“ฮาลาลเชียงใหม่”อีกเมนู เสริฟ”ครัวไทยในครัวโลก”

                         1.jpgแม้แผนผลักดันการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ในพื้นที่กว่า 800 ไร่ ที่บ้านห้วยโจ้ ต.ดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ จะพับฐานล้มเลิกไป เพราะกระแสต่อต้าน

ความจริงแล้ว “ฮาลาล”( Halal ) เป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลาม บัญญัติไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ อาหาร แต่หมายรวมถึงบริการตามหลักการ ฮาลาลด้วย

การพุ่งเป้าเลือกจังหวัดเชียงใหม่ เป็นฐานผลิตสินค้า ฮาลาล เชียงใหม่ ( Chiangmai Halal ) เนื่องจาก เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ มีความเหมาะสม

5.jpg
ผลิตภัณฑ์ สินค้า ฮาลาล

ทั้งนี้สินค้า อาหาร ผลิตภัณฑ์ ฮาลาล สามารถสร้างรายได้ปีละ 7-8 พันล้านบาทสู่เชียงใหม่ “หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่” ระบุว่าถ้ามีเขตนิคมอุตสาหกรรม ฮาลาล จะสร้างรายได้สู่จังหวัดในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท
8.jpg

 ในส่วน อาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความหลากหลาย รวมถึงเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนยุทธศาสตร์ ครัวไทยสู่ครัวโลก และภาคการท่องเที่ยวเพราะจังหวัดเชียงใหม่ มีระบบการขนส่งพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ พรั่งพร้อมด้วยวัตถุดิบภาคการเกษตรที่หลากหลายมีคุณภาพ สามารถเข้าสู่กระบวนการ “ฮาลาล”ได้ครบวงจร ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจสูงมาก

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในแถบเอเชียนั้น ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่า เป็นอีกประเทศที่มีศักยภาพ ในการผลิต ส่งออกอาหารที่มีมาตรฐานเป็นเยี่ยม

9.jpgดังนั้น การถูกเลือกเป็นฐานผลิต สินค้า อาหาร บริการ “ฮาลาล” จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ประโยชน์ที่ชาวมุสลิมจะได้รับ 

หากหมายถึงอุตสาหกรรมฮาลาลในไทยจะสร้างเสริมเศรษฐกิจไทย และมีส่วนช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์”ครัวไทยสู่ครัวโลก” ที่เป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น

การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เต็มรูปแบบ ผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียน เร่งเดินเครื่องโครงการ เพื่อทะลุทลวงตลาดเป้าหมายอย่างแยบยล แม้จะมีพันธะสัญญาใจ ” อาเซียนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว” แต่เทคนิค ลูกเล่นทางการค้า การตลาด เป็นสิ่งที่แต่ละประเทศต้องแสวงหาโอกาสและสร้างสรรค์ขึ้น

ล่าสุดกับแผน” ระเบียงเศรษฐกิจ บรูไน-กว่างซี -จีน” อุตสาหกรรมฮาลาล เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่บรูไน โดดเข้ามาเล่นเต็มตัว

เนื่องจากในอนาคตอันใกล้นี้ ทรัพยากรน้ำมัน จะมีพลังทดแทนด้านอื่นเข้ามาในตลาด คุ้มค่า ถูกกว่า ธุรกิจค้าน้ำมัน จึงไม่น่าจะเป็นรายได้หลักของบรูไนอีกต่อไป การสร้างสรรค์แหล่งรายได้ด้านอื่นสู่ประเทศจึงเป็นสิ่งที่ต้องคิด วางแผนให้ทันเกมส์โลกธุรกิจแห่งอนาคต โดยศักยภาพแล้ว บรูไน มีประชากรเป็นชาวมุสลิมกว่าร้อยละ 67 สำหรับโครงการนี้ วางแผนร่วมมือกับเขตปกครองตนเองกว่างซี เพื่อสร้างฐานผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร สินค้า ฮาลาล
เปิดตลาดทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งที่จีนและหลายๆประเทศทั่วโลก

หลายๆภาคส่วน เสียดาย โอกาสที่ เชียงใหม่ปล่อยให้หลุดลอย เพราะความขัดแย้งทางความเชื่อ “เชิงปฏิปักษ์”ในความแตกต่างที่ยอมรับกันไม่ได้

13.jpg
การเปิดตัวของสมาคมสตรีมุลสิมเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก “มงคล สุกใส รองผู้ว่าฯเชียงใหม่ “ร่วมยินดี
14.jpg
ผลิตภัณฑ์ สินค้า ฮาลาล ในส่วน อาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความหลากหลาย

6.jpgทั้งๆที่ สังคมไทย พยายามก้าวสู่วิถี แม้จะแตกต่าง แต่จะเรียนรู้..อยู่ร่วมกันให้ได้ อาเซียนเป็นหนึ่งเดียวก็จริง แต่คงไม่เกี่ยวพันกับวิธีการ เทคนิค สร้างรายได้ ที่ต้องขับเคี่ยวกัน ท่ามกลางพิษเศรษฐกิจระบมไปทั่วโลก คาดการณ์กันว่า ในปี 2020 หรืออีก 5 ปี ประชากรมุสลิมจะมีถึง 2 พันกว่าล้านคน มีสัดส่วน 1 ใน 4 ของประชากรโลก
3.jpg

ยุทธวิธีของลัทธิอำนาจนิยม ได้สร้างสงคราม แห่งความเกลียดชัง ระหว่าง เชื้อ ชาติ ศาสนา เพื่อให้เกิดความอ่อนแอ แพ้พ่าย ไม่เข้มแข็งในสังคมโลก ทุกๆที่ หากมีความหวาดระแวง หวาดหวั่นในความแตกต่าง ย่อมทำให้เกิดการแก่งแย่ง และยึดครองผลประโยชน์ได้ง่าย

สำหรับ อาเซียนนั้น จากฐานประชากร กว่า 600 ล้านคน จะเป็นมุสลิมเกือบครึ่ง เป็นตลาดที่ใหญ่ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่แต่ละกลุ่มประเทศทั่วโลก จับจ้องขยายฐานการค้า การลงทุนและธุรกิจเพื่อสร้างรายได้

เดิมทีประเทศไทย พยายามผลักดัน ให้เปิด “นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดปัตตานี” มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547

7.jpg
ฮาลาล ในกระบวนการแบบอุตสาหกรรม ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากมายในสังคมไทย

ท้ายที่สุดก็ยุติโครงการฯ เพราะปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นอุปสรรคสำคัญ มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 เมื่อ 21 เมษายนที่ผ่านมา  ทุกๆรัฐบาล  พยายามจุดประกาย “เขตนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล”ขึ้น ด้วยการค้า การลงทุนในปัจจุบันและอนาคต มีความจำเป็น มีความสำคัญที่จะช่วยสร้างเสริมรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น  นอกเหนือจากการพึ่งพิง ภาคการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และภาคอื่นๆ เพียงด้านใดด้านหนึ่ง

12.jpg10.jpgแน่นอนว่า.. พื้นที่ ซึ่งมีศักยภาพ มีความเหมาะสม ในการจัดตั้ง เขตนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลนั้น มีไม่กี่จังหวัด“เชียงใหม่”เป็นหนึ่งในนั้นส่งผลให้มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นิคมอุตสาหกรรมฮาลาลจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับการจัดกิจกรรม งานแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ ปี 2557

4.jpg0..เชียงใหม่เคยมีการจัดงานแสดงสินค้าฮาลาลเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุน ยุทธศาสตร์ ฮาลาล..นำครัวไทยสู่ครัวโลก  

ทำให้หลายภาคส่วนในพื้นที่ตื่นตัว เล็งเห็นอนาคตของ การผลักดัน”ฮาลาลเชียงใหม่” ( Chiangmai Halal )
โดยข้อเท็จจริง ตามหลักการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ มีความจำเป็น ต้องศึกษา ข้อดี ข้อเสีย นำผลสรุปนำเสนอสู่สาธารณชน ผู้มีส่วนได้เสีย

กระบวนการ ขั้นตอน ขออนุญาตใช้พื้นที่ การศึกษา สำรวจ ตรวจสอบ ผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามระบบราชการ ยังไม่ได้เริ่มก็ประเดิมด้วย แรงต้านครบทุกเครือข่าย…..ในท้องถิ่น น่าสืบค้นต้นตอ ข้อเท็จจริงว่า จริงๆแล้ว..แรงต้านปะทุขึ้นเพราะอะไรกันแน่”

ต้องทำความเข้าใจว่า ในประเทศไทย การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม น้ำเน่าเสีย ขยะ สิ่งของเหลือใช้จากเขตนิคมอุตสาหกรรมทุกๆแห่ง ล้วนแล้วแต่มีระเบียบกฎหมายควบคุม หลายฉบับ

ไม่มีเขตนิคมอุตสาหกรรมใด ทั้งของรัฐฯและเอกชน ที่จะสามารถเปิดดำเนินการได้ โดยไม่ผ่านขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด  และจะสามารถควบคุมลพิษ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 100 %

เพียงแค่ควบคุมไม่ให้มีปัญหา สร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม เกินค่ามาตรฐานที่ผู้คน ในชุมชนรายรอบจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขเท่านั้น  เช่นเดียวกับ การจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือที่จังหวัดลำพูนประโยชน์และผลรับ ผลกระทบ คุ้มค่าต่อสิ่งที่ปรากฎ และเป็นไปในวันนี้หรือไม่

เราๆ..ท่านๆ… ..น่าจะมีคำตอบเชียงใหม่ อาจไม่มีความเป็นไปได้ในวันนี้ สำหรับ”โครงการ นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล” ในอนาคต  ทุกสิ่งเป็นไปได้ทั้งนั้น  กับบ้านนี้ เมืองนี้

“ฮาลาล”ไม่ใช่เพียง สินค้า ผลิตภัณฑ์ อาหาร ตามหลักการทางศาสนาอิสลาม แต่เป็นการสร้างโอกาส ในพื้นที่มีศักยภาพ

เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างสัมพันธภาพที่งดงามระหว่างผู้คนในสังคมโลกด้วยความเชื่อ และความศรัทธาที่ว่า

” ทุกศาสนา ล้วนสอนให้คนเป็นคนดี ในประเทศที่สุขสงบ ร่มเย็นใต้ร่มพระบารมีผืนนี้ ทุกชีวิต มีสิทธิ์ ที่จะเลือกไปในวิถีทางของชีวิตที่งดงาม เพื่อการดำรงอยู่ อย่างมีความสุข ตามความพอใจ ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ไม่มีโลกแห่งคริสตชน ไม่มีโลกของชาวพุทธ ไม่มีโลกมุสลิม
2.jpgหาก”เรา” เป็นพลเมืองโลก พลเมืองอาเซียน ที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน ให้เกิดการยอมรับ ในความแตกต่าง ถักทอสายใยใจ ก้าวไปตามวิถีที่ต่างศรัทธา และเชื่อมั่นว่าเป็นฝันที่งดงาม ทั้งโลกนี้และโลกหน้า                      อาเมน.. ขอพระองค์คุ้มครอง… สาธุ…

……………………………….

ขอขอบคุณ ..ภาพประกอบจาก เครือข่ายชมรมสื่อมุสลิมภาคเหนือ / ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ ศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง/ และพี่น้องชาวมุสลิม เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น