(มีคลิป) สืบสานประเพณีหม่าเก่าขึ้นโด่ฟังธรรม

ชาวตำบลสรอย อ.วังชิ้นรวมพลังศรัทธาสืบสานประเพณีหม่าเก่าขึ้นโด่ฟังธรรม

อบต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่พร้อมด้วยนางสุนิสา สุนทราพันธุ์ รองนายกฯ, นางอารีย์ กันทะจันทร์ ประธานสภา อบต.สรอย พร้อม จนท.ร่วมกับ พี่น้องประชาชน บ้านปางงุ้น ม.6 ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ นำโดยนายอัครเดช พุกจินดา ผญบ.ปางงุ้น และพี่น้องประชาชนใกล้เคียง ได้ร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นไม้รอบอางทางขึ้นโด่ และประเพณีขึ้นโด่ฟังธรรม ที่บนดอยอ่างแม่อางฝั่งขวาแห่งนี้ ที่ได้ทำสืบทอดจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลาหลายปี ปีนี้เป็นปีที่ 122 แล้วในวันวิสาขบูชาขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 8 เหนือ(เดือน 6ใต้ เดือน 5 สากล)ของทุกปี ที่พี่น้องประชาชน้านปางงุ้นได้ทำพิธีมา ต่อมาเมื่อ อบต.ตั้งขึ้นมา จึงได้บรรจุการขึ้นโด่ฟังธรรม จุดบอกไฟ เป็นงานประเพณีประจำถิ่นจึงได้สนับสนุนเงินจัดงานมาร่วมพิธีตลอด แต่พอมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส โควิด 19 ทางผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นจึงได้งดจัดงานประเพณีนี้ไป

มาปีนี้นายอัครเดช พุกจินดา ผญบ.ปางงุ้น เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ได้ของบจัดงานสืบสานประเพณีขึ้นโด่ฯไปแล้วได้มาไม่พอที่จะดำเนินงาน และตนได้ทำหนังสือขออนุญาตจัดงานนี้ไปที่อำเภอวังชิ้นๆก็ไม่อนุญาตให้จัดงาน จึงได้จัดงานไปแบบเรียบง่ายเล็กน้อยเพื่ออนุรักษ์ประเพณีงานนี้ไว้เท่านั้น ถ้า อบต.สรอย มีงบสนับสนุนอุดหนุนเงินมากกว่านี้ ประกอบกับรัฐบาลประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ทางหมู่บ้านจะได้ประชุมพี่น้องบ้าน ปางงุ้นอีกครั้งหนึ่ง และจะขอเงินงบประมาณจัดงานเพิ่มอีก ไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่

ทางด้านนายอัมพร ฐานะวุฒิกุล นายก อบต.คนใหม่พึ่งได้เข้ามาบริหารได้ไม่นานบอกว่า จะสนับสนุนงบประมาณให้อีก แต่จะได้มากน้อย เท่าไหร่นั้นยังตอบไม่ได้ ต้องมีมติที่ประชุมสภาฯพิจารณาให้การจัดงานปีนี้นั้น เป็นงบประมาณที่นายผวน เฟื่องฟู นายกคนก่อนได้ตั้งงบไว้แล้ว นางสุนิสา สุนทราพันธ์ รองนายกฯแจ้งว่า อบต.ตั้งงบสนับสนุนจัดงานไว้ให้ปีละ 15,000 บาท ทางผู้ใหญ่ไม่ได้ทำเรื่องขอเบิกใช้ ปีนี้มีเงินเหลืออยู่ ปีหน้าต้องพิจารณา เข้าที่ประชุมก่อน ตัวแทนผู้พิการ ต.สรอย กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ได้นำบอกไฟ ที่พวกตนทำกันเองมาร่วมงานทุกปี เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมการตอกบอกไฟ จุดประเพณีขึ้นโด่นี้ทุกปี บอกไฟที่นำมาจุดงานนี้ พวกตนกลุ่มคนพิการ ได้เก็บเงินทำขึ้นมาเอง ไม่มีผู้นำและ อบต.สนับสนุนเงินแต่อย่างใด ถึงแม้นว่าจะพิการร่างกายก็ตาม จะมาร่วมงานนี้ทุกปีเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไว้ ปีต่อไปจะไปที่ถ้ำแม่หละอีก จึงอยากให้ทางผู้นำท้องที่ท้องถิ่นมาใส่ใจร่วมงานประเพณีขึ้นโด่ฟังธรรมจุดบอกไฟขอฝน ถวายเจ้าโด่ ในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญของโลกมากันให้มากๆ กว่านี้ขนาดพวกตนคนพิการขายังมา อยากให้มาเย๊อะๆและขอให้ ผู้นำปรับปรุงพ๊ฒนาทางขึ้นโดดเควาย เผื่อคนพิการจะได้ขึ้นไปบนโด่บ้าง

สำหรับงานประเพณีขึ้นโด่ฟังธรรม มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมา เท็จจริงแค่ไหนไม่ทราบเพราะคนเมื่อก่อนก็เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ จึงไม่ได้เขมียนหรือบันทึกเป็นหลักฐานไว้ น่าจะนำมาเป็นข้อมูลประกอบงานประเพณีขึ้นโด่นี้ได้ ที่ผู้สื่อข่าวได้สอบถามทราบจากผู้เฒ่าอายุประมาณ 76 ปี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา (ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว สิบกว่าปี) ตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า เมื่อก่อนนี้ ได้เกิดฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล จึงตั้งชื้อต้นน้ำ (ห้วยสรอย) ว่า ห้วยสรอยแล้งมาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาก็ได้ยินเสียงเหมือนมีคนตีฆ้อง ตีกลองดังมาจากโด่ (เป็นผาที่ยื่นออกมายาวหรือสูงกว่าที่อื่นเรียกว่าโด่) แห่งนี้ เมื่อถึงวันวิสาขบูชาวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ทุกปีมักได้ยีนเสียงฆ้องเสียงกลองดังทุกปี จึงได้ชักชวนคนที่แข็งแรง มีความกล้า พากันขึ้นไปดู เห็นหลืบผาเป็นโพรง

สามารถเข้าไปหลบฝนได้ มีงูเหลือมสีทองตัวใหญ่มาก นอนขวางทางอยู่ที่หน้าถ้ำ 2ตัว ต่อมาก็มีคนที่ไปหาเห็ดหาของป่า มักจะเห็นเสือและหมีควาย มาแสดงให้เห็น เดินเข้าไปในถ้ำนั้น แล้วหายตัวไป ซึ่งถ้ำก็ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน จากนั้นเมื่อถึงวันวิสาขบูชา จึงได้นิมนต์พระไปเทศน์ ฟังธรรม จุดประทัดและบอกไฟที่บนโด่ และนำผ้า เหลืองผูกเป็นธงไว้ที่ยอดบนผาสูงที่สุด อยู่ข้างล่างจะเห็นผืนธงพัดโบกพลิ้วปลิวไสวตลอดทั้งปี ต่อมาก็ได้เปลี่ยนธงเป็นสีขาวถึงปัจจุบัน การจุดประทัด เปลี่ยนมาเป็นประทัดลูกปิงปองแทนให้เสียงดังสนั่นป่า

อนาคตต่อไปข้างหน้า ทางหมู่บ้านจะร่วมกับ อบต.จะพัฒนาทางเดินขึ้นไปบนโด่เลาะไปตามธรรมชาติของป่าเขา ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชื่นชมสัมผัสธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์ ลมเย็น มองเห็นรอบทิศทาง อันซีนสรอย
สม

ร่วมแสดงความคิดเห็น