เชิญชวนทุกท่านร่วมทำบุญ บูรณะวัดแม่อีด อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซ่อมแซมขัดทาสีใหม่ พระพุทธรูปชำรุด จำนวน 17 องค์

วัดแม่อีด อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
เชิญชวนทุกท่าน ร่วมบุญซ่อมแซม ขัดทาสีใหม่ พระพุทธรูปชำรุด สีหลุดกร่อน จำนวน 17 องค์
(ภายใน วัดแม่อีด มีพระพุทธรูปทั้งหมดจำนวน 28 องค์)

กองบุญละ 9 บาท
หรือตามกำลังศรัทธา

ร่วมบุญได้ที่ ธ.กรุงไทย เลขที่ 516-020-7074
ชื่อบัญชี วัดแม่อีด

สอบถามที่ 081-765-0969
พระอาจารย์หนึ่ง เจ้าอาวาส วัดแม่อีด
.
ประวัติวัดแม่อีด

วัดแม่อีด ตั้งอยู่เลขที่ 519 หมู่ 6 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

แรกเริ่ม เกิดจาก 2 วัดร้างมารวมกัน คือ วัดสันต้นปิน และวัดจองไตย (วัดของชาวไทใหญ่)

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงใช้ วัดสันต้นปิน เป็นที่พักของทหารชาวไทย และใช้ วัดจองไตย เป็นที่พักของทหารชาวญี่ปุ่น

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ชาวบ้านใช้วัดแห่งนี้ เป็นที่พักของผู้ที่จะไปถ้ำเชียงดาว วัดจึงเคยถูกเรียกว่า “วัดปากทางเข้าถ้ำ” ปี พ.ศ. 2477 ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้เข้ามาพักที่วัดสันต้นปินที่กำลังร้างอยู่ เพื่อเป็นที่รวบรวมให้ชาวเชียงดาวมาทำบุญสร้างวิหารวัดถ้ำเชียงดาวจนสำเร็จ นอกจากนี้ ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังได้นำศรัทธาเดินเข้าถ้ำเชียงดาวในวิสาขบูชา จนกลายเป็นประเพณีของอำเภอเชียงดาวสืบมาอีกด้วย

ปี พ.ศ. 2517 ชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะสร้างวัดอีกครั้ง วัดมีพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่ 3 งาน

ปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งชื่อ “วัดแม่อีด” ตามมติมหาเถระสมาคม ยกวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ และให้ใช้ชื่อตามลำน้ำในหมู่บ้าน คือ ลำน้ำแม่อีด มาจากชาวบ้านทำไร่อ้อยและตั้งเครื่องอีดอ้อย เพื่อทำน้ำอ้อยตามลำน้ำ จึงได้ชื่อว่าลำน้ำแม่อีดอ้อย ปัจจุบันทางราชการใช้ชื่อว่า ลำน้ำแม่อีด ปี พ.ศ. 2537 วัดได้ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต
– พัทธสีมา คือ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นสถานที่ทำสังฆกรรมร่วมกัน มีขนาดพอจุพระภิกษุนั่งห่างกันคืบหนึ่งๆ ได้ไม่น้อยกว่า 21 รูป โดยปกติใช้ใบเสมาเป็นเครื่องหมายล้อมรอบเขต
– ลูกนิมิต คือ ลูกกลมๆ ขนาดประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ
– การฝังลูกนิมิต มีชื่อเรียกเป็นทางการอีกอย่างหนึ่งว่า การผูกพัทธสีมา (แปลว่า เขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาต) โดยปัจจุบันจะเริ่มจากพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันในโบสถ์ เพื่อทำพิธีสวดถอน มิให้อาณาบริเวณที่จะกำหนดนี้ไปทับที่ที่เคยเป็นสีมา หรือเป็นที่ที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก่อน

ปัจจุบัน พ.ศ. 2564 วัดแม่อีด ถูกจัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 26 ภายในวัด มีพระครูปลัดรัฐกร สนฺตจิตฺโต เป็นเจ้าอาวาส มีพระจำนวน 7 รูป สามเณร จำนวน 20 รูป โดยวัดกำลังดำเนินการซื้อที่ดิน เพื่อขยายพื้นที่วัด เพิ่มอีก 7 ไร่ 2 งาน แต่ยังค้างชำระไม่หมด

จุดสังเกต เมื่อมาถึงหน้าวัด
หน้าวัดจะมีถนนตัดผ่าน ชื่อถนนถ้ำเชียงดาว ซึ่งถนนเส้นนี้ คือ ทางไปถ้ำเชียงดาว โดยถนนจะอยู่ตรงกลาง ระหว่าง “ลานนอกรั้ววัดที่อยู่ฝั่งวัด” และ “ลานนอกรั้ววัดที่อยู่ฝั่งตรงข้ามวัด”

ลานด้านนอกรั้ววัด ที่อยู่ฝั่งวัด มี…
1. พระสังกัจจาย ให้ผู้ที่ศรัทธาได้เข้ามากราบไหว้บูชา
2. ฆ้องใหญ่ชัยมงคล ป้ายวัดแม่อีด
3. อนุสาวรีย์ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ผู้ที่ศรัทธาได้เข้ามากราบไหว้บูชา

ลานด้านนอกรั้ววัด ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามวัด มี…
1. เจ้าแม่กวนอิม ให้ผู้ที่ศรัทธาได้เข้ามากราบไหว้บูชา
2. ศาลาบำเพ็ญบุญ
3. ร้านกาแฟอิ่มบุญ
4. กลุ่มแม่บ้านสตรี เอาสินค้าเย็บปักถักร้อยมาขาย
5. ห้องอบยาสมุนไพร
6. ห้องน้ำ
7. ลานจอดรถ ประตูหน้าทางเข้าวัด
ปัจจุบัน วัดกำลังสร้างพญาราชสีห์เพศผู้ 1 คู่ สูง 5.59 เมตร ช่างจะปั้นให้อยู่ในท่านั่งด้วยสองเท้าหลัง หางงอขึ้นพาดไว้กลางหลัง สองเท้าหน้าตั้งยันพื้น อ้าปากแผดสิงหนาท ขนหัวตั้งชัน เป็นลักษณะของศิลปะล้านนาไทย คือมีขนาดพอเหมาะได้สัดส่วนสวยงาม สื่อถึงอำนาจ-บารมี

เมื่อเข้ามาภายในวัดจะพบสถานที่สำคัญดังนี้

“…ศาลาบาตร…”
ศาลาบาตร หรือ วิหารคต อยู่ติดกับรั้วที่อยู่ด้านหน้าของวัด ซึ่งภายในศาลาบาตรแห่งนี้ มีพระพุทธรูป ปางปราบมารวิชัย จำนวน 28 องค์ นั่งเรียงกัน เพื่อให้ชาวบ้านมาตักบาตร โดยมีพระพุทธรูป 17 องค์ กำลังอยู่ในช่วงบูรณะซ่อมแซม เนื่องจากชำรุด มีรอยสีหลุดกร่อน และมีรอยร้าว จึงกำลังดำเนินการขัดทาสีใหม่

“…ลานธรรม…”
เป็นลานกลางแจ้งของวัดแม่อีด มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ 3 แห่ง คือ
1. หลวงพ่อทันใจ สมปรารถนาบารมี สร้างเสร็จภายในวันเดียว ขนาดหน้าตัก 11 ศอก
2. อสุรินทราหู เป็นพระราหูที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ
3. พระยืน ปางเปิดโลกจักรพรรดิ์ สูง 11 เมตร สร้างเสร็จภายใน 99 วัน พระยืนทรงเครื่อง ขอพรเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน

“…พระอุปคุต…”

“…ลานเปรต…”

“…อุโบสถ…”

“…วิหารจองไตย…”

“…ศาลาการเปรียญ…”

“…ศาลาเอนกประสงค์…”

“…อาคารปฏิบัติธรรม…”

“…เสนาสนะ…”

“…บริเวณเลี้ยงและโรงเก็บอาหารสำหรับ โค กระบือ ม้าและช้างที่ได้มาจากการไถ่ชีวิต…”

ร่วมแสดงความคิดเห็น