การลงทุน 3G/4G หนุนธุรกิจ ติดตั้งวางโครงข่าย ในปี 2559 ขยายตัว

b.1 888การขยายโครงข่ายโมบายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในยุค 4G นับว่าเป็นยุคของการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบไร้สาย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผู้ประกอบการน่าจะทำการขยายโครงข่าย 3G/4G ใหม่เพิ่มเติม สำหรับพื้นที่ที่มีการใช้งานบริการข้อมูลอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่ตามต่างจังหวัด รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ พร้อมทั้งทยอยอัพเกรดประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการ 4G จากโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม โดยอาจเริ่มอัพเกรดในพื้นที่ที่มีการใช้บริการข้อมูลหนาแน่นก่อน และทำการทยอยอัพเกรดการให้บริการ 4G จากโครงข่าย 3G ตามพื้นที่รอบนอกในต่างจังหวัดเป็นลำดับถัดไป โดยน่าจะยังไม่เน้นการลงทุนขยายโครงข่าย 3G/4G ใหม่เพิ่มเติมมากนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงปี 2559 – 2561 จะมีมูลค่าการลงทุนโครงข่าย 3G/4G ทั้งที่มาจากการลงทุนโครงข่ายใหม่เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น และการลงทุนอัพเกรดอุปกรณ์รับสัญญาณเพื่อการรองรับการให้บริการ 4G จากโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม รวมทั้งหมดประมาณ 230,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า ผู้ประกอบการจะให้น้ำหนักในการลงทุนโครงข่ายดังกล่าวในปี 2559 มากที่สุด โดยจะมีการลงทุนราว 100,000 ล้านบาท777

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธุรกิจให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สาย น่าจะได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการลงทุนโครงข่ายดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการโทรคมนาคมจำเป็นต้องเร่งพัฒนาโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการ 4G รวมถึงเร่งขยายโครงข่าย 3G/4G ใหม่เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ให้ได้มากที่สุดท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น เพื่อชิงความได้เปรียบด้านการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและเป็นผู้ให้บริการข้อมูลที่ครอบคลุมประชากรมากที่สุด

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดการให้บริการติดตั้งเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมแบบไร้สายในปี 2559 จะมีมูลค่าราว 10,300 – 10,650 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 18.4 – 22.4 จากปี 2558 ที่มีมูลค่าประมาณ 8,700 ล้านบาท

ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทยในยุคการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 4G การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบไร้สายผ่านโครงข่าย 3G/4G เพื่อให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการใช้งานบริการข้อมูลของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความต้องการใช้บริการข้อมูลในหมู่ผู้บริโภคไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงผลักดันหลักจากราคาสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ถูกลงจนอยู่ในระดับราคาที่ผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถจับจ่ายได้ ประกอบกับกระแสความนิยมเข้าใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างยูทูป เฟซบุ๊ค ไลน์ เป็นต้น

999

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2559 จะมีผู้เข้าใช้บริการโมบายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่าย 3G/4G สูงถึง 38.4-39.7 ล้านคน โดยมีอัตราการเข้าถึงราวร้อยละ 60.4 – 62.6 จากประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ สอดคล้องกับตลาดการให้บริการข้อมูลของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทยในปี 2559 ที่คาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 131,652 – 133,693 ล้านบาท เติบโตราวร้อยละ 20.6 – 22.5 จากปี 2558

การแข่งขันชิงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี…ดันมูลค่าการลงทุนโครงข่าย 3G/4G มากกว่า 200,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2559-2561

ในปัจจุบัน โครงข่าย 3G ของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถครอบคลุมได้มากกว่าร้อยละ 95 ของประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี ด้วยความต้องการใช้บริการข้อมูลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามที่กล่าวมาข้างต้น อาจทำให้ปริมาณคลื่นความถี่และจำนวนโครงข่ายไม่เพียงพอต่อการให้บริการ จึงส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมมีแนวโน้มสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายอื่นหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสำหรับการใช้คลื่นความถี่ รวมถึงการเช่าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมร่วมกัน เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า นับว่าเป็นการขยายโครงข่ายของตนเองให้ครอบคลุมในหลายๆ พื้นที่ที่สำคัญอย่างรวดเร็ว และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการเพื่อสามารถให้บริการข้อมูลแก่ผู้บริโภคอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังสามารถลดต้นทุนการขยายโครงข่ายได้อีกทางหนึ่ง

222

หากพิจารณาถึงการขยายโครงข่ายโมบายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในยุค 4G ซึ่งเป็นยุคของการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังมองว่า ในปี 2559 กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทยจะยังคงมุ่งเน้นการลงทุนสำหรับการขยายโครงข่าย 3G และ 4G ไปพร้อมๆ กัน โดยอาจมีการลงทุนด้านโครงข่ายในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน โดยคาดว่า ผู้ประกอบการน่าจะทำการขยายโครงข่าย 3G/4G ใหม่เพิ่มเติม สำหรับพื้นที่ที่มีการใช้งานบริการข้อมูลอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล หรือตามหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ พร้อมทั้งทยอยอัพเกรดประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการ 4G จากโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม โดยอาจเริ่มอัพเกรดในพื้นที่ที่มีการใช้บริการข้อมูลหนาแน่นก่อน เนื่องจากผู้บริโภคในพื้นที่ดังกล่าวย่อมเป็นผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับการให้บริการโมบายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนระบบ 4G

555

นอกจากนี้ ในปี 2559 ผู้ประกอบการโทรคมนาคมก็น่าจะทำการทยอยอัพเกรดการให้บริการ 4G จากโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม ตามพื้นที่รอบนอกในต่างจังหวัดเป็นลำดับถัดไป โดยน่าจะยังไม่เน้นการลงทุนขยายโครงข่าย 3G/4G ใหม่เพิ่มเติมมากนัก เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ดังกล่าวโดยส่วนใหญ่ น่าจะยังถือครองสมาร์ทโฟนที่สามารถรองรับได้เพียงการใช้บริการข้อมูลบนระบบ 3G ในขณะที่ผู้บริโภคบางส่วนเพิ่งเปลี่ยนการใช้งานจากระบบ 2G มาเป็น 3G
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วง 3 ปี นับจากนี้ (ปี 2559 – 2561) จะมีมูลค่าการลงทุนโครงข่าย 3G/4G

ทั้งที่มาจากการลงทุนโครงข่ายใหม่เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น และการลงทุนอัพเกรดอุปกรณ์รับสัญญาณเพื่อการรองรับการให้บริการ 4G จากโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม รวมทั้งหมดประมาณ 230,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า ผู้ประกอบการจะให้น้ำหนักในการลงทุนโครงข่ายดังกล่าวในปี 2559 มากที่สุด โดยจะมีการลงทุนราว 100,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 43.5 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด เนื่องจากเป็นช่วงปีแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 4G และผู้ประกอบการโทรคมนาคมแต่ละรายย่อมต้องการแย่งชิงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี อีกทั้ง ยังต้องการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการข้อมูลต่อผู้บริโภคให้มากที่สุด เพื่อสร้างโอกาสในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งในอนาคต

666สำหรับปี 2559 เงินลงทุนโครงข่าย 3G/4G ดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะถูกกระจายอยู่ในธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสาร ประมาณ 77,000 – 79,000 ล้านบาท ส่วนเม็ดเงินที่เหลือราว 21,000 – 23,000 ล้านบาท น่าจะถูกกระจายอยู่ในธุรกิจการให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สาย และส่วนหนึ่งก็เป็นต้นทุนสำหรับการเช่าหรือซื้อที่ดิน รวมถึงการบำรุงรักษาโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ ในปี 2559 นี้ ธุรกิจการให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สาย นับว่าเป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างเป็นอย่างดี โดยจะเกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สายในประเทศไทย

การลงทุนโครงข่าย 3G/4G…หนุนธุรกิจให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สาย ขยายตัวกว่าร้อยละ 18.0 ในปี 2559

ด้วยแนวโน้มการลงทุนโครงข่ายโมบายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตแบบไร้สายบนระบบ 3G/4G ตามที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธุรกิจให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สาย น่าจะได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการลงทุนโครงข่ายดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการโทรคมนาคมจำเป็นต้องเร่งพัฒนาโครงข่าย 3G ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการ 4G รวมถึงเร่งขยายโครงข่าย 3G/4G ใหม่เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ให้ได้มากที่สุดท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น เพื่อชิงความได้เปรียบด้านการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและเป็นผู้ให้บริการข้อมูลที่ครอบคลุมประชากรมากที่สุด ในขณะที่กำลังการติดตั้งเสา อุปกรณ์ รวมถึงการวางโครงข่ายด้วยตนเองของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการเร่งขยายโครงข่ายดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ้างผู้ให้บริการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมแบบไร้สายรายอื่นเพิ่มเติม
จากโอกาสทางธุรกิจดังกล่าว กลุ่มผู้ประกอบการติดตั้งและวางโครงข่ายโทรคมนาคมบนโครงข่าย 3G/4G ควรต้องเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะวิศวกร หรือช่างเทคนิคที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับการวางโครงข่ายและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย และสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กที่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคม แต่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการติดตั้งเสา อุปกรณ์สื่อสาร รวมถึงวางโครงข่ายโทรคมนาคม ควรทำการสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการติดตั้งและวางโครงข่ายรายใหญ่ เพื่อเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจเกี่ยวกับโครงข่าย 3G/4G ที่จะขยายตัวในระยะถัดไป111

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดการให้บริการติดตั้งเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมแบบไร้สายในปี 2559 จะมีมูลค่าราว 10,300 – 10,650 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 18.4 – 22.4 จากปี 2558 ที่มีมูลค่าประมาณ 8,700 ล้านบาท

การติดตั้งโครงข่าย 3G/4G ให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการใช้งานบริการข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย่อมเอื้อให้ผู้บริโภคสามารถใช้โมบายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ 4G ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการให้บริการที่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงและมีความเสถียรในการใช้งาน อาทิเช่น การให้บริการบันเทิงออนไลน์อย่างการดูหนังด้วยความคมชัดระดับ HD หรือการดูรายการโทรทัศน์ทางออนไลน์แบบถ่ายทอดสด เป็นต้น ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจในด้านการผลิตคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดการขยายสู่การสร้างธุรกิจบริการในรูปแบบอื่นๆ ผ่านโมบายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา (E-education) หรือทางการแพทย์ (E-health) เป็นต้น

333

ร่วมแสดงความคิดเห็น