ลำปางแถลงการณ์ หลังพบการติดเชื้อจาก 3 คลัสเตอร์ใหญ่ในจังหวัด

กรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนที่เกิดจากครอบครัว หมู่ 8 ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง กลุ่มก้อนในตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง และกลุ่มเกษตรกรรม หมู่ 2 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ

วันที่ 7 ธันวาคม 2564 นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนายแพทย์ประเสริฐ กิจสุวรรณรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง ได้เปิดเผยสถานการณ์ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 จังหวัดลำปางว่า วันนี้จังหวัดลำปาง พบผู้ติดเชื้อโควิด- 19 รายใหม่ จำนวน 34 ราย รักษาหายเพิ่ม 6 ราย ตั้งแต่ วันที่ 27 มิถุนายน 2564 ถึงปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อโควิด- 19 สะสมรวม 2,927 ราย รักษาหายแล้ว 2,725 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 187 ราย และเสียชีวิตสะสม 15 ราย จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ วันนี้ เป็นผู้ติดเชื้อจากต่างจังหวัด 5 ราย (ลำพูน 4 ราย อุดรธานี 1 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อในจังหวัด 29 ราย ซึ่งเป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยกลุ่มก้อนตำบลบ้านเสด็จ 24 ราย กลุ่มก้อน ในกลุ่มเกษตรกรรม หมู่ 2 ตำบลสบป้าด 1 ราย กลุ่มก้อนที่เกิดจากการครอบครัว หมู่ 8 ตำบลชมพู 4 ราย

สำหรับการติดเชื้อกรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนทั้ง 3 กลุ่มก้อนมีรายละเอียดดังนี้
กรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนที่เกิดจากครอบครัวหมู่ที่ 8 ตำบลชมพู พบผู้ป่วยรายแรกวันที่ 29
พฤศจิกายน 2564 ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม – 6 ธันวาคม 2564 ทีมสอบสวนโรคได้ทำการค้นหาผู้สัมผัสผู้ป่วยพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 337 ราย ส่งตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อ 22 ราย สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจำนวน 337 ราย ได้รับการตรวจกัดกรองด้วยวิธี ATK พบเชื้อ 8 ราย (ตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อ)
จากการสอบสวนโรคพบว่าการติดเชื้อเริ่มต้นภายในครอบครัว และมีการเข้าร่วมงานสวดอภิธรรม/มาปนกิจศพ ซึ่งพบว่ามีการรวมกลุ่มเล่นการพนัน ทำให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนำเชื้อโควิด-19 กระจายสู่ครอบครัว สถานศึกษา และที่ทำงาน รวมพบ ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 กรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนนี้ จำนวน 30 ราย กระจายไปในอำเภอเมืองลำปาง (ตำบลชมพู ตำบลพระบาท ตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลปงแสนทอง) อำเภอห้างฉัตร (ตำบลหนองหล่ม) อำเภอแม่ทะ (ตำบลแม่ทะ) อำเภอเกาะคา (ตำบลวังพร้าว)

กรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง พบผู้ป่วยรายแรกวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ทีมสอบสวนโรคได้ทำการค้นหาผู้สัมผัสผู้ป่วยพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน 353 ราย ส่งตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อ 49 ราย สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจำนวน 84 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี ATK ผลเป็นลบทั้งหมด จากการสอบสวนโรคพบว่าสาเหตุการกระจายของโรคพบผู้ติดเชื้อที่มีความสัมพันธ์กับกับการจามไก่ และเนื่องจากผู้ป่วยมีอาชีพเป็นคนขับรถตู้รับ-ส่งนักเรียนที่มาเรียนในโรงเรียนเขตเมือง( โรงเรียนมัธยมวิทยา, โรงเรียนบ้านปงสนุกชั้นอนุบาล 1/1 และ ชั้นประถมปีที่ 3 ทำให้มีการกระจายเชื้อสู่ครอบครัวของนักเรียนและกระจายไปสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเสด็จ รวมพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 กรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มหมู่ 2 หมู่ 3 และหมู่ 11 ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง จำนวน 50 ราย

กรณีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มเกษตรกรรม หมู่ 2 ตำบลสบป้าด พบผู้ป่วยรายแรกวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่วันที่ 2- 6 ธันวาคม 2564 ทีมสอบสวนโรคได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงโดย ส่งตรวจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 142 ราย ตรวจพบเชื้อเพิ่ม 30 ราย สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจำนวน 1,418 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี ATK พบเชื้อ 22 ราย (ตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อ)

จากการสอบสวนโรคพบว่าสาเหตุการกระจายของโรคมีความสัมพันธ์กับการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งมักจะมีการรวมกลุ่มรับประทานอาหาร และดื่มน้ำจากกระติกน้ำเดียวกัน ใช้แก้วน้ำร่วมกัน ทำให้มีการกระจายเชื้อสู่ครอบครัว รวมพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 กรณีกรระบาดเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มเกษตรกรรม หมู่ 2 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จำนวน 52 ราย กระจายไปใน ตำบลสบป้าด ตำบลนาสัก และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ
จากข้อมูลการสอบสวนโรค พบว่า สาเหตุการติดเชื้อ ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่ามีการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการทำให้เกิดการติดเชื้อภายในครอบครัว และผู้ติดเชื้อมีการเข้าร่วมการทำกิจกรรมในชุมชนที่อาจมีมาตรการในการป้องกันโรคโควิด-19 ไม่มากพอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว
วงการพนัน (จามไก่ การพนันในงานศพ) งานดื่มสังสรรค์ ทำให้มีการแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อไปสู่ผู้สัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว ที่ทำงาน รถรับส่งนักเรียน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น

เพื่อให้เศรษฐกิจของจังหวัดลำปางขับเคลื่อนต่อไปได้ ไม่ต้องปิดเมือง หรือปิดกิจการบางอย่าง ขอความร่วมมือชาวลำปางปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่

  1. ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น
  2. เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ในทุกสถานที่
  3. สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา ทั้งที่อยู่ในและนอกบ้านที่มีคนมากกว่า 2 คน
  4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม ไอจาม หรือสัมผัสวัตถุ/สิ่งของ ที่ใช้ร่วมกัน
  5. หลีกเสี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าที่สวมใส่อยู่ รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
  6. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และผู้มีโรคเรื้อรัง หลีกเสี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น (น้อยครั้งและใช้เวลาสั้นที่สุด)
  7. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ
  8. แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
  9. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุกสุกใหม่ ควรทานอาหารแยกสำรับ หากทานร่วมกันให้ใช้ซ้อนกลางส่วนตัว
  10. หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง เช่น สัมผัสผู้ที่อาจติดเชื้อ หรือมีอาการ ควรได้รับการตรวจด้วย ATK บ่อย ๆ เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

ในเรื่องของการดำเนินการเพื่อควบคุมป้องกันโรค จังหวัดลำปางมีการดำเนินการดังนี้

  1. เพิ่มการเข้าถึงและการคัดกรอง/เฝ้าระวังโดยใช้ชุดตรวจ ATK ในกลุ่มที่สำคัญ หรือในกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันของประชาชน ทั้งการทำงาน (เช่น การเกี่ยวข้าว หรือหักข้าวโพด) และงานเทศกาลต่างๆ โดยสนับสนุนให้บริการตรวจ ATK อย่างกว้างขวาง กรณีกิดการระบาด ให้ความสำคัญกับการใช้ ATK ในการคัดกรองและคัดแยกกลุ่มเสี่ยงออกโดยเร็วที่สุด โดยสถานบริการทุกแห่งจะมีการเตรียมชุดตรวจ ATK ให้เพียงพอ
  2. เพิ่มความเข้มข้นของระบบเฝ้าระวังในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาด
  3. เตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาด/สถานการณ์การพบผู้ป่วยจำนวนมาก ระดับจังหวัดมีการทบทวนแผนรองรับสถานการณ์ แนวทางการดูแลผู้ป่วย ตรวจสอบความพร้อมทรัพยากรต่างๆให้เพียงพอ และแจ้งผู้รับผิดชอบระดับอำเภอให้เตรียมความพร้อม
  4. เตรียมความพร้อมของศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: C) ในทุกพื้นที่และ
    เตรียมการเพื่อรองรับกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวก และผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ
  5. เตรียมความพร้อมเปิดเมืองรองรับการท่องเที่ยวตามแนวทาง Covid Free Setting และตาม
    มาตรฐาน SHA โดยมุ่งเน้นเร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ถนนคนเดินกาดกองต้า ถนนสายวัฒนธรรม สนามกอล์ฟแม่เมาะ
  6. เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรในพื้นที่ให้มากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น