจ​เกสท์เฮาส์​จำนวนมาก จัดว่าอยู่อันดับต้นๆ ของจังห​วัด​เชียงใหม่​ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน​เศรษฐกิจ​ภาคการท่องเที่ยว​ของจังห​วัด​เชียงใหม่​ ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 แต่หลังจาการระบาด​ทำให้ภาคธุรกิจ​มีขายรายได้ และผู้ประกอบการ​หลายรายต้องปิดกิจการไป

นายวีระวิทย์ แสงจักร ประธานชุมชนล่ามช้าง เปิดเผยว่า จากการเสนอแผนชาร์มมิ่ง เชียงใหม่ (Charming Chiang Mai) ที่จะมีการเปิดในวันที่ 1 ต.ค. 64 แต่หากไม่ได้รับวัคซีน ยังไงก็ไม่สามารถเปิดได้ จึงได้มีการเสนอขอดำเนินการฉีดวัคซีนภายในโซนคูเมืองด้านในก่อน จำนวนทั้งสิ้น 13 ชุมชน เพื่อขะเปิดในโซนดังกล่าวก่อน โดยในวันนี้เป็นวันแรกที่มีการรับวัคซีนยกชุมชน โดยชุมชนล่ามช้างเป็นชุมชนนำร่อง และหลังจากนั้นก็จะมีการทยอยรับให้ครบทั้ง 12 ชุมชน โดยทางชุมชนล่ามช้างไม่มีปัญหาในเรื่องการเตรียมพร้อม ทั้งในส่วนของร้านอาการ , ร้านกาแฟ รวมไปถึงร้านบริการนวด ร้านเช่ารถ ร้านซักรีด และโรงแรมที่พัก นอกจากนี้ยังได้ให้ทางผู้ประกอบการในชุมชนทั้งหมดไปสมัครอยู่ในระบบ SHA หรือ SHA PLUS เพื่อให้ได้มาตรฐานของสาธารสุข และ ททท. เพื่อพร้อมรับนักท่องเที่ยว

ขณะเดียวกันการเป็น Blue Zone ที่ตอนแรกคิดว่าจะทำ sandbox แต่ในความคิดส่วนตัวของตนมองว่าบริบทของจังหวัดเชียงใหม่กับภูเก็ตนั้นมีความแตกต่างกันแต่หากเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนมาเป็น ชาร์มมิ่ง เชียงใหม่ น่าจะดีกว่า และมีการปูพรมฉีดวัคซีนให้กับเฉพาะพื้นที่ที่จะทำก่อนเป็นพื้นที่นำร่อง โดยเฉพาะในพื้นที่คูเมืองชั้นใน เนื่องจากสี่เหลี่ยมคูเมืองชั้นในนั้นคือเขตเศรษฐกิจของจังหวัด และเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นหากสามารถกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมได้ทั้ง 13 ชุมนุมในพื้นที่สี่เหลี่ยมคูเมืองด้านในทั้งหมด ก็จะทำให้โอกาสที่พื้นที่จะเป็น Blue Zone เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสในการเปิดเมืองเชียงใหม่เร็วขึ้นอยู่กับตามไปด้วย

ประธานชุมชนล่ามช้าง บอกอีกด้วยว่า การรับวัคซีนเพื่อให้พื้นที่กลายเป็น Blue Zone นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีน 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งที่ผ่านมาสถานการณ์ในชุมชนล่ามช้าง ผู้ที่ประกอบการธุรกิจเช่าอาคาร เช่าพื้นที่ และสถานที่ต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่ก็ปิดตัวไปเกือบทั้งสิ้น เนื่องจากสู้กับค่าเช่าไม่ไหว เพราะไม่มีรายรับ รายได้ และส่วนที่ยังคงเหลือส่วนใหญ่ก็เป็นเจ้าของสถานที่ซึ่งส่วนใหญ่ก็ปิดให้บริการเช่นกัน เนื่องจากเปิดไปก็ไม่มีลูกค้า หรือผู้เข้าใช้บริการ

อย่างก็ตามในส่วนเรื่องของ SHA และ Charming ตนอยากฝากถึงส่วนของผู้ที่กำหนดเงื่อนไขต่างๆ เรื่องของการขอ SHA หรือ SHA PLUS ในการออกตราสัญลักษณ์ตัวนี้เพื่อให้กับทางสถานที่ประกอบการได้พิจารณาถึงวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอยากให้มีการละเว้นไปก่อนในเรื่องของกฎข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ทำธุรกิจ รวมไปถึงจังหวัดและประเทศสามารถฟื้นตัวได้ก่อน ประมาณ 3-5 ปี เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ก่อน จากนั้นจึงค่อยปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์อีกครั้ง

ทั้งนี้ทางตนก็อยากจะเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ภายหลังจากที่เชียงใหม่ได้ทำเป็น Blue Zone ที่มีการฉีดวัคซีน 100 เปอร์เซ็นต์แล้วนั้น ตนมั่นใจว่าพื้นที่จะมีความปลอดภัยแน่นอน ประกอบกับในระยะนี้ตัวเลขการติดเชื้อของพื้นที่ก็เริ่มลดลง และพบว่าปริมาณผู้ติดเชื้อที่เพิ่มรายวันก็ลดลงมามาก จึงอยากขอเชิญในช่วงใกล้ฤดูกาลท่องเที่ยว และในฤดูหนาวนี้ เชียงใหม่มีความพร้อมที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติอย่างแน่นอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น