มช.เจ๋ง สร้างโปรแกรมวิเคราะห์ใช้ไฟฟ้า ERDI EASY SMART METER-2

B-9.jpg
ทีมวิจัย สถาบันพลังงาน มช. สุดยอดนักคิด สร้างโปรแกรมวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้า ERDI EASY SMART METER โดยผศ.ดร.ยศธนา คุณาทร รองผู้อำนวยการ และ ดร.ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สถาบันพลังงาน มช.) ได้ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีใหม่ ERDI-Easy Smart Meter System เป็นโปรแกรมอัจฉริยะ ที่คิดวิจัยขึ้น โดยผศ.ดร.ยศธนา คุณาทร รองผู้อำนวยการ และ ดร.ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อรองรับการติดตามแสดงผลปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารและบ้านเรือนได้ สามารถรายงานผลการใช้พลังงานไฟฟ้าได้แบบ Real Time ทำให้ง่ายต่อการติดตามผลการใช้ไฟฟ้า โดยดูผ่าน LED TV หรือ Smart Device ได้

B-10.jpg นอกจากนั้น โปรแกรมนี้ ยังช่วยเก็บบันทึกและเรียกดูข้อมูลค่าไฟฟ้าย้อนหลัง และสามารถแสดงผลออนไลน์ได้ทันที ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน ก็สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถวางแผนการจัดการพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะมีฐานข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลาอย่างละเอียด รวมทั้งรู้ถึงจุดรั่วไหล และอัตราการสิ้นเปลืองของพลังงานไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญในแต่ละพื้นที่นั้นๆ โดยคาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดผลประหยัดไม่น้อยกว่า 10% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ERDI EASY SMART METER ทำงานอย่างไร

ระบบ ERDI-Easy Smart Meter System มีส่วนประกอบหลักของระบบทั้งหมด 4 ส่วนหลัก ประกอบด้วย อุปกรณ์ตรวจวัดการใช้ปริมาณไฟฟ้า (METER, NODE) อุปกรณ์เก็บบันทึกและประมวลผลการใช้ปริมาณไฟฟ้า (MAIN SERVER) อุปกรณ์ส่งสัญญาณข้อมูล (MODEM) และ อุปกรณ์แสดงผล (DISPLAY) โดยการวัดการใช้ปริมาณไฟฟ้า จะอาศัยอุปกรณ์ตรวจวัด 2 ประเภท โดยเลือกใช้ตามลักษณะการติดตั้งและการส่งสัญญาณเป็นหลัก คือ 1.การติดตั้งและส่งสัญญาณด้วยระบบสาย LAN อุปกรณ์ตรวจวัดการใช้ปริมาณไฟฟ้าจะอาศัย มิเตอร์ไฟฟ้าแบบ Digital และ Current Transformer (CT) ในการตรวจวัด B-11.jpgซึ่งสามารถตรวจวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มีปริมาณสูง หรืออุปกรณ์ที่มีการใช้ปริมาณไฟฟ้าที่มาก ตามคุณสมบัติ ของมิเตอร์ไฟฟ้า และขนาดของ CT ที่นำมาใช้ในการตรวจวัด และ 2.การติดตั้งและส่งสัญญาณด้วยระบบ WIRELESS อุปกรณ์ตรวจวัดการใช้ปริมาณไฟฟ้าจะอาศัย อุปกรณ์ตรวจวัดและส่งสัญญาณ ERDI-ESM NODE และ Current Transformer (CT) ในการตรวจวัด ซึ่งมีความเหมาะสมกับการตรวจวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์แต่ละชนิด ในแต่ละตำแหน่ง และอุปกรณ์ที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปริมาณไม่สูงมาก ทำให้สามารถวิเคราะห์การใช้ปริมาณไฟฟ้าในแต่ละตำแหน่งได้ละเอียดมากขึ้น ตอบโจทย์ มช. มหาวิทยาลัยGreen and Clean สถาบันพลังงาน มช.คิด คณะแพทย์ มช.นำไปใช้เป็นต้นแบบ ตอบโจทย์ “ช่วยประหยัดพลังงานลดค่าใช้จ่าย”มากถึง 10%
ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชูนโยบายGreen and Clean Sustainable Universityการนำเทคโนโลยี ERDI-Easy Smart Meter Systemที่คิดค้นโดยสถาบันพลังงาน มช. มาใช้จึงเป็นการตอกย้ำ การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้นำด้านผลงานวิจัยโดยแท้จริง ทั้งนี้หลังจากที่สถาบันพลังงาน มช.ได้คิดค้นโปรแกรม ERDI-Easy Smart Meter System สำเร็จนอกจากจะนำไปใช้ภายในอาคารสถาบันฯแล้ว ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้ดำเนินการติดตั้งระบบ ERDI-Easy Smart Meter System เพื่อวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้าภายในศูนย์ ซึ่งผลจากการติดตั้งที่ผ่านมา ทำให้ศูนย์สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าทั้งอาคารได้ประมาณ 10%และนอกจากนี้ทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ยังให้ความสนใจในการนำระบบดังกล่าวไปติดตั้งภายในโรงพยาบาลเพื่อวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น