ภาพรวมตลาดเครื่องปรับอากาศของไทยในปี 2559 มีโอกาสชะลอตัวจากปี 2558

111
ภายใต้สถานการณ์ที่มีความกดดันทางเศรษฐกิจต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ผู้ประกอบการต่างมีกลยุทธ์ทำตลาดที่แตกต่างกันไปตามกำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภค โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2559 กลุ่มตลาดที่น่าจะมีการแข่งขันสูงคือ กลุ่มตลาดที่ผู้บริโภคมีรายได้ระดับปานกลางถึงระดับบนที่ยังคงมีกำลังซื้อ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการขยายตัวในกลุ่มตลาดนี้คือเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มเติมจากระบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งได้กลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาพรวมตลาดเครื่องปรับอากาศของไทยในปี 2559 มีโอกาสชะลอตัวจากปี 2558 โดยตลาดเครื่องปรับอากาศยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลของผู้บริโภคต่อแนวโน้มรายได้ และการมีงานทำรวมทั้งปัญหาหนี้ครัวเรือนซึ่งยังอยู่ในระดับสูง1 ส่งผลให้กลุ่มตลาดผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อน้อยซึ่งเป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ในประเทศระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และอาจชะลอการซื้อเครื่องปรับอากาศเครื่องใหม่ แม้กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงระดับบนซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตลาดเครื่องปรับอากาศแบรนด์ชั้นนำไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าวไม่มากนักก็ตาม

222
นอกจากนี้ ตลาดเครื่องปรับอากาศใหม่ยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากแนวโน้มทรงตัวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปีนี้โดยรวม โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนที่พักอาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2559 จะมีประมาณ 126,000-129,800 หน่วย หดตัวราวร้อยละ 0.4 ถึงขยายตัวร้อยละ 2.6 จากปี 2558

333
กระนั้น มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ในส่วนการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยที่จะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2559 น่าจะเป็นแรงหนุนต่อตลาดเครื่องปรับอากาศใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2559 อาจตัดสินใจตกแต่งที่พักอาศัยของตนเพิ่มเติมเนื่องจากสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดทะเบียนการจำนองที่อยู่อาศัยดังกล่าว

444
นอกจากนี้ยอดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศก็มีปัจจัยผลักดันมาจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี2 จากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าว ช่วงครึ่งแรกของปีนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการน่าจะสามารถเร่งยอดขายได้ก่อนที่ปัจจัยหนุนต่างๆจะเริ่มลดน้อยลงในช่วงครึ่งปีหลัง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2559 ยอดขายเครื่องปรับอากาศในไทยจะมีประมาณ 1.81 – 1.83 ล้านเครื่อง ขยายตัวราวร้อยละ 4.7 – 6.1 ชะลอตัวลงจากปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.5 จากปี 2557 สำหรับมูลค่าตลาดในปี 2559 น่าจะแตะระดับประมาณ 26,064 –26,395 ล้านบาท เติบโตในกรอบร้อยละ 3.6 – 5.0 จากปี 2558 ที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 25,150 ล้านบาท และเติบโตร้อยละ 4.3 จากปี 2557

555

ตลาดระดับกลางถึงบนแข่งขันสูงด้านเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศเล็กมาแรงในกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อน้อย
ภายใต้สถานการณ์ที่มีความกดดันทางเศรษฐกิจต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ผู้ประกอบการต่างมีกลยุทธ์ทำตลาดที่แตกต่างกันไปตามกำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภค โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2559 กลุ่มตลาดที่น่าจะมีการแข่งขันสูงคือ กลุ่มตลาดที่ผู้บริโภคมีรายได้ระดับปานกลางถึงระดับบนที่ยังคงมีกำลังซื้อ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการขยายตัวในกลุ่มตลาดนี้คือเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มเติมจากระบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งได้กลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน

ผู้ผลิตในกลุ่มตลาดนี้มักเป็นบริษัทข้ามชาติจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่มีสายการผลิตในประเทศไทย โดยเทคโนโลยีในปีนี้ที่มีการพัฒนาและแข่งขันกันจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบกรองอากาศ และการทำความเย็นอย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมไปถึงการออกแบบและคุณภาพการใช้งาน666
นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังชูนวัตกรรมในด้านความสะดวกสบายในการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาทิ เครื่องปรับอากาศอัจฉริยะ (Smart air conditioner) ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการสั่งงานแทนรีโมตคอนโทรล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การใช้งานดังกล่าวจะยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเนื่องจากมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายแบบมีสายที่แพร่หลาย และผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทั้งนี้ ประชากรไทยโดยรวมมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 34.9 จากประชากรทั้งหมด ขณะที่ประชากรราวร้อยละ 54.5 จากประชากรทั้งหมดที่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้งานอินเทอร์เน็ต เมื่อเทียบกับภาคกลางและภาคเหนือที่มียอดการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ร้อยละ 37.5 และร้อยละ 30.6 ตามลำดับ ดังนั้น ในระยะสั้น ผู้ผลิตน่าจะเริ่มการทำตลาดเครื่องปรับอากาศอัจฉริยะกับกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเมื่อการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบมีสายครอบคลุมหลายพื้นที่ของประเทศมากขึ้น ผู้ผลิตย่อมมีโอกาสทำตลาดภูมิภาคในระยะยาว
ขณะเดียวกันผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อน้อยก็เป็นกลุ่มตลาดที่มีขนาดใหญ่ในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลยุทธ์ของผู้ผลิตที่น่าจะใช้ในตลาดนี้คือ ความคุ้มค่าทั้งด้านราคาและการประหยัดพลังงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาต่ำ ทั้งนี้ ผู้ผลิตที่เน้นกลุ่มตลาดนี้คือ บริษัทข้ามชาติจากจีน และผู้ประกอบการสัญชาติไทยที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งปรับตัวในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยการปรับลดราคาการเพิ่มความถี่การโฆษณาตามสื่อต่างๆ การขยายเวลารับประกันสินค้าและการให้บริการ โดยเครื่องปรับอากาศที่เป็นที่นิยมในกลุ่มตลาดนี้คือ เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กซึ่งมีขนาดทำความเย็นตั้งแต่ 8,000 – 12,000 BTU

อีกกลุ่มตลาดที่มีความสำคัญ และเป็นแรงผลักดันตลาดเครื่องปรับอากาศใหม่ คือ 1 โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย โดยผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีการสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศในจำนวนมากเพื่อใช้ติดตั้งในโครงการของตน ทั้งนี้ เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก็มีความสอดคล้องกับคุณสมบัติเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้งานในโครงการอาคารที่พักอาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และอพาร์ทเม้นท์ เนื่องจากที่อยู่อาศัยประเภทดังกล่าวมีพื้นที่น้อย อีกทั้ง เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กยังน่าจะเป็นที่ต้องการในโครงการบ้านเดี่ยวหรือทาวน์ โฮมซึ่งในปัจจุบันมีการวางผังกั้นห้องขนาดเล็กสำหรับการใช้งานหลากหลายb.1
กระนั้น ผู้เล่นหลักในตลาดโครงการที่อยู่อาศัยในปัจจุบันมีความแตกต่างจากกลุ่มตลาดผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อน้อย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กจากผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ซึ่งยังคงได้รับความเชื่อถือในด้านคุณภาพมากกว่าผู้ผลิตไทยและจีนอย่างไรก็ตาม การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยในปีนี้ยังคงมีทิศทางทรงตัวจึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยหนุนต่อยอดขายเครื่องปรับอากาศใหม่ของกลุ่มผู้ผลิตดังกล่าวมากนัก

การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสารทำความเย็นเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ
นอกเหนือจากสภาพการแข่งขันที่กล่าวข้างต้น ตลาดเครื่องปรับอากาศทดแทนของไทยในระยะยาวอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านในเทคโนโลยีสารทำความเย็นจากชนิดที่ทำอันตรายต่อชั้นบรรยากาศโลก (R22 refrigerant) มาเป็นชนิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอาจนำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายต่อผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กฎหมายจำกัดและยกเลิกการนำเข้าสารทำความเย็น R223

ย่อมทำให้ราคาของสารทำความเย็นดังกล่าวพุ่งตัวสูงขึ้นในระยะยาว จึงน่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ เกิดเป็นโอกาสทางธุรกิจในตลาดเครื่องปรับอากาศทดแทนในอนาคต โดยผู้ผลิตในปัจจุบันต่างหันมาพัฒนาเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R401a และ R32 และทยอยลดรุ่นเครื่องปรับอากาศที่ยังใช้สารทำความเย็น R22 ออกจากตลาด

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสารทำความเย็นดังกล่าวอาจยังไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะส่งผลในการชักจูงผู้บริโภคให้เปลี่ยนมาใช้เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ในระยะอันใกล้นี้ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานยาวนานโดยเฉลี่ย 11 ปี อีกทั้งสารทำความเย็น R22 ถูกใช้งานในเครื่องปรับอากาศมาเป็นระยะเวลานานทำให้ครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ยังคงถือครองเครื่องปรับอากาศเก่าที่ใช้สารทำความเย็นแบบเดิม
ขณะที่ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาของเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ที่สูงกว่าจากความซับซ้อนของระบบ และประเด็นเรื่องความปลอดภัยของสารทำความเย็น ส่งผลให้ผู้บริโภคอาจจะยังคงเลือกที่จะซ่อมแซมและใช้งานเครื่องปรับอากาศเก่าของตน เนื่องจากสารทำความเย็น R22 ยังสามารถนำเข้ามาได้จนถึงปี 2567 นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถดัดแปลงเครื่องปรับอากาศเดิมให้ใช้งานสารทำความเย็นทางเลือกนอกเหนือจาก R401a และ R32 อาทิ R407c เป็นต้น
เพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว ผู้ผลิตอาจใช้กลยุทธ์การตลาดที่นำเสนอการเข้าถึงได้และความปลอดภัยในการใช้งานของเครื่องปรับอากาศใหม่โดยชูส่วนลดในราคาและบริการซ่อมบำรุงของเครื่องปรับอากาศใหม่เมื่อผู้บริโภคแลกเครื่องปรับอากาศเก่า และควรให้ความสำคัญต่อการอบรมพัฒนาทักษะของบุคลากรที่ให้บริการซ่อมบำรุงอย่างการวางระบบ การขนส่งและการจัดเก็บสารทำความเย็น เป็นต้น ให้ได้มาตรฐานและมีระเบียบรัดกุม

ร่วมแสดงความคิดเห็น