ลำพูนจัดใหญ่ให้สัมผัสความแปลกตากับ ดนตรีอัฟริกา (Music of Africa)16-20 พค.2559 นี้

African-festival-790x480

ลำพูนจัดใหญ่ให้สัมผัสความแปลกตากับ ดนตรีอัฟริกา (Music of Africa)16-20 พค.2559 นี้
ดนตรีอัฟริกา หมายถึง ดนตรีของชนเผ่าดั้งเดิมของทวีปอัฟริกาที่อยู่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (Sahara) จนจรดปลายทวีป ได้แก่ ประเทศ กีเนีย ไอวอรีโคส กานา ไนจีเรีย แคมมารูน ซูดาน เอธิโอเปีย โซมาเลีย เคนยา ซาอี ราวานดา เบอรุนดี แทนซาเนีย แซมเบีย โรดีเซียแองโกลา นามิเบีย โมซัมบีกบอตสวานา กาบอน อูกานดา และอัฟริกาใต้ เนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก ดังนั้นจึงทำให้รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย

African Music

ดนตรีเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอัฟริกันมาก ชาวอัฟริกันใช้ดนตรีเกี่ยวกับวิถีชีวิตมากกว่าคนที่อยู่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก กิจกรรมทางดนตรีที่ชาวอัฟริกันทำอยู่ประจำมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ การร้องเพลง การเต้นรำ และการตีกลอง ปกติแล้วก็จะทำกิจกรรทั้ง 3 อย่างนี้ไปพร้อม ๆ กัน ท่าเต้นที่สวยงาม มีลีลาที่แปลกกว่าการเต้นของผู้คนในแถบอื่นของโลก โครงสร้างจังหวะที่สลับซับซ้อน เร้าใจ เครื่องดนตรีที่นำมาประกอบกิจกรรมดนตรีเป็นของดั้งเดิม บทเพลงที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษโดยไม่มีการจดบันทึก เหล่านี้ล้วนทำให้วิถีชีวิตของชาวอัฟริกันเต็มไปด้วยสีสันของดนตรี

cabaza

 

ดนตรีอัฟริกาเป็นดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ จะนำเครื่องดนตรีใด ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องดนตรีอัฟริกามาบรรเลงแทนจะทำได้ลำบาก ทำนองเพลงเป็นทำนองสั้น ๆ จดจำง่าย มีการโต้ตอบกันระหว่างวรรคถามและวรรคตอบ ในบางครั้งมีการนำวิธีการแบบคีตปฏิพาณ (Improvisation) มาใช้ในการโต้ตอบทำนองเพลงด้วย

ทุกครั้งที่บรรเลงดนตรี นักดนตรีที่ทำหน้าที่ตีกลอง 1 คน จะถูกคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เหมือนกับผู้นำวง คอยให้สัญญาณต่าง ๆ กับนักดนตรีคนอื่น ๆ ในวงเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงในการบรรเลง จังหวะการตีกลองที่มีลีลาสลับซับซ้อน เร้าใจ ท่าเต้นที่สวยงาม มีลีลาที่แปลกกว่าการเต้นของผู้คนในแถบอื่นของโลก เครื่องดนตรีที่นำมาประกอบกิจกรรมดนตรีเป็นของดั้งเดิม บทเพลงที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษโดยไม่มีการจดบันทึก เหล่านี้ล้วนทำให้วิถีชีวิตของชาวอัฟริกันเต็มไปด้วยสีสันของดนตรี และน่าสนใจ

maraca

ดนตรีดั้งเดิมของอัฟริกาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ คือ ดนตรีในพิธีกรรม และดนตรีเพื่อความบันเทิง
ดนตรีในพิธีกรรม
ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ของชาวอัฟริกันมีหลายรูปแบบ เช่น ใช้บรรเลงเกี่ยวกับการเกิด ใช้บรรเลงหลังจากเสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวผลิตทางการเกษตร หรือใช้บรรเลงหลังจากการออกไปทำการประมงเสร็จสิ้นลง เป็นต้น การบรรเลงในลักษณะนี้ก็เพื่อขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ช่วยดลบันดาลให้การกระทำการงานทั้งหลายบรรลุผลสำเร็จไปด้วยดดนตรีในพิธีกรรมกำลังบรรเลงอยู่ จะต้องมีการตีกลองด้วยทุกครั้ง ชาวอัฟริกันเชื่อว่า เสียงกลองที่ตีไปนั้นจะเป็นสื่อนำพาสิ่งที่พวกตนปรารถนาไปถึงพระเจ้าเบื้องบนได้
ดนตรีเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ
ดนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อความบันเทิงของคนทั่ว ๆ ไป หรือใช้ประกอบกิจกรรมการทำงาน เช่น เกี่ยวข้าว การเก็บพืชไร่ เป็นต้น การร้องเพลงประกอบการทำงานนั้น เพื่อลดความเครียดในการทำงาน ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน หรืออาจจะเป็นการสร้างจังหวะในการทำงานบางอย่างให้เกิดความพร้อมเพรียงก็ได้
ระบบเสียงและลักษณะของดนตรีอัฟริกา

sddefault
เพลงร้องและเพลงบรรเลงในดนตรีอัฟริกามีหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งบันไดเสียงก็มีใช้อย่างมากมายหลายรูปแบบด้วยเหมือนกัน โครงสร้างของบันไดเสียงในดนตรีอัฟริกาที่ถูกนำไปใช้มากจะเป็นแบบ 5 เสียง (pentatonic) และ 7 เสียง (heptatonic) เหมือนกับบทเพลงในดนตรีตะวันตกที่ใช้โครงสร้างของบันไดเสียงไดอะโทนิก (diatonic scale) ประโยคเพลงจะเป็นแบบสั้น ๆ มีวรรคถามและวรรคตอบ มีการนำประโยคเดิมมาใช้ซ้ำบ่อย ๆ ในเพลงร้องวรรคถามจะร้องด้วยเสียงเดียว (Solo) แต่ในวรรคตอบจะร้องด้วยเสียงหลายเสียง (Chorus) พร้อม ๆ กัน
พื้นผิว หรือ รูปพรรณ (Texure) ของดนตรีอัฟริกา

talkingdrum
เสียงประสานที่เกิดขึ้นในดนตรีอัฟริกาจะไม่เหมือนกับดนตรีตะวันตก ดนตรีอัฟริกานิยมการตกแต่งทำนองให้แปลกไปกว่าเดิม บางครั้งจะร้องเสียงยาวต่อเนื่องกันพร้อมกับเสียงอื่น ๆ หรืออาจจะร้องทำนองเดิม ด้วยระดับเสียงใหม่ไปพร้อมกันกับทำนองเดิม ทำให้รูปพรรณดนตรีแบบเฮเทโรโฟนี (Heterophony) เกิดขึ้น ขั้นคู่เสียงที่ถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด คือ ขั้นคู่ 3 ส่วนขั้นคู่อื่น ๆ ก็มีบ้างแต่ไม่มากเท่าขั้นคู่ 3 จังหวะการตีกลองของดนตรีอัฟริกาช่วยทำให้กิจกรรมดนตรีน่าสนใจมากขึ้น ชาวอัฟริกันมีความสามารถในการตีกลองไม่แพ้ชาวอินเดีย การบรรเลงดนตรีอัฟริกาบางรูปแบบจะใช้อัตราจังหวะที่แตกต่างกัน บรรเลงในเวลาเดียวกัน ด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างกัน ทำให้รูปพรรณดนตรีแบบโพลีโฟนี (Polyphony) เกิดขึ้น

krin
เครื่องดนตรีชาวอัฟริกัน ( African Instruments)
เครื่องดนตรีอัฟริกาที่พบในทุกพื้นที่มีหลายประเภท เช่น เครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องตีกระทบจังหวะ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาจากผลของน้ำเต้าแห้ง ผลบวบแห้ง เครื่องดนตรีบางชนิดจะเป็นได้ทั้งเครื่องเคาะจังหวะและเครื่องสาย
ระนาดไม้เป็นเครื่องดนตรีอัฟริกาที่ได้รับความนิยมนำมาใช้บรรเลงเช่นกัน ลูกระนาดทำด้วยไม้ รางที่ใช้สำหรับวางลูกระนาด อาจจะทำด้วยต้นกล้วย หรือผลน้ำเต้าแห้ง หรือขอบไม้ก็ได้

djembe
กลอง คือ เครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของดนตรีอัฟริกา การตีกลองของอัฟริกาเหมือนกับการตีเพื่อเลียนเสียงพูดของชาวอัฟริกันเอง ทั้งนี้เพราะลักษณะการพูดของชาวอัฟริกันเกิดขึ้นแบบทำนองดนตรีเป็นเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป ชาวอัฟริกันสามารถใช้เสียงกลองส่งข้อความเพื่อสื่อสานกันได้ เช่น ส่งสัญญาณเพื่อเรียกประชุม เป็นต้น
ท่านที่สนใจอยากได้สัมผัสกับเครื่องดนตรีอย่างกลองจากอาฟริกา ก็สามารถไปชมได้ที่งานมหกรรมกลองและดนตรีนานาชาติที่จัดขึ้นในจังหวัดลำพูน ตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 20 พฤษภาคม เวลา 16.00 น.ถึง 22.00น. หน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย สะพานท่าขาม ลำพูน

ร่วมแสดงความคิดเห็น