นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับเหรียญรางวัล SILVER ระดับอุดมศึกษา

นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับเหรียญรางวัล SILVER ?✨ ระดับอุดมศึกษา กลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ ในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564–2565” การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับเยาวชน โครงการ Thailand New Gen Inventor Award : I-New Gen Award 2021 ณ เวทีกลาง Event Hall 102-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)


ชื่อผลงาน : พาราแร๊ป : ฟิล์มยางหุ้มภาชนะเอนกประสงค์ Para Wrap: General Purpose Natural Rubber Wrap Film
ผู้ประดิษฐ์ : น.ส.นิศากานต์ จังพล น.ส.วารุณี หลักแหลม
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี, รองศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ราชตนะพันธุ์, น.ส.นภัทรธมณฑ์ เหมือนฟู
พาราแร๊ป (Para wrap) ฟิล์มยางหุ้มภาชนะเอนกประสงค์ ออกแบบด้วยแนวคิดเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารางชนิดใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ พาราแร๊ป (Para wrap) ใช้แทนฟิล์มหุ้มอาหารพลาสติก หรือแผ่นฟลอยลูมิเนียม ในการปิดภาชนะต่างๆ ซึ่งพาราแร๊ป (Para wrap) จะปิดภาชนะได้แน่นและมิดชิดกว่าพลาสติก หรือแผ่นฟลอยอลูมิเนียน รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะทำจากยางพารา 90% พาราแร๊ป (Para wrap) สามารถทำให้มีกลิ่มหอมต่างๆได้ มีสีสันสวยงาม สามารถดึงดูดใจผู้ซื้อได้ ขนาดของชิ้นงานสำหรับการทำพาราแร๊ป (Para wrap) สามารถปรับได้ตามขนาดของภาชนะที่ต้องการปิดฝา ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่


รายละเอียด จุดเด่นของผลงาน พาราแร๊ป หรือฟิล์มยางหุ้มภาชนะเอนกประสงค์ ซึ่งวัสดุหลักที่ใช้ผลิตพาราแร๊ป คือ ยางพารา มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในประเทศไทยประปมาณ 6 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 10% ของประชชากรของประเทศ เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาราคายางพาราค่อนข้างตกต่ำทางรัฐบาล พยายามส่งเสริมการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ ทางกลุ่มวิจัยก็เลยได้พัฒนา พาราแร๊ป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา โดยได้เห็นช่องว่างทางการตลาดของฟิล์มหุ้มพาชนะพลาสติกและอลูมิเนียนมฟลอย์ หลายทานอาจจะเคยใช้ฟิล์มหุ้มพลาสติกและอลูมิเนียนมฟอยล์จะเห็นว่ามีประโยชน์ แต่มีข้อเสียอยู่หลายอย่าง เช่น มีความแข็งแรงต่ำ ไม่สามารถปิดได้แน่นสนิท มีอากกาศเข้าไปในสิ่งที่ปิดได้ จึงได้ออกแบบฟิล์มยางเพื่อมาเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว จากการทดลองและวิจัยพบว่า พาราแร๊ปสามารถปิดภาชนะได้แน่นสนิทมากกว่าฟิล์มหุ้มภาชนะพลาสติกและอลูมิเนียนมฟลอย์ โดยยังรักษาความกรอบของขนมไว้ได้นาน มีใช้งานพาราแร๊ป 3 ด้านหลัก การใช้งานด้านที่ 1 คือใช้ปิดปากภาชนะอาหาร เพื่อรักษาความสดใหม่ของอาหาร สามารถใช้ได้กับอาหารแห้งอาหารเปียก ใช้กับปากภาชนะที่เป็น 4 เหลี่ยม หรือวงกลมก็ได้ พาราเร็ปมีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ทำเป็นสีต่าง ๆ ได้ สามารถใส่ในไม่โครเวฟได้ การใช้งานด้านที่ 2 คือ การใช้งานปิดปากแก้วน้ำ เช่น แก้วชาไข่มุก บางครั้งถ้าเป็นฝาพลาสติกเวลาเอียงแก้วน้ำน้ำอาจจะหก การใช้พาราแร๊ปหุ้มแก้วน้ำ จะทำให้น้ำไม่หกจากแก้วน้ำ และมีข้อดีกว่าพลาสติกที่พาราแร๊ปสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ การใช้งานด้านที่ 3 เป็นการใช้งานพาราแร๊ปด้านอื่น ๆ เช่น อาจจะใช้ปิดปากอุปกรณ์ที่ใช้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการใช้พาราฟินฟิล์ม หรืออลูมิเนียนมฟลอยล์อยู่แล้ว หรือใช้เก็บสายชาตโทรศัพท์ตอนที่เดินทาง


สรุปการพัฒนานวัตกรรมพาราแร๊ป จะออกแบบให้พาราแร๊ปสามารถซีลปิดปากภชนะให้แน่นสนิทโดยการออกแบบให้ด้านข้างแคบลง ทำให้สามารถรัดแน่นโดยอัตโลมัติ เพิ่มเติมต็มช่องว่างทางการตลาดของฟิล์มยืดพลาสติก โดยสูตรยางพัฒนามาจากถุงมือยางและจุกนมยางสำหรับทารกซึ่งมีความปลอดภัยและสัมผัสกับอาหารได้ ตอนนี้ได้อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอจดสิทธิบัติ


คุณลักษณะเฉพาะและขอบเขตการใช้งานของผลงาน
1) พาราแร๊ป (Para wrap) สามารถปรับได้ตามขนาดของภาชนะที่ต้องการปิดฝา ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ สามารถดึงยืดได้ 200%
2) พาราแร๊ป (Para wrap) ปิดภาชนะได้แน่นและมิดชิดกว่าพลาสติก หรือแผ่นฟลอยอลูมิเนียม
3) พาราแร๊ป (Para wrap) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4) พาราแร๊ป (Para wrap) สามารถปิดปากภาชนะเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นวงกลม สี่เหลี่ยม หรือ รูปทรงอื่นๆ
5) พาราแร๊ป (Para wrap) มีขนาด S M L XL โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4, 6, 10 และ 12 cm. ตามลำดับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น