เปิดเทอมใหญ่ปี’59 ผู้ปกครอง ยังใช้จ่ายด้านการศึกษา แต่ลดจ่ายสิ่งที่ไม่จำเป็น

b.1ก่อนเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นช่วงที่ผู้ปกครองใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานอย่างสะพัด โดยค่านิยมของผู้ปกครองที่ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายเม็ดเงินสำหรับบริการด้านการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพสำหรับบุตรหลานต่อไปในอนาคต ส่งผลให้ธุรกิจบริการด้านการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการ ทั้งการศึกษาในระบบอย่างโรงเรียนเอกชน รวมถึงการศึกษาเพิ่มเติมจากในระบบอย่างโรงเรียนกวดวิชาและเสริมทักษะ ยังคงเติบโตต่อเนื่อง และไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก สำหรับในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญลำดับต้นๆ แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปี 2559 ส่งผลให้ผู้ปกครองปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม

แม้ค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญลำดับต้นๆ แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปี 2559 ส่งผลให้ผู้ปกครองปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม โดยให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาที่จำเป็น อย่างค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอม เช่น ค่าใช้จ่ายแรกเข้าโรงเรียน ค่ากิจกรรมพิเศษ เป็นต้น รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนของบุตรหลาน อย่างค่าเรียนกวดวิชา โดยปรับลดหรือชะลอการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาที่จำเป็นน้อยกว่าหรือไม่จำเป็น อย่างค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี คอมพิวเตอร์ กีฬา เป็นต้น ออกไป

666ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 สำหรับบุตรหลานในระดับก่อนอุดมศึกษา จากผู้ปกครองทั่วประเทศไทยโดยรวม น่าจะมีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 2.0 จากในช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท โดยเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชน 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอม 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชา 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ 800 ล้านบาท

จากตลาดแรงงานของประเทศไทยเผชิญภาวะความไม่สอดคล้องกันระหว่างการผลิตแรงงานและความต้องการแรงงาน โดยภาครัฐส่งเสริมการผลิตแรงงานในสายอาชีพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการแรงงานของประเทศมากขึ้น ส่งผลให้สถาบันการศึกษาต่างเร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีพ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีพด้วยเช่นกัน เพื่อผลิตแรงงานป้อนสู่ธุรกิจตนเองและป้อนสู่ตลาด ส่งผลให้การศึกษาในระบบของประเทศไทยมีความหลากหลายขึ้น

555นอกจากนี้ ค่านิยมของผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มเติมจากในระบบอย่างโรงเรียนกวดวิชา ได้สะท้อนโอกาสทางธุรกิจ ที่พบว่า มีผู้เล่นใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ติวเตอร์อิสระ เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดการเรียนกวดวิชา ส่งผลให้นักเรียนมีทางเลือกในการเรียนกวดวิชาที่หลากหลายขึ้นด้วยเช่นกัน

ก่อนเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นช่วงที่ผู้ปกครองใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานอย่างสะพัด โดยค่านิยมของผู้ปกครองที่ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายเม็ดเงินสำหรับบริการด้านการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพสำหรับบุตรหลานต่อไปในอนาคต ส่งผลให้ธุรกิจบริการด้านการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการ ทั้งการศึกษาในระบบอย่างโรงเรียนเอกชน รวมถึงการศึกษาเพิ่มเติมจากในระบบอย่างโรงเรียนกวดวิชาและเสริมทักษะ ยังคงเติบโตต่อเนื่อง และไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก

สำหรับในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญลำดับต้นๆ แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปี 2559 ส่งผลให้ผู้ปกครองปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม

444

เปิดเทอมใหญ่ปี’ 59 เศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ปกครองยังให้ความสำคัญค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษา อย่างค่าเทอม และค่ากวดวิชา โดยปรับลดหรือชะลอค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 นี้ การอุดหนุนค่าเทอมโรงเรียนรัฐบาลและค่าชุดนักเรียนจากภาครัฐ น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่บุตรหลานศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลได้ส่วนหนึ่ง สำหรับผู้ปกครองที่บุตรหลานศึกษาในโรงเรียนเอกชน ที่มีการปรับค่าเทอมสูงขึ้นอย่างสอดคล้องตามต้นทุนการประกอบธุรกิจที่สูงขึ้น น่าจะวางแผนและเตรียมค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอม เช่น ค่าใช้จ่ายแรกเข้าโรงเรียน ค่ากิจกรรมพิเศษ เป็นต้น ไว้ได้

โดยเม็ดเงินค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเทอมแรกของปีการศึกษา จะสูงกว่าเทอมที่สองของปีการศึกษา โดยผู้ปกครองที่บุตรหลานเลื่อนระดับชั้นจากอนุบาลไปสู่ประถมศึกษา หรือจากประถมศึกษาไปสู่มัธยมศึกษา จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอมที่สูงขึ้น รวมถึงผู้ปกครองที่บุตรหลานย้ายโรงเรียนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมในส่วนของค่าใช้จ่ายแรกเข้าโรงเรียน โดยผู้ปกครองน่าจะประคับประคองการใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมไว้ได้ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นและคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ส่งผลให้ค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมโดยเฉลี่ยต่อนักเรียนหนึ่งคนในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 นี้ เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดียวกันของปี 2558

222

รวมถึงผู้ปกครองน่าจะประคับประคองค่าเรียนกวดวิชา เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการเรียนกวดวิชาที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของบุตรหลานในการเรียนที่โรงเรียนหรือสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่งผลให้ค่าเรียนกวดวิชาโดยเฉลี่ยต่อนักเรียนหนึ่งคนในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 นี้ ทรงตัวจากในช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยโรงเรียนกวดวิชายังคงตรึงอัตราค่าเรียนในปี 2559 นี้ แม้ว่าจะมีต้นทุนการประกอบธุรกิจที่สูงขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับโรงเรียนกวดวิชาเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา

ในขณะที่ ค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี คอมพิวเตอร์ กีฬา เป็นต้น โดยเฉลี่ยต่อนักเรียนหนึ่งคนในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 นี้ ลดลงจากในช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดหรือชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน ของผู้ปกครองกลุ่มที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน และผู้ปกครองกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

จึงกล่าวได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปี 2559 ซึ่งกดดันกำลังซื้อของผู้ปกครอง เป็นเหตุให้ผู้ปกครองปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม โดยให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาที่จำเป็น อย่างค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอม รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนของบุตรหลาน อย่างค่าเรียนกวดวิชา โดยปรับลดหรือชะลอการใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาที่จำเป็นน้อยกว่าหรือไม่จำเป็น อย่างค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆออกไป

111

เปิดเทอมใหญ่ปี’ 59 คาดเม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษา 60,900 ล้านบาท

การใช้จ่ายจากผู้ปกครองในส่วนของค่าเทอม และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอม ที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 โดยรวมยังคงเติบโตจากในช่วงเดียวกันของปี 2558 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 สำหรับบุตรหลานในระดับก่อนอุดมศึกษา จากผู้ปกครองทั่วประเทศไทยโดยรวม น่าจะมีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 2.0 จากในช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท โดยเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชนประมาณ 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมประมาณ 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆประมาณ 800 ล้านบาท

นอกจากค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาแล้ว ในช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคมปี 2559 ผู้ปกครองยังมีค่าใช้จ่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา โดยผู้ประกอบการธุรกิจผลิตสินค้า เช่น ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน เป็นต้น แข่งขันทำการตลาดก่อนในช่วงเวลาก่อนเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคมระยะหนึ่งอย่างสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัว ด้วยการร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าปลีกปรับกลยุทธ์ เช่น การลดราคาสินค้า การแถมสินค้า การผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน เป็นต้น

 

จับตา แนวโน้มธุรกิจบริการด้านการศึกษาปี’59 มีความหลากหลาย เป็นทางเลือกสำหรับนักเรียน

จากตลาดแรงงานของประเทศไทยเผชิญภาวะความไม่สอดคล้องกันระหว่างการผลิตแรงงานและความต้องการแรงงาน โดยภาครัฐส่งเสริมการผลิตแรงงานในสายอาชีพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการแรงงานของประเทศมากขึ้น ส่งผลให้สถาบันการศึกษาต่างเร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีพ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีพด้วยเช่นกัน เพื่อผลิตแรงงานป้อนสู่ธุรกิจตนเองและป้อนสู่ตลาด ส่งผลให้การศึกษาในระบบของประเทศไทยมีความหลากหลายขึ้น

นอกจากนี้ ค่านิยมของผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มเติมจากในระบบอย่างโรงเรียนกวดวิชา ได้สะท้อนโอกาสทางธุรกิจ ที่พบว่า มีผู้เล่นใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ติวเตอร์อิสระ เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดการเรียนกวดวิชา ส่งผลให้นักเรียนมีทางเลือกในการเรียนกวดวิชาที่หลากหลายขึ้นด้วยเช่นกัน

333

ผู้ประกอบการก่อตั้งสถาบันการศึกษาสายอาชีพ เป็นทางเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ

ในระยะที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ได้หันมาก่อตั้งสถาบันการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีพ เพื่อผลิตแรงงานป้อนสู่ธุรกิจตนเองและป้อนสู่ตลาดมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางของภาครัฐในการส่งเสริมการผลิตแรงงานในสายอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเรียนการสอนในห้องเรียนควบคู่การปฏิบัติงานจริง เช่น หลักสูตรด้านธุรกิจค้าปลีก หลักสูตรด้านการโรงแรม เป็นต้น ที่ให้ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานและการันตีการเข้าทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจในการสมัครเรียน

ทั้งนี้ การก่อตั้งสถาบันการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีพโดยผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ เพิ่มเติมจากสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน นอกจากจะบรรเทาความไม่สอดคล้องกันระหว่างการผลิตแรงงานและความต้องการแรงงานแล้ว ยังเป็นทางเลือกในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน รวมถึงผู้ปกครองกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยบุตรหลานสามารถเรียนควบคู่ปฏิบัติงานจริง และได้รับค่าตอบแทนที่บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ปกครองได้ส่วนหนึ่ง

777

โรงเรียนกวดวิชาเผชิญความท้าทายจากนักเรียนเลือกเรียนกวดวิชากับติวเตอร์อิสระมากขึ้น

การขยายตัวของโรงเรียนกวดวิชาในระยะที่ผ่านมา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในรูปแบบการลงทุนเองโดยผู้ประกอบการ และการซื้อขายแฟรนไชส์ ส่งผลให้การแข่งขันระหว่างโรงเรียนกวดวิชาเริ่มมีความรุนแรง โดยต่างแข่งขันกันนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ควบคู่การตรึงอัตราค่าเรียนเพื่อรักษาฐานจำนวนผู้เรียนไว้ ในขณะเดียวกัน ก็พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ๆเพื่อขยายฐานจำนวนผู้เรียน เช่น นักเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่ต้องการสอบเข้าหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

นอกจากนี้ โรงเรียนกวดวิชายังเผชิญความท้าทายจากแนวโน้มนักเรียนมีทางเลือกเรียนกวดวิชากับติวเตอร์อิสระมากขึ้น ซึ่งติวเตอร์อิสระมีจุดแข็งด้านการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น สามารถตอบโจทย์ผู้เรียนได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากกว่าการเรียนการสอนเป็นกลุ่มใหญ่อย่างโรงเรียนกวดวิชา โดยการเรียนกวดวิชากับติวเตอร์อิสระมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งจากการติดต่อโดตรงระหว่างติวเตอร์อิสระและผู้เรียน รวมถึงการติดต่อผ่านเอเจนซี่ที่มีเครือข่ายติวเตอร์อิสระ สถานการณ์ดังกล่าว น่าจะส่งผลให้ติวเตอร์อิสระเข้ามามีบทบาทแย่งชิงส่วนแบ่งรายได้จากโรงเรียนกวดวิชามากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับตัวของโรงเรียนกวดวิชาในระยะต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น