ไทม์ไลน์ มหาวิทยาลัยเปิดเรียน 1 พ.ย.นี้ทั่วประเทศ ยึดรูปแบบ 3 ระยะ

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี (อว. ) ได้ร่วมหารือกับหลายๆฝ่ายถึงแนวทางและหลักเกณฑ์การเปิดสถานที่ทำการ ของสถาบันอุดมศึกษาร่วมกับตัวแทนอธิการบดีทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ โดยกำหนดช่วงเวลาเปิดมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในเดือน พ.ย.2564 เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด–19 เริ่มคลี่คลายดีขึ้น แนวทางเบื้องต้นทั้งการใช้อาคารสถานที่ของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรมหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ จะมีการประเมินร่วมกันกับทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็น 3 ระยะ

คือ ระยะที่ 1 เดือน พ.ย.นี้ อนุญาตเฉพาะคณาจารย์ บุคลากร นักวิจัย และนิสิตนักศึกษา ที่เข้ามาปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน หรือทำกิจกรรมในพื้นที่สถาบันอุดมศึกษา ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ในสถานการปกติ

ส่วนระยะที่ 2 ธ.ค.64 กำหนดจำนวนผู้ที่เข้ามาในพื้นที่สถาบันอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงการป้องกันการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันของผู้ปฏิบัติ เช่น ต้องมีผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย ร้อยละ 90 ของบุคคลทั้งหมดที่เข้ามาในสถาบันอุดมศึกษาไม่เกิน ร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ในสถานการปกติ

และระยะที่ 3 ม.ค. 65 กำหนดจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่สถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของของภาครัฐ หรือพื้นที่ในขณะนั้น เรื่องดังกล่าวนี้มีการประชุมหารือร่วมกับตัวแทนอธิการบดี ทั้ง 4 ทปอ. ผ่านระบบออนไลน์แล้ว พร้อมมอบนโยบายเน้นย้ำให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังสูงสุด ต้นเดือน พ.ย.64 สถาบันอุดมศึกษาสามารถเปิดได้ ซึ่งอธิการบดีแต่ละพื้นที่สามารถพิจารณาได้ตามความเหมาะสม เลขานุการ รมว.อว. และ โฆษก อว.อธฺบายว่า การเข้ามาปฏิบัติงาน จัดการเรียนการสอน หรือทำกิจกรรมกลุ่ม มีการจำแนก

ตามพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ไม่เกินกลุ่มละ 25 คน พื้นที่ควบคุมสูงสุด ไม่เกินกลุ่มละ 50 คน พื้นที่ควบคุม ไม่เกินกลุ่ม 100 คน พื้นที่เฝ้าระวังสูง ไม่เกินกลุ่มละ 200 คน และพื้นที่เฝ้าระวัง ไม่เกินกลุ่มละ 500 คน” สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง สามารถกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมหรือลดหย่อนเกณฑ์ได้ ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยผู้ที่เข้ามาในพื้นที่เป็นสำคัญ การตัดสินใจเปิดอยู่ที่การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม และให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ด้วยเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ คำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ปรับรูปแบบกิจกรรมมุ่งสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ ”

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามกลุ่มผู้ปกครอง ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พบว่า ส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับการจัดการเรียนการสอน ทั้งแบบออนไลน์และะออนไซต์ แต่ต้องบริหารจัดการความปลอดภัย ผู้เรียน ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง หรือตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ” ไม่ต้องเร่งรัดเปิดเรียนในสถานบัน หากการจัดฉีดวัคซีน ไม่ตามเป้าหมายที่แต่ละสถาบันกำหนด หรือ สถานการณ์โรคยังมีคลัสเตอร์ใหม่ๆ กระจายในหลายพื้นที่ เนื่องจาก นักศึกษา มีภูมิลำเนาแตกต่างกัน หากไม่ระมัดระวัง ควบคุมป้องกัน หรือมีพื้นที่เสี่ยงมากไป ก็อาจเป็นจุดเสี่ยง คลัสเตอร์ใหม่ๆได้

ที่สำคัญตามสถานที่ เสี่ยง ในการใช้บริการ ตลอดจนการรวมกลุ่ม ในย่านมหาวิทยาลัย พบว่า ใน จ.เชียงใหม่ กลายเป็นจุดแพร่ระบาด ของคลัสเตอร์ใหม่ๆได้ เช่น ย่านสถานบันเทิง ใกล้มหาวิทยาลัย เป็นต้น ให้นักศึกษา มีทางเลือกเรียนทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ได้ โดยคำนึงถึงมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาด้วย”

ร่วมแสดงความคิดเห็น