(มีคลิป) บริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เปิดตัวแนวคิดใหม่ ชูแนวทาง 6 ด้านเชื่อมโยง “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม”

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ศ.ดร. สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดงาน วิสาหกิจชุมชนกสิกรรมไร้สารพิษสู่ความยั่งยืนบ้านดงเจริญชัย หมู่ที่ 6 ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยนำ “แนวทางระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม”มาดำเนินการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้อยู่ดีกินดี พร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้องค์ความรู้ และงานวิจัย บนความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้การนำแนวทางดังกล่าวนี้มาใช้เกิดจากความสำเร็จในการทำโครงการสันทรายโมเดล ซึ่งใช้หลักการ “หมอในบ้าน อาหารเป็นยา” และเกษตรสุขภาพ มาใช้ขยายผลในพื้นที่บ้านดงเจริญชัยแห่งนี้ ซึ่งได้ชูแนวทางระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ไว้ 6 ด้านคือ 1.เกษตรสุขภาพ : โดยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ดำเนินกิจกรรมแล้วถ่ายทอดสู่ชุมชน 2.ด้านพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน : เพื่อให้มีสุขภาพกาย-ใจดี ปราศจากโรคในกลุ่ม NCD 3.ด้านเศรษฐกิจ :ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างผู้ประกอบการ เกิดวิสาหกิจชุมชน สร้างผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานแล้วนำสู่ตลาดสากล 4.ด้านสังคม – การเมือง : เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดการแบ่งปันและเอื้ออาทรกัน เกิดกิจกรรมการ “ฮอม แฮม ฮัก จิตอาสา” ของในรัชกาลที่ 10 มาใช้ 5.ด้านสิ่งแวดล้อม :มุ่งให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูดิน น้ำ ป่า ซึ่งใช้หลักการ Reuse : การนำสิ่งเหลือใช้ ( 1.เกิดต้นทุนในการเก็บ :ขยะ เศษอาหาร) :โดยการนำกลับมาใช้ให้เกิดมูลค่าพัฒนาเป็นสารอาหารให้แก่พืช ช่วยลดต้นทุนการผลิต และการใช้ Biology : คือการนำเอาจุรินทรีย์ชีวภาพที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการผลิตพืช (เกษตรสุขภาพ) เช่น ไมโคไลซา ไตรโคเดอร์มา ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็น Humus เพิ่มจำนวนรากพืช ช่วยให้ระบบรากพืชดูดซึมอาหารได้เป็นอย่างดี ช่วยให้พืชทนแล้ง สามารถป้องกันแมลงและกำจัดโรคพืช เช่น โรคโคนเน่า ใบเหี่ยว ใบจุด ทำให้เกิด พืชได้ใช้ประโยชน์จาก ดิน น้ำ อากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 6.ด้านการท่องเที่ยวโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่อยู่ในรูปแบบศูนย์เรียนรู้และ Farm Stay ซึ่งในอนาคตทางวิทยาลัยบริหารศาสตร์ กำลังจะจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม”ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการต่าง ๆ ในกลุ่มเกษตรภาคเหนือตอนบน

ทางด้าน ผศ.ดร.สถาพร แสนสุโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการวิจัย วิทยาลัยบริหารศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาวางโครงสร้างพื้นฐานการบริหารระบบเกษตรสุขภาพในการผลิตพืชเกษตรสุขภาพ เริ่มจาก โรงเรือนจุรินทรีย์ โรงเรือนสารอาหารพืช เรือนเพาะชำ(ต้นกล้าพันธุ์พืช ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร) ระบบน้ำ หน่วยจัดการกลางเพื่อรวบรวมผลผลิต ตลาดเกษตรสุขภาพชุมชน ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรสุขภาพ และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งได้มีการวางผังระบบการปลูกพืช ทั้งรูปแบบการปลูกผักในแปลงใหญ่ที่มีความหลากหลายชนิดพันธุ์พืช รวมทั้งการสร้างปลงขนาดเล็กที่กระจายทั่วไป การปลูกพืชผักบนวัสดุปลูกที่เรียกว่า“กองปุ๋ยภูเขา”(Permaculture)สามารถใช้ปลูกพืชผักได้ระยะเวลานานถึง 20 ปี และการปลูกพืชระบบป่าที่มีทั้งไม้พี่เลี้ยง(กล้วย)ไม้ประธาน และไม้โตเร็ว

“หัวใจสำคัญของการดำเนินการด้านเกษตรสุขภาพจะให้ความสำคัญเน้นย้ำ 4 เรื่อง คือ คุณค่า : คุณภาพ มูลค่า และรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับเรื่อง “คุณค่า” นั้นจะส่งเสริมให้ราษฎรได้รับสารอาหารที่ผลิดออกมาอย่าครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรค ส่วน“คุณภาพ” คือ การกินแล้วอร่อย ปลอดภัย มีมาตรฐานรับรองก้าวไปสู่การเป็นตลาดกลางสินค้าเกษตรสุขภาพ และ “มูลค่า” คือ เกิดมูลค่าในชีวิต ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีความสุข รวมทั้ง “รักษ์สิ่งแวดล้อม” นั้นคือ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกื้อกูลกับธรรมชาติ ซึ่งหากดำเนินการดังกล่าวจะนำมาซึ่งความมั่นคงในด้านสุขภาพในชีวิตอย่างแน่นอน”

ทางด้าน นายชยางกูร ชินวรภัทร พ่อหลวงหมู่ที่ 6 บ้านดงเจริญชัย กล่าวว่า วันนี้ทำเกษตรแบบมีความสุขและมีสุขภาพดีขึ้นด้วย ต้องขอขอบคุณทางวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำนักวิชาการและนักวิจัยมาระดมร่วมดำเนินการในแนวทางระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมดังกล่าวนี้ โดยได้วางแผนการขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องจนเห็นเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ จนปัจจุบันจากศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษบ้านดงเจริญชัยสู่ความยั่งยืน ได้มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และสร้างกลุ่มเกษตรสุขภาพ กลุ่มธนาคารน้ำซาวข้าว ชมรมจิตอาสา ฮอม แฮม ฮัก บ้านดงเจริญชัย ขึ้น ปัจจุบันบ้านดงเจริญชัยมีครอบครัวทั้งสิ้น 166 ครอบครัว ซึ่งเข้าร่วมดำเนินการนี้แล้วจำนวน 30 ครัวเรือน และวางเป้าขยายผลในปี 2565 จำนวน 116 ครัวเรือน ซึ่งในอนาคตจะได้เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานและขยายผลไปสู่พื้นที่ใกล้-ไกลต่อไป

นอกจากนี้ ผศ.ดร.วันชาติ นพาศรี นักวิชาการอิสระ กล่าวเห็นด้วยกับแนวคิดใหม่นี้ โดยได้มีศูนย์เรียนรู้บ้านดงเจริญชัยเป็นต้นแบบในการขยายผลความสำเร็จดังกล่าว และหากวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีความพร้อมในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งหากได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม”ก็จะสามารถใช้เป็นศูนย์กลางการดำเนินการพัฒนาในกลุ่มงานด้านการเกษตรในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้อย่างดียิ่ง และในอนาคตหากได้พัฒนาองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนรัฐร่วมเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมผลักดันในการดำเนินธุรกิจด้วยแล้วก็จะสามารถพัฒนาให้ก้าวสู่การเป็น “ระเบียงเศรษฐกิจเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” รองรับการขยายตัวระเบียงเศรษฐกิจพิเศษลานนา ในอนาคต ซึ่งหากได้มีการผลักดันเสนอเป็นนโยบายรัฐบาลก็จะเป็นการช่วยความมั่นคงทางอาหารของประเทศ และของโลกดต่อไปในอนาตด้วย

สำหรับการจัดงานครั้งนี้ได้มีทางสำนักงานพัฒนาชุมชน เกษตรอำเภอสันทราย สาธารณสุข /เทศบาล ตำบลหนองแหย่ง และ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
ได้นำชาวบ้านบ้านแม่จอน อ.เชียงดาว และชาวบ้านบ้านห้วยราชบุตร อำเภอแม่แตงมา
ดูองค์ความรู้ในพื้นที่เพื่อจะนำไปปฏิบัติในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ได้มีทางผู้แทนโครงการธรรมชาติปลอดภัย ในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด มาร่วมงานด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น