เดินหน้าสนองนโยบายฯ งานสถานีแก้หนี้

สพม.ลป.ลพ. เดินหน้าสนองนโยบาย รายงานผลการดำเนินงานสถานีแก้หนี้

นโยบายการบริหารประเทศ ของรัฐบาลมีความมุ่งมั่นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี โดยประกาศปี 2565 เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” กระทรวงศึกษาธิการจึงแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับกระทรวง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเพื่อนครูและลุคลากรทางการศึกษา โดยต้องลดภาระหนี้โดยรวมของครูให้น้อยลง เงินเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% โดยกำหนดเฟสแรก เป็น 4 มาตรการ มาตรการที่ 1 ลดดอกเบี้ย โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ครูรายใหญ่เข้าร่วม มาตรการที่ 2 พิจารณาและควบคุมการอนุมัติเงินกู้โดยยอดหนี้รวมทั้งหมดของผู้กู้ต้องไม่เกินกว่า 70% -ของตนเองโดยกระทรวงศึกษาธิการเชื่อมโยงเครือข่ายกับสถาบันการเงิน บัตรเครดิตบูโร มาตรการที่ 3 ตั้งสถานีแก้หนี้สินครูฯ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ทั้ง 77 จังหวัด 558 สถานีทั่วประเทศ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน ร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่วนราชการ และสถาบันการเงินในระดับจังหวัด ปรับปรุงกำหนดมาตรการหักเงินเดือน เพื่อชำระหนี้ ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยวระหว่างเจ้าหนี้กับครูและผู้ค้ำประกัน มาตรการที่ 4 ให้ความรู้ด้านการเงินให้ครูฯ โดยประสานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวางแผนการเงินและมีระเบียบวินัยในการใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน ได้ขับเคลื่อนจัดตั้งสถานีแก้หนี้ครูฯ ตามมาตรการ 3 โดยเชิญคณะกรรมการเครือข่ายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย สหกรณ์ออมทรัพย์ครูลำปาง สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญลำปาง ธนาคารออมสิน สำนักงาน สกสค.ลำปาง เข้าร่วมเป็นทีมบริหารจัดการแก้ไขปัญหานี้สินครู และรายงานผลต่อ ดร.สุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหานี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน โดยมีนายประสิทธิ์ อินวรรณา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน เป็นประธานสถานีแก้ไขหนี้สินครูฯ มีบุคลากรเข้าร่วมลงทะเบียนในสังกัด จำนวน 99 คน การดำเนินงานเดินหน้าประชุมสร้างความเข้าใจและชี้แจงการดำเนินงานสถานีแก้ไขหนี้ในระดับเขต ให้บุคลากรรับทราบเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 โดยแสวงหาวิธีการและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตราการ ดังนี้ 1.ปรับโครงสร้างหนี้ 2.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 3.บริหารจัดการหนี้สหกรณ์ฯ และสถาบันการเงินอื่นๆ 4.พักชำระหนี้ 5.ลดจำนวนเงินส่งในแต่ละงวด 6.เป็นคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยกับกับสถาบันการเงิน 7. อบรมพัฒนา ยกระดับความรู้ด้านการวางแผนการสร้างวินัยการเงิน เพื่อสนองนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชีวิตข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดีขึ้น ในปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน 2565

ร่วมแสดงความคิดเห็น