แม่ฮ่องสอนเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

b13 b14“แสงอาทิตย์” เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นพลังงานสะอาดและมีอยู่ทั่วไป แต่การนำมาใช้ประโยชน์อาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากแสงอาทิตย์มีเฉพาะในตอนกลางวัน ตลอดจนมีความเข้มของแสงที่ไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาลที่เปลี่ยนไป

แสงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ เมื่อแสงอาทิตย์เดินทางมาถึงนอกชั้นบรรยากาศของโลก จะมีความเข้มของแสงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,350 วัตต์/ตารางเมตร แต่กว่าจะลงมาถึงพื้นโลก พลังงานบางส่วนต้องสูญเสียไปเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศต่างๆ ที่ห่อหุ้มโลก เช่น ชั้นโอโซน ชั้นไอน้ำ ชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ความเข้มของแสงลดลงเหลือประมาณ 1,000 วัตต์/ตารางเมตร (หรือประมาณร้อยละ 70)

ปริมาณแสงอาทิตย์ที่ได้รับบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะมีปริมาณสูงสุดเมื่อพื้นที่นั้นทำมุมตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นหากต้องการให้พื้นที่ใดรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดต่อวัน ก็จะต้องปรับพื้นที่รับแสงนั้นๆ ตามการเคลื่อนที่ของแสงอาทิตย์ ซึ่งจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกเสมอ นอกจากนั้น จากการที่โลกเอียง ทำให้ซีกโลกเหนือหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน และเอียงซีกโลกใต้หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูหนาว ดังนั้นเราจึงต้องปรับมุมพื้นที่รับแสงนั้นๆ ในแนวเหนือใต้ (มุมก้มและมุมเงย) ให้สอดคล้องตามฤดูกาลด้วย เพื่อให้พื้นที่นั้นๆ รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดตลอดทั้งปี

โดยประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นขนานที่ 6-10 องศาเหนือ จะได้รับแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 4-5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร/วัน ซึ่งหากสามารถปรับพื้นที่รับแสงให้ติดตามแสงอาทิตย์ได้ตลอดเวลาแล้ว คาดว่าจะสามารถรับแสงได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า

ทำให้ผู้บริหารจังหวัดแม่ฮ่องสอนเล็งเห็นว่า ควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทางเลือก เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาตินำหัวหน้าส่วนราชการ ผุ้ประกอบการภาคเอกชน เดินทางเพื่อศึกษาดูงานโซล่าร์ฟาร์มและพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ ซึ่งมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อ นำผู้บริหารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อนำความรู้ด้านเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานกลับมาประยุกต์ ปรับใช้ และพัฒนาด้านการพลังงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สำหรับการศึกษาดูงานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หนึ่งในโครงการส่งเสริมพลังงานทางเลือกเพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือก 2 ประเภทที่เหมาะ อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์และก๊าซชีวภาพ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาโซล่าฟาร์มเพื่อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา โซล่ารูฟท้อป และ การปรับปรุงโซล่าโฮมในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

ทั้งนี้การศึกษาดูงานเข้าเยี่ยมชมระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาขนาด 999 กิโลวัตต์ ที่ศูนย์การค้าเมกาบางนาซึ่งเป็นศูนย์การค้าแนวราบระดับแห่งแรกในเอเชีย การศึกษาดูการพัฒนาของระบบโซลาร์ฟาร์ม ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกในประเทศไทยและประชาคมอาเซียน ยอกจากนั้นยังดูการพัฒนารูปแบบการใช้พลังงานทางเลือกภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานที่ครบวงจร และมีการนวัตกรรมด้านพลังงานอีกหลากหลายรูปแบบด้วย ทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ศุนย์การเรียรู้พลังงานชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อม

ร่วมแสดงความคิดเห็น