‘สี จิ้นผิง’ เขียนบทความสำคัญ: ขับเคลื่อน ‘ความมั่งคั่งร่วมกัน’ อย่างจริงจัง

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เขียนบทความสำคัญหัวข้อ “ขับเคลื่อน ‘ความมั่งคั่งร่วมกัน’ อย่างจริงจัง” ลงในนิตยสาร “ฉิวซื่อ” หรือ “แสวงสัจธรรม” ฉบับที่ 20 ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา

บทความเน้นว่า “ความมั่งคั่งร่วมกัน” เป็นความต้องการเชิงธาตุแท้ของสังคมนิยมและเป็นอัตลักษณ์สำคัญของความทันสมัยแบบจีน ตั้งแต่การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศ ครั้งที่ 18 เป็นต้นมา คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนกุมการเปลี่ยนแปลงใหม่แห่งขั้นตอนการพัฒนา ถือการค่อยๆ บรรลุความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทุกคนไว้ในลำดับที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างสอดประสานกันระหว่างภูมิภาค ใช้มาตรการทรงพลังเพื่อประกันและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เอาชนะสงครามต่อสู้กับอุปสรรคและความยากลำบากเพื่อขจัดความยากจน บรรลุการสร้างสังคมมีกินมีใช้อย่างรอบด้าน อันเป็นเงื่อนไขที่ดีสำหรับการขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกัน ปัจจุบันมาถึงขั้นตอนประวัติศาสตร์แห่งการขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกันอย่างจริงจังแล้ว เพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความขัดแย้งหลักของสังคมจีนและตอบสนองความต้องมีชีวิตที่ดีงามซึ่งนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นของประชาชน จำต้องถือการขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทุกคนเป็นภารกิจสำคัญที่สุดในการแสวงหาความสุขแก่ประชาชน ตลอดจนเสริมสร้างพื้นฐานการปกครองประเทศในระยะยาวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

บทความชี้ว่า “ความมั่งคั่งร่วมกัน” เป็นความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทั้งมวล เป็นความมั่งคั่งทั้งชีวิตทางวัตถุและชีวิตทางจิตใจของประชาชน ไม่ใช่ความมั่งคั่งของคนส่วนน้อย และไม่ใช่ลัทธิเท่าเทียม (equalitarianism) ที่มีเพียงมาตรฐานเดียว ต้องลงลึกศึกษาค้นคว้าเป้าหมายในขั้นตอนที่แตกต่างกันและขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกันอย่างมีขั้นตอน การขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกันต้องยึดหลักการต่อไปนี้ให้ดี ได้แก้ ส่งเสริมการสร้างความร่ำรวยผ่านการใช้ความขยันหมั่นเพียรและการสร้างนวัตกรรม ยึดมั่นในระบบเศรษฐกิจพื้นฐาน ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ตามสรรพกำลัง และยืดหยัดที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นระเบียบ

บทความดังกล่าวระบุว่า แนวคิดโดยรวมในการขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกัน คือ ยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ขับเคลื่อนความมั่งคั่งร่วมกันท่ามกลางการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ จัดการความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพกับความเป็นธรรมอย่างถูกต้อง กำหนดระบบเชิงพื้นฐานที่สอดประสานกันเกี่ยวกับการแบ่งปันเบื้องต้น การแบ่งปันครั้งที่ 2 และการแบ่งปันครั้งที่ 3 ยกระดับและความแม่นยำของการใช้มาตรการลดช่องว่างต่าง ๆ เช่น การเก็บภาษี ประกันสังคม จ่ายเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นกรณีพิเศษ และอื่น ๆ ขยายสัดส่วนกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง เพิ่มรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กำกับดูแลการมีรายได้สูงอย่างสมเหตุสมผล ห้ามการมีรายได้อย่างผิดกฎหมาย นำไปสู่การเกิดโครงสร้างแบ่งปันเชิงรูปลูกรักบี้ซึ่งมีขนาดใหญ่ตรงกลางและลีบลงตรงปลายทั้งสองด้าน ส่งเสริมความเป็นธรรมและความเที่ยงธรรมทางสังคม ส่งเสริมการพัฒนารอบด้านของปัจเจกบุคคล ตลอดจนให้ประชาชนทุกคนก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายความมั่งคั่งร่วมกันอย่างคงเส้นคงวา ประการแรก ยกระดับความสมดุล การสอดประสานกัน และความเปิดกว้างในการพัฒนา ประการที่สอง เน้นขยายขนาดกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง ประการที่สาม ส่งเสริมความเท่าเทียมกันด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ประการที่สี่ เสริมสร้างการกำกับดูแลการมีรายได้สูง ประการที่ห้า ส่งเสริมความมั่งคั่งร่วมกันด้านชีวิตทางจิตใจของประชาชน และประการที่หก ส่งเสริมความมั่งคั่งร่วมกันของเกษตรกรและพื้นที่ชนบท

บทความชี้ว่า ความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทุกคนเป็นแนวคิดโดยรวมซึ่งระบุไว้สำหรับทั้งสังคมและต้องมองจากสถานการณ์โดยรวม การที่เราจะบรรลุความมั่งคั่งร่วมกันของประชากรจำนวน 1,400 ล้านคนนั้น จำต้องทำงานแบบติดดินอย่างหนักเป็นเวลายาวนานจึงจะประสบความสำเร็จได้ และไม่ใช่ว่าทุกคนจะมั่งคั่งได้พร้อม ๆ กัน และไม่ใช่ทุกภูมิภาคจะเข้าถึงระดับความมั่งคั่งเดียวกันพร้อมกันได้ กลุ่มคนที่ต่างกันนอกจากจะบรรลุความมั่งคั่งในระดับที่แตกต่างกันแล้ว ระยะเวลาบรรลุความมั่งคั่งนั้นก็จะต่างกันในแง่ของความช้า-เร็วด้วย ระดับความมั่งคั่งในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกัน จึงไม่อาจบรรลุความมั่งคั่งพร้อมเพรียงกันได้ ทั้งนี้ถือเป็นกระบวนการพัฒนาไปข้างหน้าท่ามกลางพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง

แปลเรียบเรียงโดยภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)

ร่วมแสดงความคิดเห็น