สงกรานต์ปลอดภัย สุขใจไม่ดื่มไม่เมา

1.jpgสงกรานต์ปลอดภัย
สุขใจไม่ดื่มไม่เมา
…………………………………
จากข้อมูลศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติทางถนน ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุ3,373 ครั้ง ปี57 มี2,992 ครั้ง เพิ่มขึ้น 381 ครั้ง คิดเป็น 12.73 %
ช่วงสงกรานต์ปี 58 มีผู้เสียชีวิต 364 ราย ปี 57 มี326 ราย คิดเป็น 11.66 %
ผู้บาดเจ็บรวม 3,559 คนปี 57มี3,225 คน เพิ่มขึ้น 334 คน คิดเป็น 10.36 %
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เกิดจากเมาสุรา ร้อยละ 39.31 % ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.35 %

2.jpg
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2558 เชียงใหม่ มีผู้เสียชีวิต 13 เจ็บ 118 ราย ติดอันดับที่5 ของประเทศ
นอกจากนี้พบว่าอำเภอที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 3 ลำดับคือ อ.ฝาง 14 ครั้ง อ.เมืองเชียงใหม่ และ อ.ดอยสะเก็ด 10 ครั้ง อ.สันทราย อ.สันป่าตอง และ อ.แม่ริม ที่ละ 9 ครั้ง
อำเภอที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บสูงสุด 3 ลำดับได้แก่ อ.ฝาง มี 14 คน อ.แม่ริม 10 คน และ อ.เมืองเชียงใหม่ อ.สันทราย และ อ.สารภี มีอำเภอละ 9 คน
ส่วนยอดผู้เสียชีวิต อำเภอที่มี 2 คน ได้แก่ อ.เมืองเชียงใหม่ ดอยสะเก็ด แม่อาย และ อ.สันป่าตอง ส่วน อ.ฝาง สารภี หางดง ดอยหล่อ และ อ.ไชยปราการ อำเภอละ 1 คน
สาเหตุยังคงมาจาก เมาแล้วขับ 34.10% ขับรถเร็วเกินกำหนด 15.03 % และรถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 10.98 ตามลำดับ
รถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.47 รองลงมาคือ รถปิคอัพ

3.jpg
และสถานที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดยังคงเป็นถนนสายรอง ถนนในหมู่บ้านชุมชน ร้อยละ 47.90 รองลงมาเป็นทางหลวง ร้อยละ 44.54
เจ็บ -ตาย เพิ่มกันทุกปี จึงส่งผลให้มีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดกระแส…สูญต้องเป็นศูนย์..สู่.. “++สงกรานต์ปลอดภัย สนุกสุขใจไร้แอลกอฮอล์”++
ที่ผ่านๆมา มีการจัดกิจกรรม “7 วัน 77 จังหวัด สงกรานต์ปลอดภัย” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และภาคีเครือข่าย
จัดกันยิ่งใหญ่ที่เชียงใหม่
แม้รัฐบาลและและหน่วยงานเจ้าภาพ โดยเฉพาะ“สาธารณสุข“จะมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนลด ละเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และดำเนินการกวดขันเข้มงวดการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
ข้อมูลองค์การอนามัยโลกระบุว่า เหล้าและบุหรี่เป็น 2 ใน 4 ตัวการหลัก ที่ทำให้คนไทยมีอายุเฉลี่ยสั้นลง และเป็นสาเหตุของโรคต่างๆกว่า 60 โรค
รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัดล่าสุดของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ยืนยันว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ดวดดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็น 7.1 ลิตรต่อคนต่อปี
เท่ากับการดื่มสุรากลั่นประมาณ 18 กลม หรือเบียร์จำนวน 61 ขวดใหญ่ และ ไวน์ 1 ขวดรวมกัน
ตลอด10 ปีที่ผ่านมาร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นกว่า 1.2 แสนร้าน ทำให้การเข้าถึงการบริโภคได้ง่าย
เครือข่ายองค์กรงดเหล้า  ยืนยันข้อมูลเชิงสถิติว่า กลุ่มวัยรุ่น -วัยทำงานนิยมดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างเล่นน้ำ ทำให้สงกรานต์ในแต่ละปี มียอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

5.jpg
หลายปีที่ผ่านมา “การดื่ม”ได้สร้างความเสื่อมเสียให้ประเพณีอันดีงามของไทยยับเยินกว่าที่คาดคิด
จนส่งผลให้ปีนี้ รุกรณรงค์มาตรการ ไม่เมา ไม่ลวนลาม ไม่อนาจาร ….เข้มข้น
ใช้มาตรการเด็ดขาด ในการจับ ปรับ ยึดรถไว้ตลอดช่วงสงกรานต์ หากเมาแล้วขับ
และหากพบเล่นน้ำด้วยชุดวาบหวิว หรือล่อแหลม ทั้งด้วยการตลาดโปรโมทสินค้า แบบใช้พริตตี้ล่อตา ล่อใจ และ โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์กับข้อห้ามเด็ดขาดในปีนี้
อาจมีสิทธิ์ เข้ารับการอบรม ฟรี ในคอร์สพิเศษ
เพื่อพัฒนานิสัยให้เป็นกุลสตรี..ผู้รักนวลสงวนตัวยิ่งขึ้น 
เผลอๆอาจเข็ดหลาบกันนาน เนื่องจากยืนยันชัดเจนว่า ผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งทุกพื้นที่
ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เกี่ยวกับการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ร้อยละ 87.8% อยากได้พื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์สนุกสนาน ปลอดภัย
ไม่มีคนเมา ไม่มีการลวนลาม อนาจาร ไม่มีความรุนแรงใดๆ
จึงเป็นจุดเริ่มของการจัดโซนนิ่งพื้นที่เล่นสงกรานต์และห้ามนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ทั่วประเทศ ซึ่งภาคเหนือส่วนใหญ่ ร่วมมือกันเป็นอย่างดี

6.jpg
จังหวัด เชียงใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ปลอดเหล้า จนคว้ารางวัลเชิดชูเกียรติแห่งแรกจาก” เครือข่ายองค์กรงดเหล้า”
ผลพวงจากความตื่นตัวของชาวเชียงใหม่และภาคีเครือข่ายต่างๆ ขานรับนโยบายสงกรานต์ปลอดเหล้า ร่วมสร้างประเพณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ สู่ นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม
จัดกิจกรรมสานสามวัยในชุมชน เด็ก เยาวชนและผู้สูงอายุ
ที่น่าสนใจคือการดูแลคนเมาในชุมชน ไม่ให้ออกนอกพื้นที่ชุมชน
มีข้อตกลงร่วมกันในการขอความร่วมมือร้านค้าในพื้นที่งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในช่วงงานประเพณีปีใหม่เมืองเชียงใหม่
ขอความร่วมมือชุมชน งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในขบวนสรงน้ำพระ ขบวนรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งขอความร่วมมือในเรื่องของการแต่งกายไม่สุภาพ เต้นยั่วยุอนาจาร การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม
ให้เป็นช่วง”สงกรานต์เป็นสุข ทุกคนปลอดภัย ร่วมใจรักษาวัฒนธรรม ++ระหว่าง12-15 เมษายน 2559
ถ้าทุกๆภาคส่วน ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ไม่เพียงแค่ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเป้าหมายที่แท้จริงนั้น คือลดความสูญเสีย จากอุบัติเหตุ
และช่วยกันควบคุมน้ำเมาที่กำลังทำลายวัฒนธรรมสงกรานต์ที่ดีงาม ทำลายการท่องเที่ยวไทย ทุกเทศกาล งานประเพณี จะเป็นปรากฎการณ์ที่ดีแน่นอน
สำหรับ++สงกรานต์ ปลอดภัย สนุกสนาน ในการเล่นน้ำ มีความสุขได้ ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องเมา 
มั่นใจว่าท้ายที่สุด  จะคงเป็นช่วงเวลาที่ปลอดภัย ในวันพักผ่อนสบายๆ กับวันเวลาที่เปรียบเสมือนการก้าวสู่สิ่งดีๆในชีวิต ตลอดปีใหม่นี้ และตลอดไปหวังไว้เช่นนั้นครับ

………

ร่วมแสดงความคิดเห็น