ปัญหา”หมอกควัน…ที่ภาคเหนือ”ขาดความร่วมมือก็เป็น”ปัญหา”แบบนี้

111.jpgจากรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ของสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ในช่วง 11.00 น.วันที่ 19 เมษายน 2559 สถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่ภาคเหนือ คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ

99.jpg
หมอกควันสุมเชียงใหม่..(อีกแล้วครับท่าน)

สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 58 – 306 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (g/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ น่าน, ต.เวียง อ.เมือง พะเยา, ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง, ต.เวียง อ.เมือง เชียงราย, ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย เชียงราย,ต.ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่, ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่, ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่, ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ก๊าซโอโซน (O3) ตรวจพบค่าระหว่าง 70 – 112 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) เกินมาตรฐานที่บริเวณต.บ้านดง อ.แม่เมาะ ลำปาง, ต.ในเมือง อ.เมือง ลำพูน, ต.ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่

รายงานสถานการณ์แบบเรียลไทม์ ยังระบุว่าที่เชียงราย ต.เวียง อ.เมือง( 19 เม.ย. 2559 11:00 น.) ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงถึง 306 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

222.jpg
เชียงใหม่…มุมสูง

ส่วนที่ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก 284 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับเชียงใหม่ บริเวณ ต.ช้างเผือก อ.เมือง ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก159 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีผลกระทบต่อสุขภาพ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง 172ต.สุเทพ อ.เมือง123 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม 199 ตัวเลขที่ระบุคือค่าฝุ่นขนาดเล็ก ในวันและเวลาเดียวกัน( 19 เม.ย. 2559 11:00 น.)

เกือบทุกพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ไม่ว่าจะเป็นที่ น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ ลำพูน ลำปาง และตาก คุณภาพอากาศปานกลางถึงมีผลต่อสุขภาพ

58.jpg
มงคล สุกใส รองผู้ว่าฯเชียงใหม่

สืบเนื่องจาก ปัญหาหมอกควันไฟที่สุมเมือง เกิดขึ้นจากการเผา เพื่อเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร เป็นชนวนเหตุสำคัญ

5.jpg
ช่วงเวลาห้ามเผา
6.jpg
เผามีโทษจับปรับหนัก

ภาวะหมอกควัน สุมเชียงใหม่ ในช่วง 2-3 วันหลังเทศกาลสงกรานต์นั้น มีคำชี้แจงจาก” นายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ “ว่าเบื้องต้นคณะทำงานของศูนย์ อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2559วิเคราะห์สาเหตุการเกิดหมอกควันไฟฯ คือ การสิ้นสุดระยะเวลาควบคุมการเผา ในแต่ละพื้นที่

โดยระยะเวลา 60 วันห้ามเผานั้น ส่วนใหญ่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา จึงทำให้ท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ ผ่อนผัน ให้จัดการกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งวิธีการเผา เป็นวิธีที่ง่ายและนิยมทำกันก็เลยเกิดปัญหาควันสุมเมือง

20.jpg
สถานการณ์หมอกควัน..หลังเทศกาลสงกรานต์

บางพื้นที่มีปริมาณตกค้างมากๆ เมื่อเผารวมกัน ควันไฟก็กระจายตัว ไม่ใช่แค่ที่อำเภอแม่แจ่ม เมื่อสภาพอากาศเป็นแบบนี้ก็กำชับให้ทุกอำเภอ ทั้ง215 อำเภอ ระมัดระวังการเผา ซึ่งจะอนุโลมผ่อนผันให้เฉพาะพื้นที่การเกษตรเท่านั้น ส่วนพื้นที่ป่าทั้งป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ ยังคงห้ามเผาอยู่เช่นเดิม

ล่าสุดได้ประสานงาน สั่งการไปยังองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้ง 211 แห่งของเชียงใหม่ ให้จัดหารถบรรทุกน้ำออกฉีดพ่นรดตามต้นไม้ในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ จัดการกิ่งไม้ ใบไม้ หญ้าแห้งที่เสี่ยงต่อการเป็นเชื้อไฟ ถ้าสามารถรวบรวมเพื่อทำปุ๋ยได้ก็รอจังหวะดำเนินการไปตามเหมาะสม เน้นไม่ให้มีการเผา กำจัดในระยะนี้

4.jpg
ดร.วิจารณ์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

นายวิจารณ์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า รายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานของปัญหาหมอกควันในภาคเหนือนั้น ต้นตอแหล่งกำเนิดปัญหาหมอกควัน จะมาจากหลายแหล่ง  ทั้งการเผาในพื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เกิดจากคนเราทั้งโดยตั้งใจและพลั้งเผลอทำให้เกิดการลุกลามขยายพื้นที่เป็นวงกว้าง

3.jpg
การเผาในพื้นที่ป่าฯ เป็นภาระเจ้าหน้าที่ในการดับไฟ..ทุกๆปี

2.jpg10.jpgอีกด้านก็มาจากการจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ความคุ้นชินกับวิธีการเผาเพื่อกำจัดวัชพืช วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ประการต่อมาคือ ฝุ่นละอองจากพื้นที่เมือง การจราจร การก่อสร้าง การเผาขยะมูลฝอยชุมชน เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีการควบคุมอยู่แล้ว

77.jpg
การเพาะบ่ม ให้ความรู้ สำคัญ

ที่สำคัญคือปัจจัยคือ หมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งค่าฝุ่นละอองของจังหวัดที่ใกล้ชายแดน ไม่ว่าจะเชียงราย  แม่ฮ่องสอน  เชียงใหม่  น่าน มีค่าฝุ่นละอองสูง ก็เพราะต้นตอจากส่วนนี้มีควันลอยข้ามแดนเข้ามา
การประสานงานระหว่างประเทศก็ดำเนินการตามขั้นตอนอยู่แล้ว เมื่อเร็วๆนี้กรมควบคุมมลพิษ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการอบรมและศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมไทย-สิงคโปร์
หลักการสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม จะมีอยู่ 5 ส่วนดังนี้คือ 1.การวางและป้องกันปัญหามลพิษ 2.การออกกฎหมายหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 3.การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด 4.การตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ5.การให้ความรู้และการสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน

ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) 9 จังหวัดภาคเหนือ คุณภาพอากาศโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพต้องขอให้ทุกจังหวัดระดมสรรพกำลังเฝ้าระวังและดับไฟอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีจุดความร้อนกระจายอยู่หลายจังหวัด รวมถึงชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงสถานการณ์และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งขอความร่วมมือ….งดการเผาป่าและเศษวัสดุการเกษตรอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง

ในการประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการเตรียมพร้อมรับมือหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมีพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานการประชุม โดยมีผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รองแม่ทัพภาคที่ 3 ผู้แทนหน่วยงานทั้งจากส่วนกลาง และ 9 จังหวัดภาคเหนือ เข้าร่วมหารือ

15.jpg
ประชุมติดตามผลดำเนินงานจัดการ หมอกควันภาคเหนือที่เชียงใหม่ (เมื่อ 8 เมษายน 59)

ที่ประชุมสรุปแนวทางหลักๆว่า ต้องขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาป่าและเศษวัสดุการเกษตรอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ หรือจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ รวมทั้งขอความร่วมมือ ช่วยสอดส่องและแจ้งเหตุไฟไหม้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเข้าไปดับไฟได้ก่อนที่จะลุกลามเป็นวงกว้างและยากที่จะควบคุม

ในส่วนของปัญหาหมอกควันข้ามแดน ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดผลักดันให้โรดแมป”อาเซียนปลอดหมอกควัน “ได้รับความเห็นชอบและนำไปสู่การปฏิบัติโดยเร็ว

หน่วยงานที่ร่วมอำนวยการเชิงปฏิบัติการ ยืนยันว่า สถานการณ์ความรุนแรงของ ปัญหาหมอกควันไฟป่าภาคเหนือ เมื่อเปรียบเทียบปีนี้กับปีที่ผ่านมา ถือว่า ลดลงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับภาวะอากาศที่หมอกควันไฟ สุมเมือง ปะทุขึ้นอีก สืบเนื่องมาจาก สาเหตุหลักคือการเผา กำจัดวัสดุทางการเกษตร ในพื้นที่ควบคุม ที่มีการผ่อนผัน อนุโลมให้เผากำจัด   ประกอบกับหมอกควันข้ามแดนเข้ามาผสมโรง จึงทำให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มสูง จนสภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ

เมื่อรู้ต้นตอ ปัญหา.. ถ้าไม่ใช้ปัญญา…. จัดการ….อย่างยั่งยืน

ปมปัญหา…ก็จะวนเวียนเกิดขึ้น…..ซ้ำๆ….ซากๆ..เช่นนี้
12419141_914504832001378_4896110566715255766_o12719473_914504785334716_3613746120088237122_oส่งเสริมปลูกข้าวโพด…กระจายทั่วเขตเหนือตอนบน..ล้วนเป็นผลมาจาก การขาดสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ข้อแนะนำในการจัดการ วัสดุทางการเกษตร การลดพื้นที่ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะข้าวโพด ที่ทำให้ชาวบ้าน แผ้วถางป่า เหี้ยนเตียนโล่งเป็นดอยๆ เห็นเด่นชัดทั้งที่น่าน ที่แม่แจ่ม เชียงใหม่

ทั้งนี้เชียงใหม่มีพื้นที่ประมาณ 13,809,710 ไร่ จำนวนพื้นที่ซึ่งเกิดไฟไหม้แต่ละปี ราวๆ 2 ล้านไร่ แค่ปี 2553มีกว่า 2,962,329 ไร่ (ข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ)

10931448_1393293427640882_825107997921088798_nปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมไฟป่าโดยตรง ในทางปฏิบัติจึงต้องอาศัยพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับป่าไม้ 4 ฉบับ ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามจุดไฟเผาป่า และมีบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมี พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่ชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ค่าหมอกควันกว่า ร้อยละ 70 ล้วนเกิดขึ้นการเผาพื้นที่การปลูกข้าวโพด เฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวโพดในภาคเหนือมีกว่า 5 ล้านไร่ กระจัดกระจายในพื้นที่ตาก น่าน เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด มักจะนิยมทำการเผาเพื่อทำลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้

แม้จะมีโมเดลนำร่องในพื้นที่แม่แจ่ม เชียงใหม่ ในการจัดการปัญหาเศษซาก วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นำเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ทำปุ๋ย ซึ่งสถาบันการศึกษาชั้นนำในภาคเหนือ ทั้งม.แม่โจ้,ม.เชียงใหม่, และหลายๆมหาวิทยาลัย เข้าไปศึกษา วิจัย จนกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบ..ดำเนินการหลายโครงการในขณะนี้

สถานการณ์ “หมอกควันไฟ”ในภาคเหนือ ที่ชี้ชัดว่า เกิดจาก น้ำมือมนุษย์…..เผาๆ…ตามวิถีชีวิต วิถีชุมชน

และคนเหล่านั้นต่างเฝ้ามอง การบริหารจัดการ แก้ไข ปัญหา จากหน่วยงานราชการ ที่ยึดโยงหลัก..”การมีส่วนร่วม”..และคนอยู่กับป่า..พึ่งพา เกื้อกูลกัน

แต่ตราบใด ที่ กลุ่มทุน…ยังมุ่งส่งเสริม แสวงหาประโยชน์ ในแนวทาง เกษตรพันธะสัญญา ที่มีรายได้ ค่าตอบแทน เป็นสิ่งล่อหลอกให้ชาวบ้าน ..เกษตรกร…..ก้าวกระโจนสู่ พืชเศรษฐกิจ
12888654_914504808668047_2638944053142544880_o12671764_1035505076525347_8072011485733170153_o

12898231_914504745334720_6138918513218646934_o
พื้นที่ดอย..โล่งเตียนเป็นวงกว้าง… (ขอบคุณภาพ : จากหน่วยจัดการป่าฯ ภาคเหนือ)

ปัญหา สังคม ที่เห็นและเป็นอยู่ ก็จะยังคงปรากฎ วนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในทุกๆปี
ปัญหานี้ มีทางออก ด้วย ปัญญา…อย่างไร..โปรด.ติดตาม

ขอบคุณ: ทีมพุธโธ่ CMN – สนับสนุนข้อมูล : ภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น