โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จัดการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2

วันที่ 26 ธันวาคม 2564 โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จัดการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยรางวัล “สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่” ครั้งที่ 2 และวันสถาบันขงจื่อ ประจำปี 2564 ณ ห้องประชุม อาคารฉงซิน โดยมีนายอู๋ จื้ออู่ กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดร.ยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ นายไพฑูรย์ ตระการศิรินนท์ รักษาการประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงวิทยา และผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง คุณเหลียน เฉิน ผู้อำนวยการฝ่ายจีนสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.วิชิต ลอลือเลิศ ประธานสมาคมครูจีนแห่งประเทศไทย นายปณิธิ ตั้งผาติ ประธานชมรมโรงเรียนสอนภาษาจีนภาคเหนือแห่งประเทศไทย นายพิสิษฐ์ จินตวิวัฒน์ นายกสมาคมนักธุรกิจไทยจีนเชียงใหม่ คณะกรรมการอำนวยการมูลนิธิฯ คณะผู้บริหารโรงเรียนฯ และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมพิธีในรูปแบบออนไลน์

กิจกรรมการแข่งขันในครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง และสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ , บริษัท เสฉวนซินหัวเลอจือเทคโนโลยี จำกัด และบริษัท สิโนไทยเอ็ดดูเคชั่นเทคโนโลยี จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนในประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถสะท้อนความรู้ความสามารถทางด้านภาษาจีนของนักเรียน ซึ่งในยุคปัจจุบันได้ผลักดันให้การเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนในประเทศไทยให้มีแนวความคิดใหม่และพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

นายไพฑูรย์ ตระการศิรินนท์ รักษาการประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงวิทยา และผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง กล่าว “ขอขอบคุณท่านกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ และแขกผู้มีเกียติทุกท่าน ที่สละเวลามาร่วมพิธีเปิดกิจกรรมการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยรางวัล “สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 (จง หลิ่ง เปย)”

การแข่งขันทักษะภาษาจีนชิงถ้วยรางวัล “จง หลิ่ง เปย” นี้ หลังจากที่หลายโรงเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 1 ในครั้งนั้นทำให้มีแนวคิดที่จะเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนที่ชื่นชอบภาษาและวัฒนธรรมจีนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนจึงจัดการแข่งขัน ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยผู้เข้าแข่งขันในครั้งนี้มีจำนวน 1,232 คน พูดได้ว่าเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคณะครูได้เสียสละฝึกฝนนักเรียนจนเกิดผลอันยิ่งใหญ่ พวกเขาเหล่านี้สมควรได้รับการยกย่อง

ปัจจุบันสถานการณ์โรคโควิด-19 ยังคงรุนแรงทำให้มีอุปสรรคในการเตรียมงานก่อนการแข่งขันรอบคัดเลือก แต่โชคดีที่ครั้งนี้สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจเรื่อยมา พร้อมทั้งสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ที่ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และยังมีคณะผู้บริหาร ครูและบุคลากร โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง ที่เป็นผู้ประสานงานให้แก่ผู้เข้าแข่งขันเป็นอย่างดี ถึงแม้ต้องพบเจอกับอุปสรรคที่หลากหลาย แต่โรงเรียนมุ่งมั่นจนเกิดผลทำให้จัดงานการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเกิดขึ้นในวันนี้ได้
ผมในฐานะตัวแทนโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง ขอขอบคุณคณะผู้ทำงานทุกท่านที่เสียสละ มุ่งมั่นกับการทำงานในครั้งนี้ ขอขอบคุณที่ทุกท่านได้ร่วมสร้างเวทีบุคลากรด้านภาษาจีนที่ยอดเยี่ยม และผมขอประกาศ การแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยรางวัล “สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 (จงหลิ่งเปย) และวันสถาบันขงจื่อโลก” ได้เริ่มขึ้น ณ บัดนี้”

นายอู๋ จื้ออู่ กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ กล่าว “ผมรู้สึกยินดี และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมกิจกรรมการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทยชิงถ้วยรางวัล “สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ครั้งที่ 2” และวันสถาบันขงจื่อโลก ประจำปี 2564 การแข่งขันนี้ได้เริ่มจัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งได้กระตุ้นความสนใจของเยาวชนไทยที่เรียนภาษาจีนเป็นอย่างมาก และนับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรรมการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนที่มีชื่อเสียงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ปีนี้จึงได้ขยายขอบเขตการรับสมัครเป็นทั่วประเทศไทย มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมถึงจำนวน 1,200 คน จากโรงเรียน 200 กว่าแห่ง ผมขอชื่นชมและขอบคุณผู้ดำเนินการกิจกรรมโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง และสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนคณะทำงานที่อยู่เบื้องหลังการจัดงานในครั้งนี้

ในปัจจุบันภาษาและวัฒนธรรมจีนที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ได้ขยายอิทธิพลความสำคัญไปยังทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง คนที่อยากเรียนและเข้าใจภาษาจีนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เราเป็นประเทศคู่มิตรที่ดีต่อกัน จำนวนคนที่เรียนภาษาจีนในไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง และสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างก็มีจุดเด่นของตน ได้สร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัยใหม่อยู่เสมอ ปลูกฝังบุคคลที่มีความสามารถในด้านภาษาจีนหลายต่อหลายรุ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของไทย ผลักดันความร่วมมือและอุทิศตนเพื่อสัมพันธไมตรีระหว่างไทย-จีน

ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันฯ สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ ยินดีกระชับความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในด้านการพัฒนาการศึกษาภาษาจีนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ กระตุ้นเยาวชนชาวไทยเป็นทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-จีน ส่งเสริมและสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า “จีนไทยมิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน”

ท้ายนี้ ขอให้กิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอให้ผู้เข้าแข่งขันทุกท่านได้รับผลการแข่งขันที่ดี ขอให้แขกผู้มีเกียรติ คณาจารย์ นักเรียน สุขภาพแข็งแรง หน้าที่การงานราบรื่น และประสบความสำเร็จในการเรียน”

ดร.ยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว “วันนี้รู้สึกยินดี และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมกิจกรรมการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทยชิงถ้วยรางวัล “สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ครั้งที่ 2”และวันสถาบันขงจื่อโลกประจำปี 2564 ณ โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ดี ส่งเสริมทักษะความสามารถด้านภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญของโลก ณ เวลานี้ ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพทางด้านศิลปะวัฒนธรรมจีนควบคู่กับภาษาได้อย่างลงตัว อันแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย – จีนที่มีระยะเวลายาวนาน

สุดท้าย ขอชื่นชมโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่สอนภาษาจีนได้อย่างยอดเยี่ยม จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ ขอให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ ทางศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ขอร่วมชื่นชมเป็นกำลังใจ และยินดีสนับสนุนกิจกรรมที่ดีของทางโรงเรียนอันจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป”

คุณเหลียน เฉิน ผู้อำนวยการฝ่ายจีนสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว “วันนี้พวกเราได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการแข่งขันภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 และงานวันสถาบันขงจื่อ ประจำปี 2564 การแข่งขันที่เราได้ร่วมกันจัดเมื่อปีที่แล้วนั้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก บนพื้นฐานของความสำเร็จนี้ เราได้ร่วมกันพัฒนาและผลักดันกิจกรรมทำให้มีจำนวนของผู้เข้าแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 1,232 คน โดยผู้จัดกิจกรรมได้รับผลงานทั้งหมด 942 ผลงาน และมีโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันเกือบ 500 โรงเรียน และปี 2564 นี้เป็นปีที่ครบรอบ 15 ปี แห่งการก่อตั้งสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลา 15 ปี สถาบันขงขื่อ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีจุดมุ่งหมายในการเผยแพร่วัฒนธรรมจีน มิตรภาพระหว่างไทย-จีน และส่งเสริมโรงเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ ได้กลายเป็นหนึ่งในโครงการภาษาและวัฒนธรรมจีนที่ทรงอิทธิพลมากในประเทศไทย

การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ได้ริเริ่มโดยสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเขียงใหม่, สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง, บริษัท Sichuan Xinhua lezhi เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด, บริษัทสิโนไทย เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด โดยทุกฝ่ายให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ดิฉันขอถือโอกาสนี้ แสดงความขอบคุณต่อหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ คณะกรรมการ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน

สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จได้เพราะความร่วมมืออย่างแข็งแกร่งจากทุกฝ่าย โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงถือเป็นโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนภาษาจีนที่โดดเด่น ซึ่งทางโรงเรียนได้ให้ความร่วมมือกับทางสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่เสมอมา ไม่หยุดที่จะร่วมกันพัฒนาและจัดกิจกรรมภาษาและวัฒนธรรมจีน เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง

ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปี 2565 ที่ใกล้จะมาถึงนี้ สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง และโรงเรียนต่าง ๆ จะสามารถร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมไทย-จีนอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมการแข่งขัน ZHONG LING CUP ถือเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนจีนในท้องถิ่น ซึ่งเราจะใช้ประสบการณ์ในครั้งนี้ เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาต่อไปในอนาคต”

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น