มุมที่”สวนทาง-แตกต่างกัน” ในการแก้ปัญหาหมอกควัน

               93.jpg                           ปมปัญหา”หมอกควันภาคเหนือ” ยังคงอยู่ในกระแส..สังคม…เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนในพื้นที่ “หมอกควันสุมเมือง” พาเหรดเข้ารับการรักษาพยาบาล เนื่องจากสุขภาพย่ำแย่
 จากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่สุมเมือง ราวกับเมืองในม่านหมอก
                   ปกติค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก (pm10) ไม่ควรเกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
คุณภาพอากาศจากการตรวจวัดในพื้นที่บริเวณ ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ ช่วงเดือนมกราคม อยู่ที่ 92ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ช่วงกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 125 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ถ้าหากเปรียบเทียบค่าตรวจวัดปีที่ผ่านมาจะพบว่า ช่วงมกราคมอยู่ที่ 83ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 109ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
และเดือนมีนาคม พุ่งมาอยู่ที่ 296ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เดือนเมษายน อยู่ที่ 115 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากนั้นก็ลดลงมาอยู่ในระดับปกติ
สำหรับบริเวณพื้นที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่ บริเวณศาลากลางจังหวัด ค่าตรวจวัดช่วงเดือนมกราคม อยู่ที่ 71ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ช่วงกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 98ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ช่วงมกราคม อยู่ที่ 72ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่91ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พอเดือนมีนาคม พุ่งสูงถึง 258 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เดือนเมษายนอยู่ที่ 129ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากนั้นลดต่ำลงในระดับปกติไม่เกินค่ามาตรฐาน 120ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหรือไมครอน
10.jpg           ทั้งนี้การตรวจวัดในพื้นที่เชียงใหม่จะมีอยู่ 2 จุดหลักๆคือที่ศาลากลาง (พิกัดสถานี 35 T ) และที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (พิกัดสถานี 36 T )
ทั่วเขตเหนือตอนบน ที่เชียงราย ตั้งอยู่ที่ ทสจ.เชียงราย และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย ,จังหวัดน่านอยู่ที่ สำนักงานเทศบาลเมืองน่าน และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ที่ลำปางจะมี 4 จุดประกอบด้วย สถานีอุตุนิยมวิทยาลำปาง,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบป้าด,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าสีและสำนักการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ ซึ่งลำปางอาจจะมีจุดตรวจวัดค่อนข้างมากกว่าจังหวัดอื่นในภาคเหนือตอนบนเพราะมีโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินลิกไนต์ในพื้นที่
ส่วนที่นครลำพูนตั้งอยู่ที่ สนามกีฬา อบจ.
ข้อมูลตรวจคุณภาพอากาศ วัดจากสถานีตรวจวัด คุณภาพอากาศถาวรอัตโนมัติ ของกรมควบคุมมลพิษ รวม 65 สถานี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ สารมลพิษทางอากาศเหล่านี้ได้แก่
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
– ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
– ก๊าซโอโซน (O3)
– ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
– ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการติดตามตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ อากาศอย่างใส่ใจ ใกล้ชิดของหน่วยงานราชการ
12039643_997426680309781_5591866581417513739_n0...กรมควบคุมมลพิษรายงานภาวะอากาศให้ระดับนโยบายรับทราบ
12643004_1064695750249540_3573685779661153409_n0…ระดับนโยบายติดตาม ตรวจเยี่ยมชุดปฏิบัติการในพื้นที่แม่ฮ่องสอน
สำนักจัดการคุณภาพอาการและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่ภาคเหนือ
ประจำวันพุธที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 07.00 น.นี้ว่า
คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 58 – 199 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณต.เวียง อ.เมือง เชียงราย, ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย เชียงราย, ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่, ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่, ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่มจ.เชียงใหม่
ก๊าซโอโซน (O3) ตรวจพบค่าระหว่าง 67 – 103 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) เกินมาตรฐานที่บริเวณต.นาจักร อ.เมือง แพร่
      จากการที่พายุฝนกระหน่ำในหลายพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเมื่อช่วงค่ำวานนี้ (19 เมษายน 2559 ) ส่งผลกระทบให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเจือจางลงไปบ้าง
ที่ ต.เวียง เชียงราย ค่าตรวจวัดอยู่ที่ 153 ไมครอน ที่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย ค่าตรวจวัดอยู่ที่ 146 ไมครอน ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ เป็นอีกพื้นที่ ซึ่งประชาชนเดือดร้อนจากผลกระทบของปัญหาหมอกควันที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กพุ่งสูงถึง306 ติดๆกันหลายวันหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ จนทำให้เกิดกระแส Pray For Maesai มีการใช้ผ้าคาดจมูก บันทึกภาพส่งต่อกันในสังคมโซเชี่ยล จนกลายเป็นกระแสในขณะนี้
 สำหรับที่เชียงใหม่นั้น ค่าตรวจวัดที่ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง อยู่ที่ 146 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าตรวจวัดที่ ต.สุเทพ และ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม ยังอยู่ที่ 123 และ 199 ตามลำดับ ยังเป็นผลตรวจวัดเมื่อเวลา 09.00 น.ของวันที่ 19 เมษายน เนื่องจากมีการซ่อมบำรุงอุปกรณ์บางอย่างในสถานีตรวจวัด คาดว่าวันนี้(20 เมษาฯ ) จะใช้การได้ตามปกติ
12823244_963086710441383_5187931897507240590_o0…ปกติก็ซ่อมบำรุงมาตลอด
สภาพอากาศม่านหมอกมัวปกคลุมเมือง เชียงใหม่ เริ่มบางเบา ด้วยผลกระทบจากพายุฝนลูกเห็บกระหน่ำในค่ำวานนี้ และพื้นที่น่าน ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา ตาก ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 58-103 ไมครอน ถือว่าเป็นเกณฑ์ปกติไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
320810_336862793084179_2108084463_n428496_336862686417523_1347415580_n0..ค่ำวานนี้พายุฝน..ลูกเห็บตกในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้หมอกควันเบาบางลง
ปัญหาหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ต้นตอสำคัญๆหลักคือเกิดจากการเผา ในพื้นที่ภาคการเกษตร จากการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว นั่นคือ ข้าวโพด
และผลกระทบที่ติดตามมา มีทั้งด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม ด้านการท่องเที่ยว ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคมมายาวนาน
วันนี้สังคมไม่ต้องตั้งคำถาม สาเหตุ ต้นตอของปัญหากันแล้ว แต่ต้อง”ร่วมมือ ร่วมใจกัน”บริหารจัดการจุด………ที่ทำให้เกิดปัญหา “หมอกควัน ในภาคเหนือ”
เพราะลองย้อนสถิติ ข้อมูล การเกิดปัญหาสะสมของค่าแค่ช่วง 1 มกราคม -30 เมษายน ในปี 56-57-58 แค่ปี 56 ปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงสุดที่เชียงราย อยู่ที่ 308 ไมครอน เชียงใหม่อยู่ที่ 229 ไมครอน
ค่าเฉลี่ยทั้ง 9 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย เชียงราย ,เชียงใหม่ ,ลำพูน, ลำปาง, แพร่, น่าน , พะเยา, แม่ฮ่องสอน และตาก จะอยู่ที่ 432 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พอปี 57 อยู่ที่ 318 และปี 58 อยู่ที่ 306 จำนวนวันที่เกินมาตรฐานเฉลี่ย 47-50 วัน
10683711_1075186552533793_5810725846479406738_o                            หากสำรวจตรวจสอบจำนวนครั้งของการเกิดไฟป่า แค่ปี 57 อยู่ที่ 2,816 ครั้งในภาคเหนือ พื้นที่ถูกไฟไหม้ 26,016.8 ไร่ ในปี 57 ตรวจพบจุดความร้อน( Hot spot ) 5,208 ครั้ง ปีที่ผ่านมาก็ใกล้เคียงกัน
สรุปว่า ยิ่งพยายามบริหารจัดการตามแผน ตามยุทธศาสตร์ ข้อมูลการเกิดไฟป่า ไฟไหม้ ยิ่งเพิ่ม รวมถึงจุดความร้อนด้วย
เป็นปมปัญหาที่ “คณะทำงานระดับนโยบายฯ..ที่ดูแลรับผิดชอบ…ปัญหา..วาระแห่งชาติ “….เรื่อง หมอกควันภาคเหนือ….หารือ ถกกันเครียดในการประชุมทุกครั้งๆ รวมทั้งครั้งล่าสุด ครั้งที่ 2/2559ที่เชียงใหม่ เมื่อ 8 เมษายน 2559
ประเด็นที่สังคม หยิบยกมานำเสนอคือ “ความพยายามดำเนินการแก้ปัญหา ที่ผ่านผลงานเชิงประจักษ์ เป็นสิ่งพิสูจน์ว่า บรรลุเป้าหมายหรือไม่”
10683711_1075186552533793_5810725846479406738_o                                เหตุใดการเผา พื้นที่ทางการเกษตร จึงยังคงอยู่และเพิ่มสูง
ส่วนหนึ่งมีปัจจัยหนุนนำมาจากการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ”ข้าวโพด”….อาหารสัตว์
เป็นปมเหตุสำคัญของ การรุกไล่แผ้วถาง เผาพื้นที่เพาะปลูก จนเตียนโล่งสุดสายตา ในหลายๆจังหวัด ไม่ว่าจะที่น่าน ,เชียงใหม่ ,ตาก ,แม่ฮ่องสอน, เชียงราย
 มุมมองที่ แตกต่างกัน ในการจัดการปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ระหว่าง หน่วยงานราชการ กับภาคประชาสังคม
                              ตอกย้ำว่า “แนวร่วม…ความร่วมมือ”….คิดสวนทางกัน
ภาคประชาสังคม ประสงค์ให้หยุดยั้ง สกัดกั้น การรุกส่งเสริมการเพาะปลูกพืช…..ที่เป็นจุดสร้างรายได้สู่ชาวบ้าน
ภาครัฐฯ…เล็งไปที่ การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในกระบวนการ สร้างงาน สร้างอาชีพ บนวิถีทาง”เกษตรสีเขียว” ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม12670253_1064695683582880_5442149355312761075_n
ไม่มีฝ่ายใด… ผิด…. หรือถูก
เพียงแต่ คิดจะทำ… วางแผนดำเนินการอะไร….ถามฝ่าย..ชาวบ้านหรือยังว่า….ถ้าไม่ปลูกพืชไร่… ข้าวโพด แล้วจะให้ไปทำ..มาหากินอะไรกัน
ขอบคุณ : ทีมพุทโธ่CMN : สนับสนุนข้อมุล-ภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น