เปิดตัวโครงการ “Northern Innovative Startup Thailand” สร้างผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่

สนช. จับมือ สอว. และเครือข่ายพันธมิตร รุกสร้างผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่นำร่องภาคเหนือ คาด 4 ปี ปั้น 240 สตาร์ทอัพ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 1,200 ล้านบาท

S__1433669
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันที่ 17 พ.ค. 59 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เปิดตัวโครงการ “Northern Innovative Startup” เพื่อเร่งกระตุ้นและสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน และ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้อง Convention Hall1 โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่S__1433668

ทั้งนี้ รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเครือข่ายภาคเอกชน จัดงาน Startup Thailand 2016 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Unite to Rise” หรือ “รวมพลังสตาร์ทอัพ เพื่อก้าวต่อไปของเศรษฐกิจไทย” ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเกิดความคาดหมาย และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนนโยบายจึงมอบให้ สอว. และ สนช. ร่วมกับหน่วยงานและภาคเอกชนในพื้นที่ขับเคลื่อนการสร้าง Startup ในระดับภูมิภาค โดยใช้กลไกของหน่วยงานต่างๆ บูรณาการงานร่วมกันจัดเป็นโครงการ “Northern Innovative Startup” ขึ้น” โดยมีรูปแบบและกิจกรรมการสนับสนุน ได้แก่ 1.กิจกรรมการค้นหาและสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up) ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 Days Startup และกิจกรรม 8 Weeks Coaching 2.NIS’s Fund มาตรการสนับสนุนเงินอุดหนุนการตั้งต้นธุรกิจ โดย สนช. จะให้การสนับสนุนในลักษณะของเงินให้เปล่า ในรูปแบบกลไกของ “เงินอุดหนุน” วงเงินอุดหนุนไม่เกินร้อยละ 90 และไม่เกิน 600,000 บาทต่อรายต่อโครงการ ซึ่งคาดว่าผลกระทบจากมาตรการการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวในระยะเวลา 4 ปี จะก่อให้เกิดผู้ประกอบการนวัตกรรมรายใหม่ ที่มีศักยภาพสูงในภาคเหนือที่มูลค่าธุรกิจเบื้องต้นเฉลี่ยอย่างน้อย 5 ล้านบาท รวมอย่างน้อย 240 ราย คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นประมาณ 1,200 ล้านบาท”

image

ด้าน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า สนช. ได้รับมอบหมายจาก วท. ให้เป็นเจ้าภาพในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่ง สนช. ตระหนักถึงโอกาสและความตื่นตัวจากการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ ดังนั้น จึงร่วมกับ สอว. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จัดตั้งโครงการการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ภาคเหนือ” (Northern Innovative Startup : NIS) เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจสูง แต่ยังขาดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งภาคเหนือของประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ในปัจจุบันมี Startup ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพ (80%) เชียงใหม่ (10%) และภูเก็ต (5%) ตามลำดับโดยมีกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจหลากหลายด้าน อาทิ ธุรกิจความงามและสุขภาพ กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร การท่องเที่ยวและโรงแรม รวมถึงไอทีและดิจิตัลคอนเทนส์ โดยโครงการ NIS นับเป็นการสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการสร้างผู้ประกอบการที่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

S__1433667
ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวอีกว่า พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดทางภาคเหนือ เป็นกลุ่มเมืองที่มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยกลุ่มธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจทางการแพทย์ เวชสำอาง และธุรกิจด้านเทคโนโลยี ดังนั้น โครงการ NIS จึงมุ่งเน้นไปยัง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ (1) IT Software และ Digital Content (2) Medical Spa and Wellness และ (3) Smart Tourism และธุรกิจอื่นๆ ผ่านกลไกของ สอว. และ สนช. และได้รับความร่วมมือจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสภาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ โดยสภาหอการค้านั้นมี“เครือข่ายทายาทนักธุรกิจรุ่นใหม่ (YEC : Young Entrepreneur Council)” ซึ่งเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่สืบทอดธุรกิจ หรืออยากเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง เป็นกลุ่มนักธุรกิจที่มีศักยภาพและต้องการพัฒนาทักษะและความสามารถในการบริหารงาน เป็นข้อดีในการเร่งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือ และสร้างกรณีศึกษาที่มีความเป็นไปได้ให้แก่นักธุรกิจ เพื่อเป็นการพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ ในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพ รองรับการขยายตัวของธุรกิจในท้องถิ่น ระดับจังหวัด รวมถึงระดับภูมิภาคและตลอดจนรองรับการขยายตลาดธุรกิจเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และยังถือว่า เป็นการพัฒนากระบวนการเริ่มขับเคลื่อนธุรกิจสายใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมให้กับประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า “ไทยต้องผลิตนักรบเศรษฐกิจขึ้นมาให้มากที่สุดที่จะทำได้”

ร่วมแสดงความคิดเห็น