ภูมิปัญญาสร้างสรรค์เพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ยั่งยืน

p12

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้นวัตกรรมร่วมกับความรู้ท้องถิ่นและภูมิปัญญามาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อความยั่งยืน “TECTONA” โดยนำผ้าฝ้ายที่ทอจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าภูดาว ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ มาย้อมสีธรรมชาติที่พัฒนาจากองค์ความรู้ของนักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้สีเขียวจากการย้อมสีครามร่วมกับขมิ้น และสีม่วงจากการย้อมสีครามร่วมกับครั่ง สอดคล้องกับแรงบันดาลใจจากทุ่งหญ้าและฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง เปิดตัวด้วย TERRACES COLLECTION ภายใต้แนวคิดผลิตภัณฑ์ URBAN LIFESTYLE ที่ดึงความคุ้นเคยของรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ดั้งเดิม สู่การสร้างสรรค์ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ หัวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการพัฒนาแนวคิดมาจากการผสมผสานวัฒนธรรมให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างนวัตกรรมในการออกแบบสิ่งทอที่เป็นนวัตกรรมด้านงานฝีมือ (Craft Innovation) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้นวัตกรรมร่วมกับความรู้ท้องถิ่นและภูมิปัญญามาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยนำผ้าฝ้ายที่ทอจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าจากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าจากผ้าภูดาว บ้านต้นกอก 40 ม.4 ถนนทุ่งเสี้ยว-โรงวัว ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีคุณโฉมศรี ดวงสะเก็ด เป็นประธานกลุ่ม มาย้อมสีธรรมชาติที่พัฒนาจากองค์ความรู้ของนักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้การผสมสีธรรมชาติ 2 ชนิด เพื่อสร้างเฉดสีให้สอดคล้องกับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติในท้องถิ่นที่มาจากทุ่งหญ้าและฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง เฉดสีที่เลือกประกอบด้วย สีเขียวที่ได้จากการย้อมสีครามร่วมกับขมิ้น และสีม่วงที่ได้จากการย้อมสีครามร่วมกับครั่ง เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องเรือน
ดังนี้ 1. Paddy-field เป็นที่นอนบุ ขนาด 95 x 195 เซนติเมตร ใช้รูปแบบการสร้างลวดลายจากนาขั้นบันได โดยการเทคนิคหุ้มบุ สามารถทำความสะอาดได้เช่นเดียวกับการทำความสะอาดผ้าห่มนวม 2. Sleepy-hill เป็นหมอนอิง ขนาด 40 x 60 x 60 เซนติเมตร ใช้รูปแบบการสร้างลวดลายจากนาขั้นบันได โดยการเทคนิคหุ้มบุ เช่นเดียวกับ Paddy-field ประกอบด้วยส่วนของไส้หมอนกับตัวหมอนสามารถทำความสะอาดได้เช่นเดียวกัน 3. Paddy-terraces เป็นเครื่องเรือนหุ้มบุอเนกประสงค์ ขนาด 95 x 60 x 195 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้นงาน ใช้รูปแบบการสร้างลวดลายจากนาขั้นบันได โดยการเทคนิคหุ้มบุ ประกอบด้วยส่วนของไส้ในกับตัวหุ้มด้านนอก สามารถทำความสะอาดได้

จากการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ทำให้ได้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ นำไปสู่จดลิขสิทธิ์ลวดลายและจดตราสินค้าที่ต่อยอดเป็นสำหรับเป็นธุรกิจในอนาคต คือ ลาย rice terraces ลายเอกลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องเรือน สิทธิบัตรการออกแบบ “ลายผ้า” เลขที่ 1602000700 ภายใต้ตราสินค้า “Tectona” หรือ “Tectona grandis” เป็นชื่อเรียก “ต้นสัก” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ทั่วบริเวณของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือในอีกความหมายหนึ่งคือฝั่งสวนสักนั่นเอง

ร่วมแสดงความคิดเห็น