เทศบาลนครฯเร่งจัดการ ปัญหาสาหร่ายในคูเมือง

1.jpgนายชาตรี เชื้อมโนชาญ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวในระหว่างนำเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ ส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ ออกปฎิบัติงาน ดูดตะกอนสาหร่ายสีเขียว บริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ใกล้แจ๊งกะต๊ำว่า ปรากฎการณ์น้ำในคูเมืองเป็นสาหร่ายสีเขียว และมีการนำเสนอในสังคมโซเชี่ยล จนอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ดีงามของบ้านเมืองได้นั้น

คณะผู้บริหารเทศบาลนครเชียงใหม่ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเฉพาะนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีฯได้มอบหมายให้ติดตามกรณีนี้อย่างใกล้ชิด ให้ประสานความร่วมมือกับชลประทานเชียงใหม่,สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ ตลอดจนคณะทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตรวจสอบ วัดค่าน้ำในคูเมืองทั้งก่อนสงกรานต์ ช่วงสงกรานต์ และหลังสงกรานต์อย่างต่อเนื่อง

3.jpg
งานบำรุงรักษาและซ่อมแซม ฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ ส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ ออกปฎิบัติงาน ดูดตะกอนสาหร่ายสีเขียว บริเวณคูเมืองเชียงใหม่

จริงๆแล้วน้ำที่มีลักษณะเขียวขุ่นสาเหตุหลักเกิดจากสาหร่ายสีเขียว คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่าสาหร่ายเป็นโพรทิตส์ที่มีลักษณะคล้ายพืชขนาดเล็กไม่ใช่แบคทีเรีย สามารถสังเคราะห์แสงได้ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชสร้างคาร์โบไฮเดรตโดยรวมกันกับคาร์บอนไดออคไซต์และน้ำเมื่อมีแสงและคลอโรฟิลล์ ก็จะเกิดสาหร่ายเป็นจำนวนมาก จะเกิดขึ้นได้ง่ายในวันที่มีอากาศร้อนและจะเพิ่มมากขึ้นถ้ามีฟอสเฟตอยู่ในน้ำ ซึ่งฟอสเฟตจะถูกนำเข้ามาจากขี้เถ้าของการเผา,มลพิษทางอากาศและหมอกควัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากทราบข้อเท็จจริงตามกลไกธรรมชาติ

7.jpg
งานสะอาด แขวงนครพิงค์ เทศบาลนครเชียงใหม่ เก็บกวาดเศษขยะเศษใบไม้บนกำแพงเมืองแจ่งศรีภูมิและสนามหญ้ารอบคูเมือง และตักเศษขยะในคูเมือง เพื่อนำเศษใบไม้ไปทำปุ๋ยอินทรีย์ ป้องกันการเผา ป้องกันปัญหาหมอกควันอีกด้วย

รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่าช่วงนี้อากาศร้อนจัด ยาวนาน แสงแดดจ้า ประกอบกับเชียงใหม่มีภาวะหมอกควันด้วย ประกอบกับช่วงสงกรานต์ เป็นช่วงที่แล้งจัด ทุกภาคส่วนต้องขานรับนโยบายประหยัดน้ำ การจะปล่อยน้ำออกจากคูเมือง แล้วให้ชลประทานเติมน้ำไล่น้ำเดิมออกไป ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมนัก แม้ภาคการท่องเที่ยวจะสำคัญ แต่ภาคการเกษตร ความจำเป็นด้านน้ำเพื่อกิจกรรมประจำวันก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน จึงใช้กระบวนการเติมคลอรีน

 

2.jpg
ณัฐฐ์ชูเดช วิริยะดิลกธรรม รองนายกเทศมนตรี ลงเรือร่วมกับทีมงานจัดการสาหร่ายเขียวในคูเมืองบริเวณแจ่งกะต๊ำ
6.jpg
สองแรง สองรองฯ..แข็งขัน

9.jpg เมื่อระดับความเข้มข้นของคลอรีนอิสระที่คงไว้ตามค่ามาตรฐานไม่ส่งผลกระทบต่อการเล่นน้ำในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา และการรักษาค่าPH ความเป็นกรดด่างของน่้ำ สิ่งที่น่าสนใจในปรากฏการณ์การเพิ่มค่า pH อย่างกระทันหันจากการขยายตัวของสาหร่ายคือการที่คลอรีนรวมกลายเป็นด่างด้วยตัวเองซึ่งมีส่วนทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้น เกิดภาวะสาหร่ายสีเขียว ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่มีกลิ่นเหม็น จะเห็นได้จากสัตว์น้ำในคูเมืองก็ยังปกติ แต่ความเขียวเข้มข้น อาจแลดูไม่ดีนัก เหมือนจอก แหน ลอยเกลื่อนเต็มแผ่นน้ำก็ต้องจัดการชะล้างออกไป
ผู้สิ่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนักวิชาการที่ศึกษาสาหร่ายในประเทศไทย ระบุว่า มีผลศึกษาของดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ และคณะ ได้ศึกษาความเป็นพิษของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกุมภาพันธ์2539 – เมษายน 2540 พบว่าแหล่งน้ำในประเทศไทยจำนวน 5 แหล่ง หนึ่งในนั้นคือเขื่อนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีความเป็นไปได้ว่า สภาวะน้ำในเชียงใหม่ เกือบทุกแหล่งมีระบบกายภาคที่เอื้อต่อการเกิดสาหร่ายสีเขียวได้

8.jpg
เปรียบเทียบน้ำในคูเมืองระหว่างจุดที่แดดจัดกับจุดที่มีร่มเงา จะแตกต่างกัน สาหร่ายต้องการแสงแดดจัดๆ อากาศร้อน มลพิษสุมพื้นที่ เพื่อเป็นปัจจัยแพร่ขยายในแหล่งน้ำ

สำหรับรายงานการเป็นพิษส่วนใหญ่แล้วจะพบในสัตว์เลี้ยงที่บริโภคน้ำเข้าไป หรือในสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำดังกล่าว ซึ่งค่าความเจือปนสารพิษ ไม่ถึงกับต้องตระหนก แต่ควรที่จะตระหนักว่า ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนในสังคมบ้านเรา ต้องดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ทั้งอากาศ น้ำ ดิน หรือความเป็นไปของเมือง การนำเสนอปัญหา ควรคำนึงถึงผลกระทบ น่าจะหารือในระดับพื้นที่ หาทางแก้ไข อย่าให้เกิดกระแส แบ่งปันข้อมูลจนเกินเหตุ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นเชียงใหม่จะได้รับผลตรงนี้ ไม่ว่าจะกลุ่มเครือข่าย องค์กรใด ที่รักบ้านรักเมือง ต้องเข้าพบ ประสานหารือ หาทางออกของปัญหา ไม่ใช่กระหน่ำปัญหา จนเป็นข่าวใหญ่โตเช่นกรณีสาหร่ายเขียวในคูเมือง

ชาตรี เชื้อมโนชาญ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ ทีมข่าว”เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์” ติดตามได้ในยูทูป

ร่วมแสดงความคิดเห็น