ชาวสวน ชาวนาเดือดร้อน น้ำท่วมไร่นา ปุ๋ยขยับราคา ดีเซลแพง ต้นทุนพุ่ง ราคาผลผลิตยังต่ำ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ปราชญ์เกษตรล้านนา และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ช่วงนี้เกษตรกรประสบปัญหาต้นทุนผลิตที่ปรับตัวสูงจากราคาน้ำมัน และปุ๋ย สวนทางกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะข้าวเปลือกตันละ 5,000 บาท หรือ กก.ละ 5บาท ทั้งๆที่ราคาควรจะขยับกว่านี้จากภาวะ ข้าวจมน้ำ ผลผลิตน่าจะหดหายจากตลาด ความต้องการมาก ราคาน่าจะสูง แต่ภาวะที่เป็นสวนทางกัน จะมีขยับราคาในกลุ่มพืช ผัก ผลไม้ ที่เป็นช่วงสั้นๆ จากแหล่งกระจายผลผลิตปิดชั่วคราว เพื่อควบคุมโควิด 19 ตามมาตรการทางสาธารณสุข


ในขณะที่กลุ่มเกษตรกร ชาวนา ใน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปุ๋ยเคมี ราคาเพิ่มมาก โดยชาวบ้านที่ทำการเพาะปลูกจะไปซื้อ หรือ เครดิตตามร้านเคมีภัณฑ์เกษตรในชุมชน และตาม สหกรณ์ชุมชนที่สนับสนุนเกษตรกร
“ต้นทุนผลผลิต สูง แต่ราคาที่ขายได้ ในแต่ละฤดูกาล ไม่คุ้ม ทำให้วงจร แบกหนี้สิน พัลวันกันเป็นรอบๆ พอขายข้าว ขายพืชไร่ได้ก็ไป จ่าย ชำระหนี้กับร้านค้า แล้วเอาของรอบใหม่ มาอีกเป็นหนี้ตามฤดูกาลเพาะปลูก ท้ายที่สุดหนี้พอกพูน ถ้าเช่าที่ เช่าสวน ก็เลิกหันไปรับจ้างทั่วไป ถ้ามีที่ดินก็ขาย ปลดหนี้ จนไม่เหลือกอะไรให้ลูกหลาน”
สำหรับกลุ่มค้าปุ๋ย ใน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่กล่าวว่าปุ๋ยเคมีปรับราคาสูงขึ้นมาก ราคาจำหน่ายปุ๋ยที่ขายขณะนี้น่าจะตรึงได้ถึงวันที่ 30 ต.ค.นี้เท่านั้น จากนั้นปุ๋ย 84 สูตร ราคาน่าจะขยับขึ้นทั้งหมด เช่นสูตรเสมอ หรือ 15-15-15 ราคา 730 บาท จากราคาหน้าโรงงาน 825บาท/กระสอบ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ราคา 775 บาท จากราคาหน้าโรงงาน 825บาท/กระสอบ สูตร 16-20-0 ราคา 640 บาท จากราคาหน้าโรงงาน 725 บาท/กระสอบ สูตร 21-0-0 ราคา 390 บาท จากราคาหน้าโรงงาน 450 บาท/กระสอบ เป็นต้น


กลุ่มผลิตลำไยนอกฤดู อ.ป่าซาง จ.ลำพูน กล่าวว่า ราคาผลผลิตที่จะ ทยอยออกมา ในช่วงนี้ ราคาก็ยังไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับล้ง กำหนดราคา แต่ น่าจะดีกว่าในฤดู และเห็นด้วยกับสภาอาชีพเกษตรกรในหลายๆพื้นที่ พยายามผลักดัน จัดตั้งวิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มคุ้มครองผู้ผลิตลำไยคุณภาพ เช่น อำเภอแม่สรวย เชียงราย ที่จะรวมกลุ่ม 26 ตุลาคม2564 เวลา 09.09 น. ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยภาคเหนือได้รับการช่วยเหลือ เงินเยียวยาจากรัฐบาล ไร่ละ 2 พัน บาท
ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานสถานการณ์ฝนตกชุกและตกหนักถึงหนักมาก หลายพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน น้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตรมีสาเหตุจากปรากฏการณ์ลานิญา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่ 48 จังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อประชากรร้อยละ 5 ของประเทศ (จากประมาณ 69.8 ล้านคน) และพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบร้อยละ 6.5 ของพื้นที่การเกษตรในประเทศปริมาณผลผลิตเสียหายตามพื้นที่น้ำท่วม เช่น ผลผลิตข้าว ประมาณร้อยละ 30 ของข้าวทั้งหมดที่ปลูกในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม


เนื่องจากนาข้าวส่วนใหญ่อยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง ส่วนพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง มักปลูกในที่ดอน จึงไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเหมือนข้าว สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น คาดว่าจะทำให้มูลค่ารวมภาคเกษตรปี 2564 ลดลงประมาณ 4,190 – 5,730 ล้านบาท
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยแนวโน้มประมาณการภาวะเศรษฐกิจการเกษตรแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 9.6 โดยพืชสำคัญได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2 เป็นผลจากการเพิ่มปริมาณผลิตตามความต้องการตลาดทั้งในและต่างประเทศ สาขาประมง หดตัวร้อยละ 3
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปีนี้คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 – 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ช่วงไตรมาส
4 ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และความผันผวนของค่าเงินบาท ที่อาจส่งผลต่อต้นทุนผลิต การกระจายผลผลิต และการส่งออก

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น