ล้วงลึก อบต.ปมชิงตำแหน่ง 28 พ.ย.นี้ ทั่วไทย จ.เชียงใหม่ล่าสุดมี อบต.89 แห่ง

เครือข่ายภาคประชาสังคม ป้องกันการทุจริต จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จำนวนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ปัจจุบันมี 5,300 แห่ง หายไป 32 เพราะควบรวม ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ซึ่งมีจำนวนล่าสุด 2,247 แห่ง โดย จ.เชียงใหม่ล่าสุดมี อบต.89 แห่ง ซึ่งหลังจากอยู่ในวาระยาวนานร่วมๆ10 ปีก็จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 28 พย.นี้ ข้อมูลจาก สำนักงาน กกต.เชียงใหม่ แจงรายละเอียด อบต.23 อำเภอ ใน 89 แห่งที่จะเลือกตั้ง อำเภอที่มีผู้สมัครมากสุดคือ
อมก๋อย น้อยสุด อ.เมือง ภาพรวมการรับสมัครรับเลือกตั้งนายก อบต.และสมาชิกสภา อบต.ระหว่าง 11-15 ตค.ที่ผ่านมาพบว่า มีผู็สมัครนายกฯ212 คน สมาชิก สภาอบต.2,322 คน” อบต.แม่ทะลบสมัครชิงนายกมากสุด 5 คน ที่มีสมัคร 1 คนจะมี 10 แห่ง เช่น อบต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่,อบต.เวียง อ.ฝาง, อบต.โป่งแยง อ.แม่ริม เป็นต้น ในส่วนสมาชิกอบต.นั้น มีผู้สมัครมากสุด 6 คน ในแต่ละเขตเลือกตั้งของ อ.ดอยหล่อ,เชียงดาว,แม่ออน, และอมก๋อย ส่วนที่สมัครเขตละ 1คนมีถึง 59 แห่ง แสดงว่าแบเบอร์ได้รับเลือกชัดเจน ”

นักวิชาการ เครือข่ายฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าเปรียบเทียบงบประมาณเทศบาลตำบลกับ อบต.ระหว่างปี 2564 กับงบประมาณปี2565 จะพบว่าลดลงร้อยละ 6.42 ประมาณ 14,900 ล้านบาท ได้รับเพียง 217,523 ล้านบาท จากที่งบปีก่อนหน้าได้รับจัดสรร 232,445 ล้านบาทแต่ละ อปท. ถ้าเจาะฐานข้อมูล อบต. 5,300 แห่ง ที่มีรายได้ท๊อปไฟว์ 1 ใน5 นั้น จะมีอบต.บางเสาธง 499.50ล้านบาท ,อบต.บางโฉลง 464.92 ล้านบาท, อบต.คลองสาม จ.ปทุมธานี 457.31 ล้านบาท, อบต.เทวะราชา 477.15 ล้านบาท, อบต.บางพลี723.58 ล้านบาท ซึ่งทั้ง4 แห่งอยู่ใน จ.สมุทรปราการ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีของ อบต.แต่ละแห่งนั้น เทียบกับรายได้ของกลุ่ม ที่ติดอันดับสูงสุด 5 อันดับ บ่งชี้ถึงความเหลื่อมล้ำของงบประมาณ อปท.ชัดเจนมาก อบต.จะมีรายได้มาจากภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ ตลอดจนรายได้จากทรัพย์สินของ อบต. จากสาธารณูปโภค ของ อบต. กิจการเกี่ยวกับการพานิชย์ เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ รัฐจัดสรร เงินอุดหนุน ส่วนแบ่งจากภาษีและค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวงแร่
ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ส่วนแบ่งจากเงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติใน อบต. เป็นต้น

พระราชบัญญัติสภาตำบลและ อบต. (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มีการปรับเปลี่ยนสาระสำคัญจากฉบับเดิม โดยเฉพาะสภา อบต.ที่กำหนดให้จำนวนสมาชิก อบต.เหลือเพียงหมู่บ้านละ 1 คน มีความพยายามยกระดับอบต.ขึ้นเป็น เทศบาลตำบล แต่ติดขัดด้วย หลักเกณฑ์จัดตั้งทั้งจำนวนประชากร ความเจริญทางเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการจัดเก็บรายได้ และ ศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่น่าสังเกตุว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฯ พ.ศ. 2557 จะกำหนดฐานเงินเดือนระหว่าง 21,860 – 26,080 บาท ขึ้นอยู่กับรายได้อบต. นั้น ๆ ซึ่งมีระดับไม่เกิน 5 ล้านบาทจนถึงมากกว่า 50 ล้านบาทยกตัวอย่าง อบต. ใน จ.เชียงใหม่ ที่มีผู้สมัครนายกมากสุด 5 คน ดูจากคำแถลงงบประมาณแต่ละปี จะอยู่ระหว่าง47-49ล้านบาท ปี 2562 ได้รับเงินอุดหนุนกว่า 24 ล้านบาท รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วจัดสรรให้ประมาณ22.4 ล้านบาท ในงบแสดงฐานะการเงินมีเงิน
สะสม ปี 3563 ประมาณ 14 ล้านบาทเครือข่ายภาคประชาสังคม ป้องกันการทุจริต ฯ ระบุว่า อบต. 89 แห่ง ในเชียงใหม่ ถ้านำไปเปรียบเทียบรายได้กับ 5 อบต.ที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ จะพบความแตกต่างกันมาก ยิ่งข้อมูล อบต. บางแห่งมีรายได้ต่ำสุดปีละ 15-16 ล้านบาทก็มี ดังนั้น การคัดเลือกตัวแทนไปบริหารจัดการพัฒนาตำบล ในฐานะ นายก อบต.

ซึ่งจะมีเงินรายได้ส่วนอื่นทั้งเงินอุดหนุน ภาษี โครงการต่างๆที่รัฐสนับสนุน อย่านำไปเปรียบเทียบเงินเดือน เงินรายได้ที่นายกอบต.จะได้รับ เนื่องจาก บาง อบต. มีโครงการ ในปีงบประมาณ หน้า เป็นจำนวนมาก บางอบต.ในแม่ริม มีกว่า200 โครงการ วงเงินร่วมๆ40-50ล้าน ผลประโยชน์อื่นใด ที่ได้รับจากการดำเนินแผนงาน สังคมรับรู้
” ถ้าต้องการเห็น อบต.พัฒนาก้าวไกล ต้องเลือกตัวแทนคุณภาพ ตรวจสอบได้ แม้ปัจจุบันนักการเมืองท้องถิ่นจะมีกล่าวอ้างว่ามีกลไก ติดตาม ความโปร่งใส ในการบริหาร งานพัฒนาต่างๆ มีดัชนีชี้วัดแต่ละเกณฑ์ แต่อย่าลืมว่า การทุจริตเชิงนโยบาย ที่มีการสมคบคิดระหว่างพ่อค้า นักการเมือง ข้าราชการ เป็นสิ่งที่อันตราย และน่ากลัว ในวังวน อบต.ในบ้านเราจากฝีมือนายกฯกว่า 5,300 คน สมาชิกกว่า 5 หมื่นเขตซึ่งเฉพาะงบประมาณในส่วนเงินเดือนก็มากโขอยู่แล้ว “

ร่วมแสดงความคิดเห็น