นอภ.ฮอด เสวนาจัดพิธีหล่อหุ่นจำลอง “ขุนหลวงวิลังคะ” อดีตกษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งเมืองระมิงค์นคร

จัดพิธิหล่อหุ่นจำลอง “ขุนหลวงวิลังคะ” อดีตกษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งเมืองระมิงค์นคร ระลึกถึงบรรพชนของชาติพันธุ์ลัวะ ที่ ทต.บ่อหลวง อ.ฮอด ใน 16 ม.ค. 65

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2564 ที่ผ่านมา นายสิทธิ์ วงศ์ม่าน นอภ.ฮอด จ.เชียง ใหม่ เป็นประธานจัดเวทีเสวนาทางวิชาการ ในประเด็น “วัฒนธรรม ลัวะ ขุนหลวงวิลังคะ หอศิลป์ ต.บ่อหลวง” ณ อาคารปฎิบัติธรรม วัดกิ่วลม ต.บ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เนื่องในโอกาสการสร้างองค์ขุนหลวงวิลังคะ อดีตกษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งเมืองระมิงค์นคร หรือ (เชียงใหม่ปัจจุบัน) โดย ทต.บ่อหลวง ร่วมกับ สภาวัฒนธรรม ต.บ่อหลวง ภายใต้การจัดงานตามนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของทางภาครัฐและสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด อีกทั้งการจำกัดบุคคลที่มาร่วมในงาน คณะทำงานได้มีการไลฟ์สด ให้รับชมทางสื่อออนไลน์

การสร้างองค์ขุนหลวงวิลังคะ หรือ สร้างอนุสาวรีย์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการระลึกถึงบรรพชนของชาติพันธุ์ลัวะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใน จ.เชียง ใหม่ การเริ่มต้นสร้างในครั้งนี้ สืบเนื่องจากองค์เดิม ทำด้วยปูนซีเมนต์ และเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ได้เกิดวาตภัย พัดบริเวณลานอนุสาว รีย์ ต้นสนที่อยู่บริเวณหลังลานอนุสาวรีย์ ได้หักโค่นลง ทับบริเวณลานอนุสาว รีย์ และองค์ขุนหลวงวิลังคะ ที่ปั้นด้วยปูน ทำให้เกิดความเสียหาย แตกบริเวณจุดต่างๆขององค์ขุนหลวงฯ

มติที่ประชุมจากทุกภาคส่วน มีความเห็นพ้องกันว่า ให้มีการจัดสร้างขึ้นใหม่ ด้วยวัสดุที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้มีการวางแผนงานครั้งสำคัญเกิดขึ้น ตั้งแต่การประชุม ออกแบบ ประสานงาน ปั้นหุ่นองค์จำลอง และหล่อเป็นทองเหลือง ขนาดความสูง 3.90 เมตร ในวันที่ 16 มกราคม 2565 ณ ลานอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิลังคะ ทต.บ่อหลวง อ.ฮอด  พร้อมกับการปรับสร้างลานอนุสาวรีย์ขึ้นใหม่แทนของเดิม การดำเนินงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่ผ่านมาได้มีการประสานงาน แจ้งข่าวการสร้างให้กับหลายๆ ท่าน หลายๆ ชุมชน และทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วม ส่วนสำคัญในการจัดสร้างลานอนุสาวรีย์ในครั้งนี้ ส่วนเวทีการเสวนาที่ได้จัดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อต้องการให้คนในชุมชนท้องถิ่น ต.บ่อหลวง ได้มีความเข้าใจในชาติพันธุ์ของตนเองมากขึ้น ในด้านข้อมูล ความเป็นมา ประวัติศาสตร์ และสร้างความภาคภูมิใจต่อตนเอง ท้องถิ่น ต่อบรรพบุรุษ

ทางคณะวิทยากรหลายท่านที่นำความรู้ ในด้าน“วัฒนธรรม ลัวะ ขุนหลวงวิลังคะ หอศิลป์ ต.บ่อหลวง” ถ่ายทอดให้ทุกท่านที่เข้าร่วมเสวนารับฟัง อาทิ ร.อ. ดร.อัครินทร์ พงษ์พันธ์เดชา นักวิชาการ ด้านการจัดการมรดกทางวัฒน ธรรม “ละเวือะ (ลัวะ) คือใคร?” ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักวิชาการอิสระด้านประวัติ ศาสตร์ศิลปะ อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย “พระนางจามเทวี ขุนหลวงวิลังคะ หอศิลป์ ต.บ่อหลวง” คุณธีรยุทธ นิลมูล ประธานกรรม การ สิปาน คอลเลคชั่น “ศิลปวัฒนธรรมการแต่งกาย” อ.วิธูร บัวแดง “ลัวะ ในมุมมองคติชนวิทยา” และ อ.ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร “เสริมความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ลัวะ” ซึ่งเป็นเวทีที่สร้างคุณค่าต่อชุมชนชาติพันธุ์ลัวะเป็นอย่างยิ่ง

ในงานนี้มีหลายภาคส่วน ซึ่งมีคณะสงฆ์ ต.บ่อหลวง นำโดย พระครูปริยัติธรรมพินิจ เจ้าคณะ ต.บ่อหลวง พระครูสุนันทนิเวศน์ เจ้าคณะ ต.บ่อสลี พระอธิการสุธรรม สิริสุโข เจ้าอาวาสวัดกิ่วลม พร้อมคณะสงฆ์ทุกรูปที่ร่วมในงาน และส่วนราชการ ท้องถิ่น และประชาชน ต.บ่อหลวง โดย นายสิทธิ์ วงศ์ม่าน นอภ.ฮอด ประธานในพิธี นายประนอม หล้าจู นายก ทต.บ่อหลวง นายมาโนตย์ บรรเทิงใจ กำนัน ต.บ่อหลวง ประธานและสมากชิก ทต.บ่อหลวง นายชัยรงค์ เสาร์ริว ประธานสภาวัฒนธรรม ต.บ่อหลวง อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากภาคประชา ชนและกลุ่มต่างๆ ใน ต.บ่อหลวง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน และภาคเอกชน ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานในครั้งนี้

การดำเนินงานเสวนา ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เรียบง่าย และนอกจากมีเวทีเสวนาแล้ว ก็ยังมีการมอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนในเขต ต.บ่อหลวง โดยผู้ใหญ่ใจดี อีกหนึ่งซุ้มกิจกรรม คือ การแสดงในด้านของซุ้มวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหาร มีการแสดงเสื้อผ้า และอาหารเมนู ที่กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ รับประทานในช่วงเทศกาลต่างๆ ให้ผู้เข้าร่วมงานเสวนา ได้รับชม และได้ชิมกัน

นับว่าเป็นกิจกรรมที่เริ่มต้น เพื่อให้มองเห็นถึงความสำคัญของบรรพบุรุษของตนเอง รักษาหวงแหนวัฒนธรรมอันดีงามของชาติพันธุ์ ปลูกฝังให้เด็กเยาวชน คนในชุมชน ได้ตระหนักและเรียนรู้เผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของตนเอง จึงขอขอบบคุณทุกภาคส่วน ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์อันดีงามในครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการเรียนรู้อย่างจริงจัง ในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากคณะวิทยากรหลายๆ ท่าน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ดีในการเริ่มต้น ปลูกฝัง ให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ตระหนักรู้ถึงความเป็นมา การช่วยกันดูแลรักษา สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพชนสืบไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น