เร่งแก้หนี้ครู 1.4 ล้านล้านบาท ติวเข้มสหกรณ์ครู ช่วยขับเคลื่อนแผน

อดีตผู้บริหาร สถานศึกษา ในพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาหนี้สินครูนั้น ต้องยอมรับว่า มีความซับซ้อนในการแก้
ไข เพราะแต่ละราย มีศักยภาพในการผ่อนชำระหนี้ แตกต่างกัน บางราย เป็นครูจนเกษียณก็ยังแบกหนี้อยู่ ซึ่งเห็นด้วยกับโครงการแก้ปัญหาหนี้
ครู ที่ดึงกระบวนการต่างๆ มาร่วมแก้ปัญหานี้ ที่ผ่านๆมา ค่อนข้างแก้ปัญหาช้ามาก
ด้านนายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ( ศธ. )กล่าวภายหลังร่วมประชุม กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูว่า ปัจจุบันครู 9
แสนคนทั่วประเทศ หรือประมาณร้อยละ 80 มีหนี้สินรวมกันกว่า 1.4 ล้านล้านบาท เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู เป็นจำนวน 8.9
แสนล้านบาท หรือร้อยละ 64 รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25 ของหนี้สินครูทั้งหมด
” สาเหตุของปัญหาหนี้สิน เช่น เกิดจากข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เจ้าหนี้เป็นฝ่ายกำหนดอาจเป็นข้อตกลงที่เอาเปรียบ
ลูกหนี้ที่ต้องยอมรับเพราะไม่มีทางเลือก ลูกหนี้ไม่มีวินัยทางการเงินหรือใช้จ่ายเกินตัว เป็นเรื่องสำคัฐมากกับการมีวินัยทางการเงิน ไม่เช่นนั้น
ก็จะติดกับดักวงจรการเป็นหนี้ ”
ตัวแทนสหกรณ์ออมทรัพย์ครูภาคเหนือ กล่าวว่านายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี สธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการ
แก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมคณะทำงาน เช่น นายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ.,
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ., นายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ., นายวัลลพ สงวนนาม รองเลขาธิการ กพฐ. รวมทั้งตัวแทนธนาคารแห่ง
ประเทศไทย, ธนาคารออมสิน, บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด, กรมส่งเสริมสหกรณ์
ได้ประชุมแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบเป็นฐานร่วมกับสหกรณ์ออม
ทรัพย์ครู 20 แห่งที่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งภาคเหนือ มีหลายแห่งเข้าร่วมถือเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมร่วมกับผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ในการแสดงเจตจำนงค์ร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้สินครู เพราะเรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินครู เกิดขึ้นมานานหลายรัฐบาลแล้ว แต่ด้วยเงื่อนไขและ
เวลา อาจจะยังไม่สำเร็จ จนถึงยุคนี้ที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องหนี้สินทุกกลุ่ม
ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่าโดย
แนวทางแก้ปัญหามีการหยิบยกประเด็นที่น่าสนจคือจะพิจารณาร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนำร่อง 20 แห่ง เกี่ยวกับขอบเขตการดำเนินงานแก้
ปัญหาหนี้สินครู โดยมีแนวทางที่จะนำมาพิจารณาร่วมกัน เช่นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูให้ต่ำลงไม่เกิน ร้อยละ 3
ปัจจุบันอยู่ที่ 3.5-4.5% ถือว่าสูงผิดปกติ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ จัดสรรผลกำไรมาเพิ่มเงิน
เฉลี่ยคืนเงินกู้ให้มากขึ้นนำเงินปันผลมาหักชำระหนี้เพื่อลดยอดหนี้รายเดือน
การปรับโครงสร้างหนี้ จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับสถาบันการเงินและต้นสังกัดร่วมกับส่วนราชการต้น
สังกัดหัก ณ ที่จ่าย ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ ให้มีเงินเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% รวมทั้งการ
พัฒนากลไกการทำงานของภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพื่อ ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสภาพคล่องในการชำระหนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น