แสดงความยินดี “นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด” ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด
รองกรรมการผู้จัดการ (สำนักประสานรัฐกิจ) บริษัทซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน)
ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
พิธีประสาทปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2562 2563 2564
วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด รองกรรมการผู้จัดการ สำนักประสานรัฐกิจ กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เริ่มงานที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ตำแหน่งผู้จัดการ สำนักประสานรัฐกิจ กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย , ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักประสานรัฐกิจ กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย ส่วนประสบการณ์การทำงานเคยเป็น ผู้จัดการฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหาร บริษัทห้างสรรพสินค้าโรบินสันจำกัด (มหาชน) ปัจจุบันอายุ 67 ปี จบศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์/การปกครอง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผ่านการศึกษาอบรมหลายหลักสูตรสำคัญ อาทิ
-พ.ศ. 2548 หลักสูตรการปฏิบัติการ จิตวิทยาฝ่ายอํานวยการ รุ่นที่ 96 สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด
– พ.ศ. 2552 หลักสูตรการปฏิบัติการ จิตวิทยาระดับนโยบาย รุ่นที่ 1 สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
– พ.ศ. 2555 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม ระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 16 วิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม
– พ.ศ. 2559 หลักสูตรกฎหมายมหาชนกับการบริหารงานมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 2 สถาบันคลังสมองของชาติ
ทั้งนี้ ท่านเคยได้รับปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พ.ศ. 2557 จากวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด นับเป็นบุคคลผู้ประสบความสำเร็จยอดเยี่ยมในวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในสังคมแล้ว ยังได้อุทิศตนทำงานเพื่อสังคม จนได้รับการยกย่องเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล ได้แก่
1. การได้รับรางวัล “เสมาคุณูปการ” และใบประกาศเกียรติคุณ ในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณ
ประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2560 และ รับพระราชทานโล่รางวัลและประกาศ เกียรติคุณ ผู้ทําคุณประโยชน์ต่อ พระพุทธศาสนา สังคม ประเทศชาติ และนานาชาติ รางวัล “โพธิจักร” ครั้งที่ 1 สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ (สสพช.) พ.ศ. 2561 โดยมีผลงานการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ดังนี้
– พ.ศ. 2556 คณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาทวิภาคี ด้านความร่วมมือการจัดอาชีวศึกษา ระบบทวิ
ภาคี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
– พ.ศ. 2556 – 2564 ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการศูนย์การเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญา
ภิวัฒน์และศูนย์การเรียน 20 แห่ง (การศึกษาระบบทวิภาคี)
– พ.ศ.2561 – 2564 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ธุรกิจและการบริการ
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ

2. การได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น ผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัว
จังหวัดนนทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว สมัยที่ 7, 8 ,9 , 10 (พ.ศ. 2550 – 2564) นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด ปฏิบัติหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ภายใต้เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวขนและครอบครัว พ.ศ.2553 ที่มุ่งเน้นการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนให้กลับตนเป็นพลเมืองดี บทบาทการแก้ปัญหาเด็กดื้อในอาชีวศึกษาด้วย “ระบบทวิภาคี” เป็นอีกหนึ่งผลงานที่นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ปัญญาภิวัฒน์กล่าวว่า เป็นการนำนโยบายของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาเยาวชนด้านการศึกษาสู่การพัฒนาการศึกษาของประเทศอย่างยั่งยืน โดยทำความร่วมมือกับสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศในระดับอาชีวศึกษา 195 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 63 แห่ง ตอบโจทย์กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยวและบริการ ตามโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจ ไทยแลนด์ 4.0 ทว่าการอาชีวศึกษายังไม่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อเท่าที่ควร เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่มักมีปัญหาติดเกม จับกลุ่มมั่วสุมไปแข่งรถ จักรยานยนต์ ติดยาเสพติด ทะเลาะวิวาทหรือรวมตัวกันไปสร้างความเดือดร้อนให้สังคม ดังนั้นภาคอาชีวศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าระบบการศึกษาแบบทวิภาคีอย่างเข้มแข็ง นั่นหมายถึงต้องแบ่งครึ่งเวลาสำหรับใช้ในการเรียนภาคทฤษฎีและการฝึกประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการจริงให้เข้มข้นอย่างละครึ่ง เรียกง่ายๆว่าแบ่งเวลาที่มีไปเรียนครึ่งหนึ่งพร้อมทำงานไปด้วยอีกครึ่งหนึ่ง เช่นวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งมีสถานประกอบการรองรับการฝึกงานให้นักเรียนได้ทั่วประเทศจะไม่ทำตัวเป็นปัญหาให้สังคมอีก เพราะจะต้องแบ่งเวลาไปเรียน และต้องทำงานฝึกประสบการณ์ไปด้วย เพื่อให้ตัวเองสอบผ่าน อีกทั้งยังได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานไปด้วยในตัว อาทิ ระดับปวช. ได้ค่าตอบแทนจากการทำงานฝึกประสบการณ์ เดือนละไม่ต่ำกว่า 6-7 พันบาท ดังนั้นจะทำให้เด็กรู้จักคุณค่าของเงินแถมยังนำรายได้มาช่วยจุนเจือครอบครัวระหว่างเรียนได้ด้วย ต่อมามีการต่อยอดเป็นโครงการฝึกอบรมวิชาชีพการทำกาแฟ ก่อตั้งขึ้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 โดยมีการดำเนินโครงการอบรมกาแฟตามสถานที่ต่าง ๆดังนี้ 1.ทัณฑสถานหญิงกลาง 2.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดลำปาง 3.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต.7 จังหวัดเชียงใหม่ 4 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา 5.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดอุดรธานี 6.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต.4 จังหวัดขอนแก่น 7.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต.6 จังหวัดนครสวรรค์ 8.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปรานี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 9.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านกรุณา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผลลัพธ์ของโครงการดังกล่าวที่เกิดจาก Panyapiwat Coffee Training Center (P-CoT) ได้เข้าไปอบรมการชงกาแฟให้ตามสถานพินิจฯและศูนย์ฝึกต่างๆ ปรากฏว่า มีเด็กมาเรียนระบบทวิภาคี เช่น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ,ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน , ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน นับเป็นความสำเร็จที่ส่งผลโดยตรงต่อเด็กและเยาวชน


3. การได้เข้าร่วมเป็นจิตอาสาเฉพาะกิจ (อาสาจักรยาน) “ทำดีเพื่อพ่อ” เพื่อแสดงความ
จงรักภักดีเป็นครั้งสุดท้าย ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประเภทงานรักษาความปลอดภัย ปฏิบัติหน้าที่ช่วยสอดส่อง สังเกต ระมัดระวังความปลอดภัยบุคคลและสถานที่ และแจ้งข้อมูลให้เจ้าพนักงานทราบกรณีพบเห็นสิ่งผิดปกติ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน – 30 ตุลาคม พ.ศ.2560

นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด เป็นผู้มีความสามารถและประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ในการนี้ สภามหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

Cr ผู้ช่วยศาสตราจารย์บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา
ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

 

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น