คุมเข้มโรงรมสารฯ ลิ้นจี่-ลำไยเหนือบน

9.jpg
อานัติ วิเศษรจนา

นายอานัติ วิเศษรจนา รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาที่เชียงใหม่ว่า มกอช.ดำเนินการสร้างความรู้ในการพัฒนาบทบาทผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าตามมาตรฐานการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมอบใบอนุญาติ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และนำเข้าสินค้าเกษตรตามาตรฐานบังคับรมผลไม้สดด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่ 4 พ.ค. 59 นี้

มกอช. ได้มอบใบอนุญาตให้กับผู้ผลิต ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับหลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (มกษ. 1004-2557) โดยมีผู้ประกอบการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์สำหรับลำไยและลิ้นจี่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และตาก ได้รับใบอนุญาต 90 ราย ได้ขึ้นทะเบียนและมอบใบอนุญาตให้กับผู้ส่งออกสินค้าลำไยและลิ้นจี่ตามมาตรฐานบังคับ รวม 90 บริษัท เพื่อควบคุมการรมลำไยและลิ้นจี่ด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ทั้งนี้ใบอนุญาตตามมาตรฐานบังคับมีอายุ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไปผู้ส่งออกนำเข้า และผู้ประกอบการโรงรมทุกแห่ง ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรฐานบังคับดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ก่อนที่จะส่งออกลำไยและลิ้นจี่สดทุกครั้ง ผู้ส่งจะต้องแจ้งการส่งออกโดยยื่นฟ้องพร้อมเอกสารหลักฐานได้ที่ มกอช. หรือด่านตรวจสินค้าเกษตร และยื่นผ่านทางออนไลน์ http://tas.acfs.go.th กรณีมีการแจกตัวอย่างสินค้าเพื่อตรวจวิเคราะห์สารตกค้างหรือมีการตรวจนอกสถานที่ผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ไม่มีใบอนุญาตจะไม่สามารถประกอบธุรกิจและส่งออกลำไยและลิ้นจี่ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น