เดินเครื่องเต็มสูบฟื้นเศรษฐกิจรากหญ้า

b1 w=27h=9เดินเครื่องเต็มสูบฟื้นเศรษฐกิจรากหญ้า วาง 5 มาตรการใหญ่ หนุนชุมชนให้เข้มแข็ง หวังช่วยดันจีดีพีโตต่อเนื่อง ดึงกลุ่มทุนใหญ่ และเอกชน 33 องค์กรร่วมผลักดัน ตั้งเป้าปี 2559 จำนวน 1,500 ตำบล ด้านออมสิน คิกออฟ ซอฟต์โลน ระยะที่ 2 วงเงิน 50,000 ล้านบาท เงื่อนไขใหม่ มุ่ง SMEs รายเล็ก รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท พร้อมจับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้ง SMEs Private Equity Trust Fund เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในเชิงบูรณาการ ขณะที่ สสว. คลอด “กองทุน 1,000 ล.” ให้ SMEs ยืมฟื้นธุรกิจฟรี! ไม่คิดดอกนาน 5-7 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภาครัฐจะผลักดันในเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนภาคเกษตรกรรมที่มีประมาณ 30 ล้านคน แต่มีสัดส่วนอัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ไม่ถึง 10% ซึ่งเป็นการยากที่จะเติบโตไปได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน รัฐบาลจึงอยากสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตขึ้นมาภายในปีนี้ให้เห็นเป็นรูป-ธรรม โดยมีแนวทางขับเคลื่อน 5 ประการ ประกอบด้วย 5 มาตรการใหญ่ คือ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชนบท ในสิ่งที่จำเป็นต่อการผลิตต่อชีวิตคนในท้องถิ่น 2.การสร้างเอสเอ็มอีเกษตรอุตสาหกรรม เพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาสร้าง 1 เอสเอ็มอี เกษตรอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นในหนึ่งตำบล 3.การสร้างตลาดให้ภาคการเกษตร 4. การผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ รักษาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน และ 5.ลงทุนอิน-เตอร์เน็ตบรอดแบนด์ในทุกตำบล เพื่อเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าอี-คอม เมิร์ซ ซึ่งล่าสุด ครม.อนุมัติในหลักการแล้ว โดยจะเริ่มลงทุนเดินหน้าให้เกิดขึ้นในทันที ถ้าหากมีการดำเนินงานสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้ จะสามารถดันจีดีพี ของประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ ปีนี้รัฐบาลจะเริ่มเดินหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี การลงนามครั้งนี้จึงขอความร่วมมือจากเอกชน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มาร่วมมองหาตลาดจากสินค้าเกษตร เพื่อเป็นเครือข่ายจำหน่ายสินค้า และกระจายตลาดไปตามช่องทางต่างๆ รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่และแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน ด้วยการกลับไปพัฒนานำสินค้าเกษตรมาวางขายตามแหล่งท่องเที่ยว ปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 1 ตำบล 1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว เพื่อผลัก-ดันเศรษฐกิจในพื้นที่

สำหรับแผนพัฒนาทุกด้านจะเป็นรูปธรรมปีนี้อย่างแน่นอน และเดินหน้าวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครอบ-คลุมทุกพื้นที่ เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนค้าขายผ่านอี-คอมเมิร์ซ หากพื้นที่เป็นนักพัฒนาจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและพัฒนาจีดีพีในพื้นที่เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ยืนยันเจ้าสัวไม่ได้เข้ามากินประเทศ เพราะภาคเอกชนเข้ามาร่วมรัฐบาลทำงาน จึง ขอให้รอดูผลงาน เพื่อพิสูจน์ผลงานร่วมกัน เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศจะปราศจากเอกชนไม่ได้
ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดพิธีลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยใช้พื้นที่เป็น ตัวตั้ง สู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน” ระหว่างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับเครือข่ายสัมมาชีพ ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน มูลนิธิสัมมาชีพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวม 33 องค์กร เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ธนาคารออมสิน, ธ.ก.ส., สสส., สปก., ททท., กรมการพัฒนาชุมชน, มูลนิธิสัมมาชีพ, ปตท., เซ็นทรัล, บิ๊กซี, เทสโกโลตัส, สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ฯลฯ เพื่อร่วมกันสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้ยุทธศาสตร์ประชารัฐ นำร่องเกษตรอินทรีย์ ประมงชายฝั่ง และบ้านมั่นคง เป้าหมายเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ตั้งเป้าปี 2559 จำนวน 1,500 ตำบล

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการรวม 19 แห่ง จัดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซอฟต์โลน ระยะแรก 10,000 ล้านบาท โดยมีลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีความต้องการวงเงินกู้นี้จำนวน มาก ทำให้ปล่อยกู้เต็มวงเงิน 100,000 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการไปรวมจำนวนทั้งสิ้น 11,750 ราย รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ธนาคารออมสิน เร่งดำเนินปล่อยเงินกู้โครงการระยะที่ 2 หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 เป็นที่เรียบร้อย สำหรับโครงการระยะที่ 2 นี้ มีวงเงิน 50,000 ล้านบาท มีเงื่อนไขที่แตกต่างจากโครงการระยะแรก เพียงแค่เงื่อนไขเดียว คือ จำกัดวงเงินสินเชื่อต่อรายไว้ไม่เกิน 10 ล้านบาท (โครงการแรกกำหนดไว้ไม่เกิน 50 ล้านบาท) ส่วนอัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขอื่นๆ เหมือนโครงการระยะแรก โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าโครงการนี้ได้ประมาณ 5,000 ราย
นอกจากนี้ ธนาคารออมสิน จัดตั้งกองทุนร่วมทุน SMEs Private Equity Trust Fund วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กอง กองละ 500 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1 เอสเอ็มอีระยะเริ่มต้น (สตาร์ต อัพ) 2.เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพในการเติบโต 3.เอสเอ็มอีที่เป็นซัพพลายของธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเป็นสมาชิกหอการค้าไทย และหน่วยงานภาครัฐ และ 4.เอสเอ็มอี ที่เป็นกิจการเพื่อสังคม โดยร่วมลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดย่อม ขนาดกลางที่มีศักยภาพวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยจะเข้าร่วมลงทุนไม่เกิน 49% อายุกองทุน 10 ปี โดยกองแรกได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ร่วมลงทุน 100 ล้าน นอกจากนี้ ธนาคารออมสิน ยังเตรียมเงินปล่อยกู้อีก 2,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ยังมีธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารกรุงไทย ที่จะตั้งกองทุนในลักษณะเดียวกันนี้ รายละ 2,000 ล้านบาท และปล่อยกู้อีกรายละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีเงินสนับสนุนเอสเอ็มอีรวม 6,000 ล้านบาท
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) มีมติให้ความเห็นชอบจัดสรรเงินกอง ทุน มูลค่า 1,000 ล้านบาท เพื่อจัดตั้ง “กองทุนพลิกฟื้น SME” โดยให้ สสว.ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี และธุรกิจการเกษตรที่ในกลุ่มต้องการฟื้นฟูธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขต้องเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่ดี รวมถึงได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว แต่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือไม่สามารถได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงิน เพราะ ที่ผ่านมาเคยมีปัญหาด้านประวัติการเงิน ซึ่งกลุ่มนี้ สสว. จะนำเข้ามาพิจารณาให้กู้ยืมจากกองทุนพลิกฟื้นฯ โดยเป็นเงินกู้ระยะยาว เวลาใช้คืน 5-7 ปี โดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย และให้ กู้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท

ขณะนี้ ในส่วนของ สสว. และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีประวัติ ผู้ประกอบการที่เข้าข่ายจะต้องการฟื้นฟูธุรกิจกว่า 17,000 ราย นอกจากนั้น สสว.ได้ประสานไปยังธนาคารต่างๆ เพื่อให้รับรู้ในกองทุนดังกล่าว ซึ่ง ขณะนี้ ทางธนาคารได้ส่งลูกค้ามาให้พิจารณาแล้วกว่า 4,000 ราย ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องเข้ากระบวนการวินิจฉัย ซึ่งใช้เวลารายละประมาณ 1 เดือน โดยคาดว่า จะมี SMEs ได้รับสิทธิ์ประมาณ 10,000 ราย และตั้งเป้าว่า SMEs ที่ได้รับการพิจารณาให้ยืมเงินจากกองทุนนี้ จะต้องไม่เกิดเป็นหนี้เสียแม้แต่รายเดียว เนื่องจากเป็นเงินของภาครัฐที่ต้องจัดสรรช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น กระบวนการคัดสรรและพิจารณาต้องรอบคอบที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น