เชิญชวนมาร่วมงานเจ็ดร้อยซาววัสสา น้อมคารวะปู่ชา ต๋นเจ้าพญาเมืองพิงค์

2013 Photograph, Three Kings of Chiang Mai Monument, Tambon Sri Phum, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province, Thailand, © 2013. ภาพถ่าย ๒๕๕๖ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตำบลศรีภูมิ เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
2013 Photograph, Three Kings of Chiang Mai Monument, Tambon Sri Phum, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province, Thailand, © 2013.
ภาพถ่าย ๒๕๕๖ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตำบลศรีภูมิ เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

คณะวิจิตรศิลป์มช. ขอเชิญชวนชาวเชียงใหม่และผู้สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในวาระการเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่อายุครบ 720 ปี หรือ 60 รอบนักษัตร ในงาน “เจ็ดร้อยซาววัสสา น้อมคารวะปูชา ตนเจ้าพญาเมืองพิงค์”ในวันที่ 12 เม.ย.นี้โดยมีทั้งในส่วนของพิธีกรรมทางด้านความเชื่อ ความศรัทธา ศาสนา และการอนุรักษ์-สืบสานมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามตั้งขบวนแห่ ณ พุทธสถานในช่วงบ่าย ไปจนถึงสถานที่จัดงาน ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในช่วงเย็น และปิดท้ายด้วยความยิ่งใหญ่ตระการตาของการแสดงแสง-สี-เสียง อิงประวัติศาสตร์ ชุด “แสงพิสุทธิ์แห่งพิงค์นคร” ในช่วงค่ำb.2

เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่งเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพญามังรายผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้สร้างความเป็นปึกแผ่นเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านสังคม การเมือง การปกครอง การค้า การศาสนาตลอดจนถึงศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้การนำพาของบรรพกษัตริย์ถึง 15 พระองค์ จวบจนกระทั่งอาณาจักรล้านนาก้าวเข้าสู่ยุดสมัยแห่งการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจของพม่ายาวนานร่วม 200 กว่าปี จึงได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองให้หลุดพ้นจากการปกครองของจักรวรรดิพม่าได้สำเร็จลงโดยบรรพกษัตริย์เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนจึงนับได้ว่านครเชียงใหม่

b.3

อันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาได้ดำเนินผ่านห้วงเวลานับจากจุดเริ่มต้น รุ่งเรืองและเสื่อมสลายกลายเป็นวัฏจักรแห่งธรรม ที่เสมือนเป็นเครื่องปลุกเตือนให้อนุชนรุ่นหลังได้พึงระลึกถึงและตระหนักในเหตุและผลของความเสื่อมที่เกิดขึ้นจากในอดีต เพื่อเป็นบทเรียนในการดำเนินวิถีชีวิตภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ให้เกิดความสอดคล้องและกลมกลืน

b.4

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่บรรพกษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่แสดงออกถึงสำนึกด้วยกตัญญุตาต่อบรรพชนของล้านนาเผยแพร่พระเกียรติคุณของบรรพกษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ผ่านความศรัทธาและพิธีกรรมโบราณ

รวมทั้งส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในประวัติศาสตร์สังคมและการจัดการทางวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่สาธารณชน โดยความร่วมมือของหลายๆ ภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ มณฑลทหารบก ตำรวจจราจร สถาบันการศึกษาอันได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงเรียนต่างๆ ภาคชุมชน ได้แก่วัด ชุมชนจากอำเภอต่างๆ ของ จ.เชียงใหม่ รวมไปถึงภาคเอกชน จึงได้มอบหมายให้คณะวิจิตรศิลป์ มช. โดยบุคลากร ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการจัดงาน“เจ็ดร้อยซาววัสสา น้อมคารวะปูชา ตนเจ้าพญาเมืองพิงค์”ในครั้งนี้ขึ้นb.5โดยรูปแบบการจัดงานนั้นจะประกอบไปด้วยพิธีกรรมแบบโบราณ นับตั้งแต่การจัดขบวนแห่อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป และเครื่องสักการะอันเป็นมงคล โดยใช้ผู้ร่วมขบวนกว่า 200 คน เริ่มเคลื่อนขบวนตั้งแต่เวลา 14.00 น. ณ บริเวณพุทธสถานเชียงใหม่ ขบวนเคลื่อนไปทางข่วงประตูท่าแพเข้าสู่ถ.ราชดำเนิน ไปจนถึงบริเวณสี่แยกกลางเวียง ในเวลาประมาณ 16.00 น. จุดนี้ จะมีการประกอบพิธีทางศาสนาและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
จากนั้นจะเคลื่อนขบวนต่อไปจนถึงบริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และมีขบวนจากชุมชนมาสมทบอีก 100 คน ในเวลาประมาณ 18.00 น. จะมีพิธีถวายเครื่องสักการะมลคล สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป และอนุสาวรีสามกษัตริย์จากนั้นในเวลา 20.00 น. จะเป็นการแสดงแสง สี เสียง อิงประวัติศาสตร์ ชุด “แสงพิสุทธิ์แห่งพิงค์นคร”การแสดงที่สร้างความรู้ ความเข้าใจถึงแนวความคิดและคติความเชื่อความศรัทธาและความกตัญญุตาต่อบรรพชนล้านนา
จึงขอเชิญชวนชาวเชียงใหม่ รวมไปถึงผู้สนใจ และนักท่องเที่ยว ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน “เจ็ดร้อยซาววัสสา น้อมคารวะปูชา ตนเจ้าพญาเมืองพิงค์” ในครั้งนี้ด้วยการแต่งกายพื้นเมือง เพื่อร่วมในขบวนแห่สักการะเมืองเชียงใหม่ และสรงน้ำพระ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในวันที่ 12 เม.ย.นี้ โดยพร้อมเพรียงกัน ต้องการทราบรายละเอียด สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิจิตรศิลป์ มช. โทร. 053-211724หรือที่ www.facebook.com/คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น