28 พ.ค.นี้เชิญร่วมงานคืนสู่เหย้า “ต้า เจีย หุย หมู่ เสี้ยว” ครั้งที่ 13

หวางซิ่วเซิ่ง
หวางซิ่วเซิ่ง
ไพฑูรย์
ไพฑูรย์
วงกต
วงกต

จากหลักฐานและการสืบค้นเชื่อว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนให้กับบุตรหลานชาวจีนในจังหวัดเชียงใหม่เริ่มขึ้นราว ปี พ.ศ.2444 หรือกว่า 115 ปีมาแล้ว ได้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ สร้างคนดีที่มีคุณภาพให้สังคมมากมาย โดยโรงเรียนจีนแห่งแรกที่ก่อตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อว่า โรงเรียนฮั่วเอง

ต่อมามีการก่อตั้ง โรงเรียนฮั่วเคี้ยว โรงเรียนชิงหัว โรงเรียนช่องฟ้า โรงเรียนซินเซิง โรงเรียนศักดา โรงเรียนวาณิชบำรุงวิทยา และโรงเรียนสหศึกษา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง ในปัจจุบัน รวมเป็นโรงเรียนจีนเชียงใหม่ 8 สถาบัน ส่วนสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนจีนเชียงใหม่ 8 สถาบัน เริ่มต้นจากการเป็นชมรมเพื่อรวบรวมและพบปะสังสรรค์ในกลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนจีนที่เคยเปิดสอนในเชียงใหม่ทุกสถาบัน ต่อมาจึงได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนจีนเชียงใหม่ 8 สถาบัน

4ตั้งแต่ครั้งเป็นชมรมโรงเรียนจีน จนกระทั่งเป็นสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนจีนเชียงใหม่ฯ ได้มีการจัดงานคืนสู่เหย้ามาแล้ว 12 ครั้ง โดยการจัดงานคืนสู่เหย้า ครั้งที่ 12 คือเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2551 และในปีนี้กำหนดจัดงานขึ้นใน วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2559 จึงถือเป็นการจัดงานคืนสู่เหย้า “ต้า เจีย หุย หมู่ เสี้ยว” ครั้งที่ 13 ภายใต้การนำของ นายไพฑูรย์ ตระการศิรินนท์ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนจีนฯ และ นางวงกต จันทรมังกร ประธานการจัดงานคืนสู่เหย้า โดยมี ฯพณฯ หวางซิ่วเซิ่ง รองกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการฟื้นฟูมิตรภาพความสัมพันธ์ของศิษย์เก่าอันจะนำไปสู่ความรัก ความสามัคคี และ เอื้ออาทรซึ่งกันและกันต่อไปในอนาคต ตลอดจนเป็นเวทีแห่งการเชิดชูเกียรติมอบโล่เกียรติยศให้แด่ศิษย์เก่าอาวุโสที่ทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จำนวน 13 ท่าน ให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นเป็นแรงบันดาลใจให้กับรุ่นน้องร่วมสถาบันต่อไป

5 6งานคืนสู่เหย้า “ ต้าเจียหุยหมู่เสี้ยว” ครั้งที่ 13 ของสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนจีนเชียงใหม่ 8 สถาบันในครั้งได้ ได้รับการหารือ ปรึกษา ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 จากคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าฯ ตลอดจนกรรมการที่ปรึกษาสมาคม อาทิ นายธัญ กาญจน์วัฒนานนท์ ประธานอำนวยการมูลนิธิช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงวิทยา และ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง โดยกำหนดเป้าหมายของการรวมตัวของศิษย์เก่า เพื่อนำเอาพลังของศิษย์เก่าช่วยส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้โรงเรียนก้าวไปสู่จุดหมายสูงสุด เป็นที่นิยมชื่นชอบ มีภาพลักษณ์ที่ดี มีเกียรติประวัติเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างกว้างขวาง จากจำนวนไม่กี่ร้อยคน มากขึ้นเป็นกว่า 3,000 คนในปัจจุบัน และโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงกำลังขยายพื้นที่ให้เยาวชน มีคุณภาพที่โดดเด่นต่อไป

7

ร่วมแสดงความคิดเห็น