ศภ.1 กสอ.ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

1
เจตนิพิฐ รอดภัย

ศภ.1 กสอ.เปิดการสัมนาเปิดตัวโครงการและการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ครั้งที่ 1 ตามโครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (วัฒนธรรมล้านนา ) อบรมให้องค์ความรู้ 3 วันเต็มที่โรงแรมอโมรา ท่าแพ จ.เชียงใหม่

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 31 มีนาคม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เป็นประธานเปิดการสัมนาเปิดตัวโครงการและการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (วัฒนธรรมล้านนา ) ปีงบประมาณ 2559 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 วันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน 2559 ที่โรงแรมอโมรา ท่าแพ จ.เชียงใหม่

7
นายเจตนิพิฐ รอดภัย ผู้อำนวยการ ศภ.1 กสอ. กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (ล้านนา) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ประจำปีงบประมาณ 2559 ศภ.1 กสอ. มุ่งเน้นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ให้ก้าวทันภาคอุตสาหกรรมในยุคที่ต้องขับเคลื่อนด้วยทุนสมอง สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ แทนการแข่งขันด้วยการใช้ความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ แรงงาน และความสามารถในการผลิต ตามแนวคิดเดิมของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) ซึ่งไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ในปัจจุบัน โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาสร้างสรรค์คุณค่า (Value Creation) เชิงพาณิชย์ในระดับสากล

“ศภ.1 กสอ. จึงได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (ล้านนา) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ปีงบประมาณ 2559 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อมุ่งเน้นการถ่ายทอดเสน่ห์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาล้านนาโดยการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้กับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพการทำธุรกิจผลิตภัณฑ์ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาล้านนา สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในระดับสากลต่อไป”4

ผู้อำนวยการ ศภ.1 กสอ. กล่าวอีกว่า การดำเนินงานในโครงการฯ มุ่งเน้นในการต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาล้านนาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวิถีของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาบริษัท ผลึกแก้ว โปรโมชั่น แอนด์ ดีไซน์ จำกัด ดำเนินงานให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 ราย ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Design Camp การจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวนไม่น้อยกว่า 60 ผลิตภัณฑ์ และการเตรียมความพร้อมผลิตภัณฑ์สู่ตลาดผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อนำเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์สู่ตลาดในงานแสดงสินค้า หรือโอกาสทางการตลาดที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดขึ้นในรอบปี 2559 นี้

นายเจตนิพิฐ รอดภัย ผู้อำนวยการ ศภ.1 กสอ. กล่าวอีกว่า โครงการนี้มีส่วนช่วยผู้ประกอบการได้จากที่ทราบกันดีแล้วว่า ในช่วงนี้เศรษฐกิจทั้งเอเชีย และยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ยอดสั่งซื้อสินค้าลดลง และวิกฤตภัยแล้วภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการชุมชนขาดรายได้ ศักยภาพการแข่งขันลดลง ในสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การแข่งขันให้สอดคล้องกับภาวะตลาด โครงการนี้จะมีส่วนช่วยสร้างจุดขายใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดโดยการนำทุนวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร มาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเมืองไทยปีละมากกว่า 20 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังการซื้อสินค้าของที่ระลึก ซึ่งต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ในโครงการจะสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี

3

อย่างไรก็ตามความคาดหวังของโครงการในปีนี้ คือ การสร้างภูมิรู้ ภูมิปัญญาในการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์คุณค่า สร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น มีช่องทางการตลาดใหม่ทั้งในประเทศและนานาชาติ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สังคม และประเทศไทยที่มีมรดกทางทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ สืบสาน สานต่อ จากรุ่นสู่รุ่น ให้เกิดความตระหนัก รับรู้คุณค่า ต่อยอด สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับวิถีของผู้บริโภคในปัจจุบัน แต่ยังคงเสน่ห์ของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาล้านนาผ่านผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เพื่อให้มรดกวัฒนธรรมของบรรพชนให้คงอยู่เคียงคู่ขนานกับคนไทยต่อไปสู่อนาคตด้วยความเข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป นายเจตนิพิฐ รอดภัย ผู้อำนวยการ ศภ.1 กสอ. กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น