ซูอควาเรียม เฮ รับปลาสเตอร์เจียน

 

 

image

เชียงใหม่ซูอควาเรียมเฮ รับมอบพันธุ์ปลาน้ำจืดสเตอร์เจียน ซีบีเรีย จากโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยคำ

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 10 มี.ค.59ที่เชียงใหม่ซูอควาเรียม อุโมงค์สัตว์น้ำที่ยาวและใหญ่ที่สุดในโลก ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ นายนิพนธ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้มอบหมายให้ นายวุฒิชัย ม่วงมัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ นายนฤทัติ เจริญเศรษฐศิลป์ เจ้าของเชียงใหม่ซูอควาเรียม เป็นตัวแทนสวนสัตว์เชียงใหม่ ในการรับมอบพันธุ์ปลาน้ำจืด “ปลาสเตอร์เจียน ไซบีเรีย”น้ำหนัก 11 กิโลกรัม จำนวน 2 ตัว และปลาบึกน้ำหนัก 80 กิโลกรัม ยาวประมาณ 1.5 เมตร จำนวน 1 ตัว จากนายวิศณุพร รัตนตรัยวงค์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ เพื่อนำไปใว้ภายในอุโมงค์ใต้น้ำเชียงใหม่ซูอความเรียม สวนสัตว์เชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน เยาวชน ได้ศึกษาประวัติของปลาชนิดนี้ เพื่อนำไปเผยแพร่เพาะพันธุ์ในอนาคต

image

นายวิศณุพร รัตนตรัยวงค์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด เชียงใหม่ กล่าวว่า ทั้งนี้เนื่องจาก ดร.จรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ มีดำริให้นำพันธุ์ปลาสเตอร์เจียนโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยคำ มามอบให้สวนสัตว์เชียงใหม่ เชียงใหม่ซูอควาเรียม ได้ทำการทดลองเพื่อขยายพันธุ์ พร้อมทั้งมอบเป็นของขวัญให้กับสวนสัตว์เชียงใหม่ เอาไว้ให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย ดังกล่าว โดยได้นำปลาสเตอร์เจียน ไซบีเรีย มามอบให้จำนวน 2 ตัว น้ำหนักตัวละ 11 กิโลกรัม และปลาบึก น้ำหนัก 80 กิโลกรัม มีความยาวกว่า 1.50 เมตร มามอบให้อีก 1 ตัว

ทั้งนี้เมือปี พ.ศ.2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานเงินสำหรับจัดชื้อไข่ปลาสเตอร์เจียนจำนวน 400,000 บาท ให้กับกรมประมง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่สูง โดยกรมประมงได้นำไปทดลองเลี้ยงในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยคำ ดอยผ้าห่มปก และหน่วยวิจัย ประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ จึงได้นำมามอบให้กับซูอควาเรียม สวนสัตว์เชียงใหม่ ดังกล่าว

ข้อมูลสำหรับปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (อังกฤษ: Siberian sturgeon) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acipenser baerii ในวงศ์ Acipenseridae มีรูปร่างเหมือนปลาสเตอร์เจียนทั่วไป มีจะงอยปากขาว มีหนวด 4 เส้น ที่หน้าปากด้านหลังมีสีน้ำตาลเทาจนถึงดำ สีท้องมีสีขาวจนถึงเหลือง พบในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในลุ่มแม่น้ำของไซบีเรีย ในรัสเซีย, คาซัคสถาน และจีน

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 200 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม สามารถมีอายุยืนได้ถึง 60 ปี มีชนิดย่อยทั้งหมด 2 ชนิด คือ A. b. baicalensis พบในทะเลสาบไบคาล (มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า สเตอร์เจียนไบคาล) และ A. b. stenorrhynchus

ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย นับเป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมจับเพื่อการพาณิชย์เพื่อการบริโภคมาก โดยนิยมรับประทาน ไข่ปลาคาเวียร์ และนำไข่ปลาคาเวียร์นี้ไปทำเป็นเครื่องสำอาง สำหรับในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิดนี้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี โดยทำการเพาะฟักจากไข่ปลาที่นำเข้ามาจากรัสเซีย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 พบว่ามีอัตรารอดสูงถึงร้อยละ 90 เพราะเป็นสถานที่ ๆ มีอากาศหนาวเย็น โดยปลาจะเติบโตได้ดีในอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส และพบว่าปลาที่จะให้ไข่ ต้องมีความสมบูรณ์และเติบโตจนกระทั่งอายุได้ 10 ปี โดยจะให้ไข่เพียงร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว มีระยะเวลาห่างของการให้ไข่แต่ละครั้ง 2 ปี

การเพาะเลี้ยง ปลาสเตอร์เจียนของศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูง ในโครงการเกษตรหลวง จังหวัดเชียงใหม่” เป็น การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนสายพันธุ์ต่างๆของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยมี จุดประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงโอกาสและ จากการศึกษาพบว่า การที่ประเทศไทยจะสามารถทำการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนให้ได้ผลดีและ คุ้มค่าในเชิงธุรกิจนั้น ยังคงเป็นไปได้ยากและมีอุปสรรคอยู่ในปัจจุบัน
เนื่องจากว่าประเทศไทยยังขาดความ พร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุณหภูมิ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจะมีอุณหภูมิที่สูงเกิน กว่าค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมสำหรับปลาสเตอร์เจียนทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการขออนุญาตในการ เพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนจากทางภาครัฐของประเทศไทยเองและจากองค์กรระหว่างประเทศอย่างไซเตส (CITES) ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่งานวิจัยของภาครัฐยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยอยู่ ยิ่งกว่านั้นงานวิจัยดังกล่าวเองก็มีจุดอ่อนคือ ขาดความชัดเจนในเรื่องของนโยบายและทิศทางในการ เพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนว่าจะเป็นไปในทิศทางใดและมีความจริงจังมากน้อยแค่ไหนในอนาคต จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าหลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง ปลาสเตอร์เจียนในเชิงธุรกิจแล้วนั้นมีการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนหลากหลายสายพันธุ์ในแต่ละพื้นที่ที่ แตกต่างกันของประเทศโดยจะใช้ผลการวิจัยและลักษณะของสภาพแวดล้อม ณ บริเวณที่จะท้าการเพาะเลี้ยง มาเป็นปัจจัยในการพิจารณาเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้น ในอนาคตประเทศไทยก็สามารถที่จะนำ รูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนดังกล่าวมาปรับใช้ได้เช่นกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น