ม.แม่โจ้เจ๋งสร้างโรงสีข้าวแบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 22 เมษายน 2559 ที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ นายอลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อม อาจารย์รชฏ เชื้อวิโรจน์ รองอธิบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ ม.แม่โจ้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.แม่โจ้ พร้อมนายสมศักดิ์ ถนอมวรสิน ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ในฐานะนายก กิติมศักดิ์สมาคมเครื่องจักรกลไทย ร่วมกันเปิดโรงสีข้าวแบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

84786 นายอลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าถึงแม้ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเปิดตลาดเสรีทางการค้า แต่ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารโดยเฉพาะสินค้าข้าวซึ่งเป็นอาหารจานหลักของคนในประเทศ ทำให้นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีในการสนับสนุนประเด็นของการพึ่งพาตนเอง ( Self Sufficiency) ยังคงความสำคัญกับสภาพวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยในภูมิภาคต่างๆ จึงได้เกิดการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบในกระบวนการสีข้าวแบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดโดยนำมาใช้ในการสีข้าวเพื่อผลิตข้าวได้อย่างมีคุณภาพ เกษตรกรสามารถพึงพาตนเองทั้งยังเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของชุมชนได้มากยิ่งขึ้น

84793

ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี สมาคมเครื่องจักรกลไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด ที่เห็นถึงประโยชน์จากการใช้พลังงานทดแทนต่อกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นแนวทางที่ทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับขุมพลังงานสามารถนำมาใช้งานได้อย่างไม่จำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคทางการเกษตรของประเทศ

84787โรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรขนาดชุมชน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกิโลวัตต์ 8 กิโลวัตต์ (kW) กำลังผลิต 20 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถทำงานได้วันละ 5 ชั่วโมง ประกอบด้วยโรงสีข้าว เครื่องสูบน้ำ โดยมอบข้าว ไซโลเก็บข้าว และเครื่องบรรจุข้าวใส่ถุงพลังงานแสงอาทิตย์ เกษตรกรสามารถตาก สี และบรรจุข้าวในถุงที่สวยงามแบบเบ็ตเสร็จ พร้อมที่จะนำผลผลิตออกจำหน่ายหรือบริโภคในครัวเรือนได้ทันที ได้คิดค้นมานาน1 ปีแล้ว จนประสบความสำเร็จพร้อมนำข้าวออกจำหน่ายได้แล้วด้วย

84789ทั้งนี้ยังมีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในราคาชุดละประมาณ 933,000 บาท ซึ่งไม่รวมค่าโรงเรือนและที่ดิน หรือเฉพาะโดยมอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ราคาประมาณ 195,000 บาท ซึ่งหากหน่วยงานหรือเกษตรกรชุมชนใดสนใจสามารถเข้าชมเครื่องต้นแบบได้ที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ หรือสอบถามที่สายตรง 1313 ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น