ชาวบ้านลุ่มน้ำลำพูนประสบภัยแล้ง ลามถึงตัว อ.ป่าซาง จ.ลำพูน พบว่า แม่น้ำแห้งเหือดหวั่นไม่พอใช้ในหน้าแล้ง ขณะที่นายอำเภอ ยืนยันมีน้ำเพียงพอ สำหรับอุปโภค

แห้งเหือด (1)จากสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดลำพูนส่งผลกระทบในวงกว้าง แทบทุกอำเภอในตอนนี้ ประกอบกับสภาพอากาศนั้น แห้ง ร้อนอบอ้าว ทำให้แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ ต่าง ๆ แห้งลดลงเรื่อยๆ จนเหลือไว้ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค เท่านั้นจากการสอบถามชาวบ้านที่อยู่ลุ่มน้ำทา ตั้งแต่ตำบลทาขุมเงิน จนถึงตำบลป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้น้ำทา ในการเกษตรและใช้สำหรับอุปโภคบริโภคยอมรับว่าปีนี้รุนแรงมาก แม่น้ำทา แห้งรวดเร็วต้องหาวิธีการเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในการเกษตรและใช้ดื่มกิน

ทางด้าน นางสายสุภาพ มณีกรรณ์ อายุ 48 ปี ชาวชุมชน บ้านป่าบุก หมู่ 10 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กล่าวว่า อาชีพหลักของตน คือ การรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า ในช่วงเวลาว่าง หลังจาก เสร็จสิ้นจากงานตัดเย็บ ก็จะใช้พื้นที่ว่าง ภายในบ้าน เช่น หน้ารั้วบ้าน ลานหน้าบ้าน บริเวณหลังบ้าน หรือ แม้แต่ บริเวณ กำแพงบ้าน ก็ได้นำ ขวดพลาสติก มา ดัดแปลงกระถางขวดพลาสติก ทำให้สามารถ ปลูกพืชผักสวนครัว ช่วงหน้าแล้งซึ่งมีน้ำน้อยหารายได้พิเศษได้ ผักที่ปลูก มีหลาย ชนิด อาทิ พริก , หัวไชเท้า , ผักกาด , ผักชี , มะเขือ , ถั่วฟักยาว , แครอท , ผักสลัด , ผักบุ้ง , ผักคะน้า , สาระแหน่ และ สตรอเบอรี่ มีการดูแล โดย จะรดน้ำด้วยฝักบัว พรวนดิน ทุกเช้า วันละ ครั้ง

ส่วนการป้องกัน แมลง จะใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่ผลิตเอง มารดพืชผัก ซึ่งน้ำหมักนั้น ทำมาจากใบสะเดา นำมาฉีดพ่นแมลง แทนสารเคมี ทำให้ พืชผัก ที่ปลูก มีความปลอดภัย นางสายสุภาพ กล่าวเพิ่มเติม ว่า พืชผักที่ปลูก นั้น ไม่เน้น การจำหน่าย แต่ เน้นปลูก เพื่อ นำมาบริโภค ในครอบครัว และ แจกจ่าย ให้แก่ เพื่อนบ้านใกล้เคียง นำไปประกอบอาหาร ส่วนการจำหน่าย นั้น ก็มี พ่อค้า มารับซื้อ เช่นกัน ทั้งนี้ ภาย ในบ้าน ยังมีการ คัดแยก ขยะ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วย จากการ ดำเนินงาน ดังกล่าว ทำให้ บ้าน ของ นางสายสุภาพ ได้รับเลือก จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และ เทศบาลตำบลแม่แรง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ว่างสร้างอาหาร เป็น แหล่งเรียนรู้ ตัวอย่าง ให้แก่ ผู้ที่สนใจ ในการปลูกพืชผักสวนครัว ปลอดสารพิษ บริโภคเอง ในช่วงฤดูแล้งนี้ได้ เพื่อ ลดรายจ่ายให้แก่ ครอบครัว ได้ดีอีกด้วย

ขณะที่นายประทีป การมิตรี นายอำเภอป่าซาง จ.ลำพูน เปิดเผยว่า ในพื้นที่ อ.ป่าซางขอให้พี่น้องประชาชนไม่ต้องวิตกกังวล แม้ว่าแม่น้ำทา เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านอ.ป่าซาง จะ แห้งลงไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำ ทั้งอุปโภค บริโภคหรือใช้สำหรับในการเกษตร เพราะใต้ดิน ของเรายังคงมีความอุดมสมบูรณ์ น้ำมีมากพอขุดเจาะบ่อบาดาลเมื่อไหร่เจอน้ำเมื่อนั้น ดังนั้นชาวบ้านไม่ต้องวิตกกังวลอะไร

นายประทีปกล่าวต่ออีกว่า กรณีที่หลายคนกังวลว่า น้ำที่จะใช้เล่นน้ำสงกรานต์ หรือการเกษตรไม่เพียงพอนั้น ตนยืนยันมีเพียงพอจนเหลือล้น อีกทั้งน้ำที่จะใช้เล่นสาดน้ำประเพณีสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ มีความสะอาด แน่นอนเพราะเรามีบ่อประปาหมู่บ้านทั้งหมด 100 กว่าบ่อ มีน้ำที่ใช้การได้ทุกบ่อ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ทุกคนมาเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตของคน อ.ป่าซาง จ.ลำพูนที่มีวัฒนธรรมที่ดั้งเดิมด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ภัยแล้ง ทำให้ ปริมาณ น้ำ ในแหล่งน้ำ ต่าง ๆ ของจังหวัดลำพูนแห้งและแม่น้ำสายสำคัญ อย่าง แม่น้ำกวง แม่น้ำปิงแห้งเหือด ปัจจุบันแม่น้ำปิงทางชลประทาน เชียงใหม่ปล่อยให้กับชาวลำพูน เพียงอาทิตย์ ละ 1 ครั้ง เพื่อจะให้ชาวบ้านได้ใช้อุปโภค บริโภคเท่านั้น โดยสามารถใช้เป็นน้ำประปาได้ขณะที่แม่น้ำกวง ที่ส่งมาจาก เขื่อนแม่งัด อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่นั้นแห้งเหือดลงแล้ว เหลือ เป็นช่วง ๆเท่านั้น และพบมีการเน่าเสียและมีผักตบชวาขึ้น ตามลำน้ำตลอดสายด้วย ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพน้ำ และ ปลาในน้ำจังหวัดลำพูนจึงได้ ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน ทั้ง 11 แห่ง ที่มี พื้นที่ติดกับ แม่น้ำกวง เร่งปรับปรุง คุณภาพ น้ำ โดยใช้สาร EM( น้ำหมักชีวภาพ ) ในการบำบัด

ล่าสุด ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เชิงสะพานท่าขาม ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานเปิด โครงการ จังหวัดลำพูนร่วมใจผลิตน้ำหมักชีวภาพ ( อีเอ็ม ) เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำกวง โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ , เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินลำพูน, เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองลำพูน ร่วมกัน เทน้ำหมักชีวภาพ ลงในแม่น้ำกวง หลังจากที่จังหวัดลำพูนได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะแม่น้ำกวงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ของจังหวัด ได้ประสบภาวะไม่มีกระแสน้ำไหลผ่านอย่างต่อเนื่องสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลำพูน จึง ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำกวง จำนวน 11แห่ง เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ (อีเอ็ม) สำหรับใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำกวงรวมทั้งการ นำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ในการทำปุ๋ยหมัก จากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆทำให้เกิดการร่วมแรง ร่วมใจ ของหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนรวมทั้งภาคประชาชน ในการร่วมกันดำเนินการผลิตน้ำหมักชีวภาพ (อีเอ็ม) เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำกวง ให้กลับมา มีสภาพดีดังเดิม

ทั้งนี้ได้ จังหวัดลำพูนได้กำหนดให้มีการเทน้ำหมักชีวภาพลงในแม่น้ำกวงในวันนี้ ( 8 มีนาคม2559 ) เป็นครั้งแรกที่จุดเทน้ำหมักชีวภาพ ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 11 แห่งกำหนดไว้ ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งและจะมีการเทน้ำหมักชีวภาพต่อเนื่องกันไปรวมทั้งสิ้น จำนวน 8 ครั้งโดยครั้งสุดท้ายคือ วันอังคารที่ 26เมษายน 2559 หากสถานการณ์ ภัยแล้ง ยังไม่ทุเลาลง หรือแม่น้ำกวงยังไม่มีน้ำไหลผ่าน อย่างต่อเนื่องก็จะมีการเทน้ำหมักชีวภาพต่อเนื่องไปอีกจำนวน 7 วัน ต่อ 1 ครั้ง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น