ชลประทานปรับระบบ ใช้น้ำรับมือวิกฤติแล้ง

9.jpg
ทองเปลว

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในการดูแลของกรมชลฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ดูแล มี 33 แห่ง ขณะนี้มีปริมาณน้ำใช้การได้ 22% หรือประมาณ 1 หมื่นล้าน ลบ.ม.น้อยกว่าปีที่แล้ว 5 พันล้าน ลบ.ม.ถ้าใช้ตามแผนระบายวันละ 18 ล้าน ลบ.ม.จะไม่มีปัญหามีน้ำใช้ถึง ก.ค.แน่นอน

อย่างไรก็ตามในส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทานน่าเป็นห่วง ซึ่งมีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 27 จังหวัด หากสิ้นเดือน ก.ค.ถ้าไม่พอหาน้ำมาเติม เช่น บึงสีไฟ กว้านพะเยา จำเป็นต้องเร่งระดมหาน้ำบ่อบาดาลมาช่วย ขณะนี้ 152 อำเภอ เป็นพื้นที่เฝ้าระวังใกล้วิฤกติ ทุกสถาบันอุตุนิยมวิทยาทั่วโลกประเมินว่าภาวะฝนทิ้งหรือแอลนิโญ่คลายตัวเดือน พ.ค.เชื่อว่าปลายเดือน พ.ค.ฤดูฝนน่าจะมา ทั้งนี้ รมว.เกษตรฯ ได้สั่งทุกกรมเกี่ยวข้องร่วมกันวางแผน หากมีปริมาณน้ำเขื่อนเหลือ 1.6 พันล้าน ลบ.ม.จะไม่พอแน่ ซึ่งต้องรอกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์อีกครั้งช่วง 30 เม.ย.นี้

ด้านนายระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย กล่าวว่าการประกาศภัยแล้งมีทุกเดือนแม้ในปีปกติ ในพื้นที่แล้งซ้ำซากมีทุกปี ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรปรับตัวมาตลอด ทำนารอบเดียว แล้วมารับจ้างในเมือง ซึ่ง8 มาตรการที่รัฐช่วยเหลือ เช่น ให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย ขุดลอกคูคลอง กระทรวงเกษตรฯก็ทำมาทุกปี ผ่านมากี่ปีก็ทำแบบนี้ เร่งรีบทำแผนมาตลอด เกิดปัญหาความต้องการในพื้นที่ไม่เคยตรงกับแผน จริงๆเพราะไม่เคยทำแผนล่วงหน้าไว้

แม้กระทั่งแผนจัด ตั้งศูนย์เรียนรู้ เปิดทั่วประเทศ จนหาวิทยากรไม่ได้แล้วตอนนี้ ทุกกระทรวงก็ทำศูนย์เรียนรู้เหมือนกันหมด ให้ชาวนาให้เกษตรกรไปเรียนได้ค่าจ้างเรียนวันละ200 บาท สุดท้ายคือรัฐบาลต้องการแจกเงิน ต้องทำความเข้าใจกับประชาคมในทุกชุมชนอย่างแม้จริง อย่าไปพึ่งกระบวนการคนของรัฐฯด้านเดียว

ร่วมแสดงความคิดเห็น