ยันแนวโน้มน้ำในเชียงใหม่ ลดต่อเนื่อง…ต้องประหยัดน้ำ

10.jpgนายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ แจ้งในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการเชียงใหม่ ว่า เชียงใหม่ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จังหวัดเชียงใหม่ รวม 13 อำเภอ 314 หมู่บ้าน 38 ตำบล ราษฎรได้รับผลกระทบ40,676 ครัวเรือน 117,053 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 44,662.75 ไร่ ปศุสัตว์ 2,190 ตัวประมง72 กระชัง บ่อน้ำ15 บ่อ และเหมืองฝายอีก 4 แห่ง

นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่
นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่

สำหรับสถานการณ์น้ำจังหวัดเชียงใหม่ นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ รายงานว่าเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้น ทำให้น้ำในเขื่อนลดน้อยลง สถานการณ์น้ำไหลมาจากอำเภอเชียงดาวมีประมาณ70,000 ลบ.ม./วัน แนวโน้มน่าจะลดลงเรื่อยๆ ในส่วนของสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ จำนวน 115 แห่งทั่วจังหวัดเชียงใหม่ มีน้ำรวมร้อยละ 20 ของความจุ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 12 แห่ง มีน้ำรวมร้อยละ 11ของความจุ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีน้ำรวมร้อยละ 16 ของความจุ

ลำน้ำแม่แตงในวันนี้เหลือเพียง100,000 ลบ.ม.ปริมาณน้ำในลำปิงยังเพียงพอสำหรับการทำน้ำประปา และได้มีการประชุมร่วมกันเรื่องที่จะนำน้ำเข้ามาในคูเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผู้ใช้น้ำในเขตอำเภอแม่แตง ได้รับทราบและอนุมัติให้โครงการชลประทานเชียงใหม่ดำเนินการได้ ทำไปแล้ว 2 รอบ รวมน้ำจำนวน 50,000 ลบ.ม. และเข้าไปตรวจสอบพบว่ามีการลักลอบทิ้งน้ำเสียเข้ามาทางน้ำชลประทานบริเวณด้านหน้าโรงแรมไอบิส ซึ่งทราบแหล่งที่มาของน้ำเสียแล้ว จึงได้ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรช้างเผือกไว้เป็นหลักฐาน และมีการแก้ไขปัญหาโดยการนำน้ำดีไล่น้ำเสียออก เมื่อ 28 มีนาคม ที่ผ่านมาและทำการตรวจวัดน้ำเสียที่บริเวณประตูท่าแพปรากฏว่าน้ำเสียมาก ไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2559 ลำน้ำแตงมีน้ำประมาณ350,000 ลบ.ม. ในวันนี้เหลือเพียง 120,000 ลบ.ม. จึงขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำ

3.jpg
เขื่อนแม่งัด-แม่กวง แม้จะเคยประสบภัยแล้งที่ผ่านๆมาก็ยังไม่เหลือต้นทุนน้ำน้อยสุดๆเช่นในปีนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
11.jpg
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
9.jpg
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
12.jpg
เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

ด้านนายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวในที่ประชุมฯว่าได้รับการประสานงานจากนายอำเภอเชียงดาวและนายอำเภอในพื้นที่ซึ่งเป็นต้นน้ำ เรื่อง ขอความร่วมมืออย่าทำฝายกั้นน้ำสูงเกินไป เพราะจะเป็นการขัดขวางระบบน้ำทั้งหมด น้ำได้ใช้เพื่อการเกษตรเพียงอย่างเดียว การหาน้ำเพื่อการเกษตรคือแสวงหาน้ำในภูมิประเทศในแต่ละอำเภอจึงขอให้นายอำเภอเข้าใจเป็นหลักการก่อน น้ำเพื่อการเกษตรห้ามใช้น้ำปิง เพราะเป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เรื่องน้ำเป็นเรื่องที่สำคัญ ทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ต้องช่วยกันบริหารจัดการน้ำ เพราะถึงแม้จะมีพายุฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ ก็เป็นการตกที่ไม่ได้เพิ่มจำนวนน้ำในการกักเก็บตามแหล่งกักเก็บต่างๆที่มีอยู่ทั้งอ่างเก็บน้ำ เขื่อน แต่ก็ยังดีที่ช่วยลดหมอกควัน เพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ฝนตก สิ่งที่ควรระวังคือ ความเสียหายจากพายุฝน ลูกเห็บ ลมกรรโชกแรงเท่านั้น

5.jpg
นายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
2.jpg
แนะนำอำเภอในพื้นที่ต้นน้ำ..ศึกษาวิธีการทำฝายชลอความชุ่มชื้นอย่างเข้าใจสภาพพื้นที่ ไม่ให่้เกิดการกักน้ำจน ท้ายน้ำเดือดร้อน

นายเมธี มหายศนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ แจ้งว่า ศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคเหนือ ติดตามสภาพอากาศและ คาดหมายในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม อากาศจะแปรปรวน ยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในบางวัน และกับจะมีฝน/ฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ช่วงฤดูร้อนนี้จะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้ จึงต้องระมัดระวัง ติดตามการรายงานสภาพอากาศในช่องทางต่างๆ

สำหรับปริมาณฝนที่ตกในช่วงฤดูร้อนนี้ บางพื้นที่จะมีไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งด้านอุปโภคและบริโภค ตลอดทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานกับพื้นที่แล้งซ้ำซาก ต้องร่วมมือกันประหยัดน้ำ

น้ำในลำน้ำปิง ในเขตเมืองมีปริมาณลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
น้ำในลำน้ำปิง ในเขตเมืองมีปริมาณลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบสภาวะน้ำในวันนี้(29 เมษายน 2559 เวลา 17.00 น.)ของศูนย์ประสานและติดตามสภานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เขื่อนแม่งัดฯ ความจุน้ำ 265 ล้านลบ.ม.มีน้ำเหลือ 34 ล้าน ลบ.ม. ประมาณ 13 % ของความจุ แต่น้ำใช้ได้จริงมีเพียง 5 % เท่านั้น ส่วนเขื่อนแม่กวงฯ วันนี้ มีน้ำเหลือ 24 ล้านลบ.ม.หรือ 9 %ของความจุ 263 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้ได้จริง 4 % หรือแค่ 10 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งเวปไซค์ชลประทานขอความร่วมมือต้องช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่าด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น