เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชนเผาพื้นเมืองในประเทศไทย

B-7.jpg
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส.) ร่วมกับ มูลนิธิภูมิปัญญาชน เผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง ( IKAP) เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชนเผาพื้นเมืองในประเทศไทย โดยมี นายเฉิน ผันผาย ผู้รู้กลุ่มชาติพันธุ์ซอง จังหวัดจันทบุรี กล่าวต้อนรับ ณ โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ เมื่อวันที่ผ่านมา
นายเฉิน ผันผาย ผู้รู้กลุ่มชาติพันธุ์ซอง จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ชนเผาพื้นเมืองของประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์สามภาคของประเทศ ได้แก่ภาคใต้ ที่ราบสูงโคราชของภาคอีสานและภาคตะวันออก และภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ในแต่ละภาคจะมีประชากรชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆอาศัยอยู่ เช่น มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ญัฮกรู แสก โส้ กูยและซอง อาศัยอยู่แถบที่ราบสูงโคราชของภาคอีสานและภาคตะวันออก

กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า มลาบรี อึมปี บีซู ไทดำ อาศัยอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นต้น ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มอาศัยอยู่กระจายไปตามประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขีดเส้นพรมแดนของรัฐชาติสมัยในช่วงยุคล่าอาณานิคม และในช่วงตื่นตัวของการปลดปล่อยจากอาณานิคม ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มถูกแบ่งแยกแลอยู่กระจายตามที่ต่างๆ

B-8.jpg

จากการศึกษาและสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับจำนวนประชากรและสถานการณ์ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยปรากฏว่ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ยกเว้นข้อมูลชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัด ที่สำรวจโดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในปี 2545 แต่การสำรวจครั้งนั้นยังไม่ครอบคลุมประชากรอีกหลายกลุ่ม เช่น อึมปี บีซู ญักรู ซอง มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย มานิ ฯลฯ

ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคอื่นๆของประเทศไทย และหลักจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีการสำรวจและจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมอีก ทำให้ขาดข้อมูลที่ทันสมัยและไม่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่สถานการณ์ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางเริ่มเผชิญภาวะวิกกฤต เช่น การถูกแย่งชิงที่ดิน ถูกละเมิดลิขสิทธิ ถูกจำกัดสิทธิ์ในการทำมาหากิน ถูกกลื่นกลายทางวัฒนธรรม ฯลฯ

B-9.jpg

จากการหารือกับผู้นำชนเผ่าเมือง มีความเห็นพ้องกันว่า การจัดระบบฐานข้อมูลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชนเผาพื้นเมือง มีความเห็นฟ้องกันว่าการจัดทำระบบฐานข้อมูลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชนเผ่าพื้นเมือง กลุ่มเล็กๆเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องการกระทำอย่างเร็งด่วน

เพื่อให้แนวคิดและความต้องการบรรลุผลตามเป้าหมาย มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม(ม.ก.ส.) มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สุง( IKAP) ร่วกมับศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองเลขาสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ร่วมกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองขึ้น เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางที่ทุกฝ่ายสามารถนำไปใช้ได้ โดยในระยะแรกจะเน้นกลุ่มเป้าหมายนำร่อง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรไม่มากก่อน ได้แก่ อึมปี บีซู มลาบรี ญัฮกรู แสก ซอง มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนในขบวนชนเผ่าพื้นเมือง จึงได้จัดเวทีเปิดตัวโครงการนี้ขึ้น ณ โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ เมื่อวันที่ผ่านมา

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้แทนชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เป้าหมาย ผู้แทนสภา ชนเผ่าพื้นเมือง กรรมการบริหารโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ เจ้าหน้าที่โครงการ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตและกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการและเพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ปัญหาและสถานการณ์ในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์อีกทั้งเพื่อพัฒนาและจัดทำแผนงานเชิงปฏิบัติร่วมกันตลอดจนเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและความเข้มแข็งให้กับขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

ร่วมแสดงความคิดเห็น