นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมฯได้ทำฝนหลวงเพื่อสู้กับปัญหาภัยแล้งอย่างเต็มที่ ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 จนถึงขณะนี้ได้บินทำฝนหลวงไปแล้วเกือบ 7,000 เที่ยว

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมฯได้ทำฝนหลวงเพื่อสู้กับปัญหาภัยแล้งอย่างเต็มที่ ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 จนถึงขณะนี้ได้บินทำฝนหลวงไปแล้วเกือบ 7,000 เที่ยว เร่งเติมน้ำต้นทุนให้เข้าเขื่อนรับมือภัยแล้งปีนี้

แผนทำฝนหลวงปีนี้ทุกศูนย์ฯได้เริ่มทำฝนหลวงเมื่อ 1 มีนาคม 2559 นี้ ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2559 แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมเพื่อให้การทำฝนหลวงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด บางพื้นที่เช่นเชียงใหม่ ช่วยในการจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่าด้วย ซึ่งการบินทำฝนหลวงผลการปฎิบัติงานทำให้ฝนตกน้ำไหลเข้าเขื่อนในระดับหนึ่ง
“ต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำฝนในปี 2558 ต่ำกว่าเป้าที่กำหนดไว้ ร้อยละ 10 จึงทำให้น้ำต้นทุนในปีนี้เหลือน้อยมาก ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือเรื่องของน้ำอุปโภคบริโภค และรักษาสิ่งแวดล้อม ในการทำนาปีฤดูกาลใหม่นี้ อยากขอให้ชาวนาดูท่าทีจากฝนที่ตกมาในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนการทำนาปรัง ขอให้ชาวนาเชื่อฟังรัฐบาล ห้ามลักลอบการทำนาปรัง และหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน เพราะขณะนี้ปริมาณต้นทุนเหลือเพื่อการเกษตรมีไม่มากนัก หากชาวนาไม่ฟังคำแนะนำจากรัฐมีโอกาสจะเสียหายมากขึ้น สุดท้ายก็จะได้ไม่คุ้มเสีย

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย แถลงว่าภาวะภัยแล้งปี 2559 ถือว่าเป็นปีที่แล้งที่สุดในแง่ของระดับความเข้มข้นในการใช้น้ำและสุ่มเสี่ยงที่สุดในเรื่องบริหารจัดการ ภาครัฐจะต้องติดตามการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างใกล้ชิดและติดตามผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปีนี้ ค่อนข้างคล้ายปี2553 ถ้าบริหารจัดการน้ำแบบเดิม ๆ ในปี 2560 อาจทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เหมือนปี 2554ได้อีกทั้งในส่วนของ เกษตรกรต้องปรับตัวเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยตระหนักถึงภาวะไม่ปกติของการใช้น้ำ

ร่วมแสดงความคิดเห็น