สองสามีภรรยา สัปเหร่อ กินอยู่หลับนอนในป่าช้า

เรื่องราวชีวิตของสามีภรรยาต้องอาศัยฌาปนสภาน หรือป่าช้าเป็นบ้านที่อยู่อาศัยรายนี้เกิดขึ้นที่ฌาปนสถานบ้านทุ่งกวาว หรือ ชาวบ้านเรียกป่าช้าบ้านทุ่งกวาว ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ทุ่งกวาวและใกล้กับสำนักงานเศบาลตำบลทุ่งกวาว อ.เมือง จ.แพร่ หลังทราบข่าวว่ามีสัปเหร่อเป็นผู้หญิงทำหน้าที่ฌาปณกิจศพอยู่ที่ป่าช้าแห่งนี้ และยังกินนอนในสถานที่นี้ด้วย


เมื่อไปถึงป่าช้าบ้านทุ่งกวาว ซึ่งอยู่ในความดูแลของ สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งกวาว ขณะนั้นก็ได้มีพิธีฌาปณกิจศพพอดี ได้พบกับนางนวลจันทร์ ขัดมัน อายุ 58 ปี ซึ่งทำหน้าที่สัปเหร่อจริง พร้อมกับสามี คือ นายคำ แก้วบางวัน อายุ 60 ปี สองสามี-ภรรยา ทำอาชีพสัปเหร่ออยู่ป่าช้าของเทศบาลทุ่งกวาว พักอาศัยกิน อยู่ ในป่าช้าข้างเมรุเผาศพจริง

สองสามี ภรรยาสัปเหร่อ เผยถึงชีวิตและอาชีพนี้ด้วยความภาคภูมิใจ ว่าทำมาได้ 4 ปีกว่าแล้ว ได้ค่าตอบแทนจากเทศบาลในการเป็นสัปเหร่อ และทำความสะอาดในบริเวณป่าช้า เดือนละ 6,000 บาท ส่วนสามีจะได้ค่าตอบแทนจากเจ้าภาพ งานละ 800 บาทเท่านั้น ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ทาง ทต.ทุ่งกวาว รับผิดชอบหมด

นางนวลจันทร์ฯ สัปเหร่อหญืง เล่าถึง ชีวิตก่อนที่จะมาประกอบอาชีพสัปเหร่อว่า เดิมทีสามีทำอาชีพนี้มาก่อน แต่ทำอยู่ที่อื่น ตอนนั้นไม่มีงานทำก็เลยช่วยงานสามีเรื่อยมา หลังจากนั้นก็ย้ายมาทำหน้าที่นี้ต่อที่ป่าช้าเทศบาลทุ่งกวาวจนถึงบัดนี้



สัปเหร่อหญิง เล่าอีกว่า ซึ่งทาง ทต.ทุงกวาว โดย นายพิชิต ปัทมาภรณ์พงศ์ นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งกวาว ก็ให้ตนกับสามีพักอาศัยที่เรือนพักแห่งนี้ซึ่งอยู่ติดกับเมรุเผาศพ ครั้งแรกที่เข้ามาอยู่เคยเจอสิ่งที่น่ากลัวหลายอย่างและบ่อยด้วย แต่ก็ตั้งจิตบอกกล่าวกับภูตผีวิญาณว่า ไม่ได้มารบกวนอะไร จะมาดูแลสถานที่แห่งนี้ให้ และเดินจงกลมเหมือนกับแม่ชีที่เขาทำด้วย

ทางด้านอาจารย์สมชาย แสงสร้อย รองนายกฯ ทต.ทุ่งกวาว กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สัปเหรอในหมู่ล้านนต.ทุ่งกวาวนั้นก่อนหน้าขาดแคลน มีงานศพแต่ละครั้งต้องเจ้าภาพต้องตระเวนหาสัปเหร่อต่างหมู่บ้านมาทำกน้า จ่อมาเทศบาลตำบลทุ่งกวาวได้ สองสามี-ภรรยา ทีมาทำหน้าที่สัปเหร่อให้

ทางเทศบาลตำบลทุ่งกวาว ได้ว่าจ้างภรรยาคนเดียวโดยเป็นพนักงานจ้างเหมา มีค่าตอบแทน เดือนละ 6,000 บาท ส่วนสามีนั้นจะได้ค่าตอบแทนจากเจ้าภาพแล้วแต่สินน้ำใจ และเน้นย้ำว่า อย่าไปเรียกร้องอะไรจากเจ้าภาพ เพราะศพแต่ละศพฐานะแตกต่างกัน นอกจากนางนวลจันทร์มีหน้าที่เป็นสัปเหร่อที่ป่าช้าแห่งนี้แล้ว ก็ยังรับหน้าที่เป็น ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน(ชรบ.) และ อาสาสมัครสาธาณรสุข( อสม).อีกด้วย/นับว่าเป็นบุคคลที่มีอาสาหรือจิตสาธารณะอีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น