ก่อนจะมีเยาวชนแห่งชาติ

ก่อนจะมีเยาวชนแห่งชาติ กีฬาที่ให้โอกาสนักกีฬา ในระดับเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ที่มีนักกีฬาเยาวชนจากทั่วประเทศ มาร่วม โดยจัดกันเป็นประจำทุกปี โดยจัดการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในปี 2527 ที่จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นก็จัดกันเป็นประจำทุกปีเรื่อยมา จนถึงในปัจจุบัน

สำหรับประวัติ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ เยาวชนจึงควรได้รับการศึกษา อบรม และฝึกฝนให้เจริญงอกงามทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับเยาวชนไว้อย่างชัดเจนในแผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ซึ่งจะเป็นหนทางในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีความเพียบพร้อมทุกด้านคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2527 เห็นชอบและอนุมัติให้มีการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกีฬาของชาติให้ขยายไปทั่วประเทศ และเน้นถึงสุขภาพพลานามัย ปลูกฝังให้เยาวชนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีระเบียบวินัย และที่สำคัญยิ่งเพื่อเป็นแผนรองรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ทำให้เกิดนักกีฬาทีมชาติต่อไป

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) ในขณะนั้น หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ปัจจุบันได้นำนโยบายและวัตถุประสงค์ดังกล่าวไปสู่การดำเนินงาน จึงได้มีการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติขึ้นครั้งแรก ที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 และได้จัดการแข่งขันติดต่อเรื่อยมาตามจังหวัดต่างๆ เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดในเดือน มีนาคม ของทุกปี

มาถึงปี 2559 จังหวัดสุพรรณบุรี ก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32 สุพรรณบุรีเกมส์ ระหว่างวันที่ 9-19 มีนาคม 2559 มีนักกีฬาจาก 77 จังหวัดจาก 5 ภาค มาร่วมในการแข่งขัน หมื่นกว่าคน มีชิงชัยกันถึง 41 ชนิดกีฬา โดยเจ้าภาพ สุพรรณบุรี ใช้งบประมาณในการจัด ร้อยล้านกว่าบาท

ส่วนตราสัญญลักษณ์ ประกอบด้วย พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระคชาธารออกศึก และองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ ในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อ พระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2135 เป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้าง ด้านละ 36 เมตร ตั้งอยู่ ณ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

สัญลักษณ์ตัวนำโชค การแข่งขันกีฬาแห่งชาติม้าสีหมอก เป็นม้าในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน เป็นม้าแสนรู้พาหนะคู่ใจขุนแผน คล่องแคล่วว่องไว ลักษณะตัว สีหมอก ตาสีดําน่าเกรงขาม เป็นม้าที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่างม้าเปอร์เซียกับม้าน้ำแม่ชื่อ อีเหลือง พ่อเป็นม้าน้ำ คลอดจากท้องแม่เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 9 ค่ำ หลวงศรีวรขาน ได้รับคําสั่งจาก สมเด็จพระพันวษาให้ไปซื้อม้าที่เมืองมะริด ประเทศอินเดีย สีหมอกซึ่งเป็นลูกม้ารุ่นหนุ่มก็ติดตามแม มาด้วย แต่ความซุกซนทําให้เที่ยวไล่กัดม้าตัวอื่นๆ อยู่เสมอ จึงทําให้คนดูแลม้าไล่ตีเอาเนืองๆ ขุนแผนไปพบเข้าที่เพชรบุรีเห็นสีหมอกมีลักษณะดี ต้องตามตําราจึงเข้าไปขอซื้อแล้วเสกหญ้าให้กิน ม้าสีหมอกก็ติดตามขุนแผนไปโดยดี

มือเก่า

ร่วมแสดงความคิดเห็น