แห่ไหว้ “พระพุทธสิหิงค์” 1 ใน 3 องค์ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” คู่แผ่นดินที่เชียงใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศช่วงวันหยุดนี้ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดเดินทางมากราบไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อ ในวัดนามมงคลของเชียงใหม่ และ วัดพระสิงห์ ทั้งนี้นายจรินทร์ นามเกตุศรี นักท่องเที่ยวจากปทุมธานี กล่าวว่า ตั้งใจมากราบไหว้พระพุทธสิหิงห์ ให้ครบทั้ง 3 องค์
โดยรวมกลุ่มญาติๆและเพื่อนไป ซึ่งองค์แรกคือที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพ จากนั้นก็ได้จังหวะลงตัวช่วงจะตรุษจีน มาที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่ ส่วนที่นครศรีธรรมราชนั้นคงนัดหมายกันอีกครั้ง
กลุ่มพุทธศิลป์ล้านนา เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้ มีพุทธศาสนิกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยว แห่แหนไปราบไหว้ นมัสการ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตามสถานที่ต่างๆกันเนืองแน่น และหนึ่งในนั้น ที่พลาดไม่ได้คือ “พระพุทธสิงห์” ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร นครเชียงใหม่ ทั้งนี้ ตามคติล้านนา เชื่อว่าผู้ที่เกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต จะเป็นมงคลของชีวิต ซึ่งปกติแล้วช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือช่วงป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ จะมีการอัญเชิญพระสิงห์สิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล
พอช่วงโรคโควิด-19 ระบาด

พิธีการส่วนนี้ก็งดจัดไปนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่าเรื่องราวเกี่ยวกับ พระพุทธสิงห์ ในแง่มุมความศักดิ์สิทธิ์แล้ว พุทธศาสนิกชนสาธุชนทั่วฟ้าเมืองไทยจะตระหนักรับรู้ ด้วยแรงศรัทธากับสิ่งไหว้วอน ร้องขอผ่านการสักการะ อันเป็นปัจเจก สำหรับ ตำนาน ความเป็นมาของพระพุทธสิหิงค์ พระสำคัญคู่บ้านคู่เมืองจะมี 3 องค์
โดยองค์แรกประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
องค์ 2 ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จ.นครศรีธรรมราช
องค์ที่ 3 ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบแม้จะมีการหยิบยกประเด็น ตำนานที่มา เรื่องราวของพระพุทธสิหิงค์ ทั้งจาก เอกสารชินกาลมาลีปกรณ์ซึ่งแต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ หรือตำนานพระพุทธสิงค์ หิงค์แต่งโดยพระโพธิรังสี กระทั่ง พงศาวดารโยนก ผนวกสาระข้อมูลจากหลายๆตำนาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าจากนักวิชาการ

สรุปสารัตถะว่าพระพุทธสิหิงค์ปรากฏขึ้นในลังกา กษัตริย์ ผู้ครองแผ่นดิน มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่การอัญเชิญ มาจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมือง ตั้งแต่ใต้ จรดล้านนา เพื่อเป็นพระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ประชาชนกราบไหว้ และคุ้มครองแผ่นดินที่ครองอยู่ หากอ้างอิงหลักฐานสำคัญ ตามรูปแบบศิลปกรรมมีความเด่นชัดว่าพระพุทธสิหิงค์ ลักษณะที่เป็นพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งนั้น รับอิทธิพลมาจากศิลปะปาละของอินเดียผ่านมาทางพุกามของพม่า ปรากฏตั้งแต่สมัยหริภุญชัยและยุคต้นของล้านนาแล้ว “ที่วัดพระเจ้าเม็งราย เมืองเชียงใหม่ ก็มี พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร เป็นลักษณะแบบพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรนี้ ในแง่วิชาการแล้ว จะยึดโยงว่า เป็นความสัมพันธ์กับคติการสร้างพระ การสร้างพระพุทธรูปในแผ่นดินล้านนา แบบพระพุทธสิหิงค์ บ้างก็อาจเรียกพระสิงห์
องค์ที่ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่นั้น แวดวงพุทธศิลป์ ให้คำจำกัดความว่าเป็นแบบสิงห์หนึ่งหรือแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ตำนานการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในตำนานล้านนานั้นบ่งชี้เลยว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนาหรือพระเจ้าแสนเมืองมา


ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 โดยมีท้าวมหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงรายเป็นผู้ไปอัญเชิญมาจากเมืองกำแพงเพชร รายละเอียดบางตำนาน ระบุว่ายกทัพไปตีเมืองแล้วอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตมายังล้านนา แล้วถวายพระพุทธสิหิงค์ให้กับพระเจ้ากือนาเพื่อประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่พระแก้วมรกตไปยังเมืองเชียงราย นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ หลายๆท่าน ยังนำเสนอข้อมูลวิวัฒนาการพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรว่าเกิดขึ้นในล้านนาแล้วลงไปทางใต้ สวนทางกับตำนานหลายๆเล่มที่กล่าวอ้างว่ามาจากทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ แต่ที่แน่นอนเลยคือศิลปกรรมพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีลักษณะที่สอดคล้องกับพระพุทธรูปลังกา
อิทธิพลศิลปกรรมที่เป็นพระพุทธรูปแบบขัดสมาธิราบ นักวิชาการบางท่านยังชี้ว่า เป็นจุดทีสร้างความแตกต่างจากศิลปกรรม ของพม่าที่นิยมสร้างพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร สะท้อนถึงอิทธิพล ชนชั้นปกครองแต่ละยุคสมัย ในห้วงสมัยนั้นด้วย แต่ไม่ว่าจะแง่มุมใด

บริบทสังคมทุกยุคสมัย มีความเชื่อ ความศรัทธา ในพระพุทธรูป สัญญลักษณ์แห่ง มายาคติ สิ่งดีงาม ความเป็นสิริมงคล เกราะป้องกันภัย และความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ซึ่งการนำพระพุทธสิหิงค์ ที่ จ.เชียงใหม่ ปฏิบัติ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ความปรากฎการณ์สะท้อนวิถีความสุขสมบูรณ์ บ้างเปรียบฟ้าฝนคือ น้ำมนต์พร่างพราวเอิบอาบแผ่นดินให้พูนสุขด้วยซ้ำ”

ร่วมแสดงความคิดเห็น