สาระน่ารู้.. รู้ทันโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่

1

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ที่เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุของทางเดินอาหารส่วนปลายที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติจนมีลักษณะเป็นก้อนขึ้นมา รวมถึงสามารถที่จะกระจายไปยังที่อื่น ๆ ได้ด้วยซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลาเป็นปีหรืออาจจะหลายปีได้ ในประเทศไทยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในผู้หญิงเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งตับและมะเร็งปอด
สาเหตุสของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่ที่ทราบคือปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้โอกาสการเกิดมะเร็งสูงขึ้น แม้จะไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงก็ตาม
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.อายุ 50 ปี หรือมากกว่า , 2.ประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว โดยเฉพาะถ้าบุคคลนั้นเป็นญาติสายตรงและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี , 3. มีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งรังไข่, มะเร็งมดลูก และ มะเร็งเต้านม , 4. มีประวัติเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ , 5. มีประวัติเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease) , 6. โรคอ้วน , 7. สูบบุหรี่
อาการอะไรที่ควรสงสัยหรือควรมาปรึกษาแพทย์ 1. นิสัยในการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลง เช่น มีอาการท้องผูก หรือท้องเสียเกิดขึ้นใหม่ หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย 2. มีความรู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด 3. ขนาดของอุจจาระเล็กลงหรือลีบลงกว่าปกติ 4. อุจจาระมีมูกเลือดหรือสีดำคล้ำ 5. มีอาการแน่นท้อง, ท้องอืด หรือ ปวดท้อง 6. มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย, หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทั่วไปแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองในประชากรทั่วไปอายุ 50 ปีหรือมากกว่า, หรือบุคคลที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
วิธีการตรวจคัดกรอง ได้แก่ การตรวจหาเลือดในอุจจาระ, การเอกซเรย์สวนแป้งตรวจดูลำไส้ใหญ่, การส่องกล้องตรวจดูลำไส้ใหญ่
การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการซักประวัติ, การตรวจร่างกาย, การตรวจหาเลือดในอุจจาระ, การเอกซเรย์สวนแป้งตรวจดูลำไส้ใหญ่หรือการส่องกล้องร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวิจิจฉัยทางพยาธิวิทยา จากนั้นแพทย์ก็จะทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประเมินระยะของโรคและวางแผนในการรักษาต่อไป
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับระยะและตำแหน่งที่เป็น ซึ่งในปัจจุบันการรักษาได้พัฒนามากขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย การรักษานั้นประกอบไปด้วยการผ่าตัด, การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดทั้งในส่วนที่ใช้ในการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัด หรือการรักษาในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายก็ตาม, และการรักษาประคับประคอง เช่น การฉายรังสีเพื่อควบคุมอาการปวดและอาการอื่น ที่เกิดจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดจากโรคมะเร็ง เป็นต้น
การป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้มาก ๆ ควบคุมการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน ออกกำลังการสม่ำเสมอ งดบุหรี่ ทำการตรวจคัดกรองกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการที่สงสัย

………รพ.แมคคอร์มิค / ข้อมูล…………

ร่วมแสดงความคิดเห็น