ลงพื้นบ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

B-2.jpg

ฯพณฯ สมคิด จตุศรีทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ลงพื้นบ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล โดยมีท่านพระครูวรวรรณวิวัฒน์ ดร. เจ้าอาวาสวัด และนายยงยุทธ ศรีออน ผู้ใหญ่บ้านบ้านหลวง หมู่ที่ 6ตรวจเยี่ยมโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยอาจารย์ชัยภูมิ สีมา อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการฯ เป็นตัวแทนมอบของที่ระลึก

สำหรับโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ปีที่ 2 ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561)เลือกบ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากชุมชนมีความพร้อมด้านบุคลากรและทรัพยากรด้านต่างๆ ที่ต้องการการพัฒาและต่อยอดอย่างเป็นระบบ แบ่งการบูรณะการเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่B-4.jpg
กลุ่มที่ 1 กลุ่มส่งเสริมอาชีพ กลุ่มมันกัลยา(มันฝรั่ง)โดยการนำเครื่องจักรมาทุนแรงในการหันมันฝรั่งแทนการใช้แรงงานคน กลุ่มน้ำเสาวรส ออกแบบผลิตภัณฑ์ (ตราสินค้า) กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา ส่งเสริมภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผา ปรับการออกแบบ Design ให้มีรูปแบบที่ทันสมัยและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น สนับสนุนการทำเตาเผาเพื่อลดต้นทุนการในขนส่งชิ้นงานมาเผาต่างพื้นที่ กลุ่มจักสาร จัดระบบการรวมกลุ่มเพื่อหาตลาด
กลุ่มที่ 2 กลุ่มการท่องเที่ยว ทำการสำรวจพื้นที่เพื่อการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว จัดทำแผนที่การท่องเที่ยว(และวิดีโอประชาสัมพันธ์ชุมชน)ต่อไป

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ ปลา และปลูกผักปลอดสารเพื่อการบริโภคB-3.jpg
กลุ่มที่ 4 กลุ่มสวัสดิ์การชุมชน ส่งเสริมและจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้าง เพื่อรองรับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลต่างๆ
อาจารย์ชัยภูมิ สีมา หัวหน้าโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วม กล่าวว่าโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ปีที่ 2 มีการพัฒนาให้ชุมชนมีความเข้มแข็งตั้งแต่ฐานราก เน้นด้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดังแนวคิดที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” แบ่งกลุ่มเพื่อการบูรณาการเพื่อให้สอดคล้องศาสตร์ด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ทั้ง 4 ศาสตร์อันได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ดูแลด้านการเครื่องจักรกลที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร

การจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างต่างๆ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ดูแลด้านการสำรวจและส่งเสริมการท่องเที่ยว คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ดูแลเรื่องการออกตราแบบผลิตภัณฑ์ การ Design ต่างๆ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ดูแลเรื่องการแปรรูปอาหาร การส่งเสริมการทำปุ๋ยต่างๆ ซึ่งทั้ง 4 คณะได้ร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับชุมชนหรือหน่วยงานที่ต้องการคำปรึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดโครงการฯได้ที่ อาจารย์ชัยภูมิ สีมา E-mail : [email protected] หมายเลขโทรศัพท์ 086-050-8266

ร่วมแสดงความคิดเห็น