คนงานหวิดตายเปิบเห็ดพิษ หามส่ง รพ.ทัน เตือนกินมั่วอันตรายถึงชีวิต

เปิปเห็ดพิษ

เมื่อวันที่ 29 พ.ค.59 เวลาประมาณ 16.30 น .ทางโรงพยาบาลน่าน ได้รับแจ้งว่า มีประชาชนรับประทานเห็ดที่คาดว่ามีพิษเข้าไป ทำให้มีอาการอาเจียนหลายครั้ง และท้องเสีย ล่าสุดทางทีมแพทย์โรงพยาบาลน่าน ได้เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด และในเวลาต่อมา เนื่องจากมีอาการอาเจียน ท้องเสีย หลังจากรับประทานเห็น ที่มีลักษณะ โคนต้นสีขาวดอกสีแดง เข้าไป จากการสอบทางแพทย์เบื้องต้นได้ความว่า ผู้ป่วยที่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลน่านนั้น รับประทานเห็ดทั้งครอบครัวจำนวน 9 คนและมีอาการดังกล่าว ซึ่งผู้ป่วยเป็นคนงานรับจ้างกรีดยางที่ ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน ในช่วงเวลากลางวันนั้น ได้ออกไปหาเห็ด เพื่อมาประกอบอาหารรับประทานตามสวนยาง

โดยเบื้องต้นผู้ป่วยให้ข้อมูลกับทางแพทย์ว่า ตนเองนั้นเคยรับประทานเห็ดที่คลายลักษณะนี้ ทางภาคใต้ ซึ่งเคยไปรับจ้างกรีดยางมาก่อน ทางผู้ป่วยจึงคาดว่าเห็นชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกันกับที่เคยรับประทาน โดยเห็ดชนิดที่ผู้ป่วยเรียกว่าเห็ดขี้มัน ซึ่งคล้ายกับเห็ดแดงกุหลาบ จึงนำมาประกอบอาหารและรับประทานกันทั้งครอบครัวและมีอาการ เวียนหัว อาเจียน ท้องเสีย
ทางด้าน นพ.พงเทพ วงค์วัชรไพรบูรณ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน เปิดเผยว่า ตอนนี้ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ผู้ป่วยนั้นรับประทานเห็ดชนิดนี้เข้าไป หรือว่าอาหารเป็นพิษจากอย่างอื่น แต่จากการรายงานก่อนหน้านี้ เรื่องรับประทานเห็ดชนิดนี้แล้ว มีอาการยังไม่เคยมีแจ้งเข้ามา ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะเป็นเห็ดโม่งโก้ ที่มีลักษณะคล้ายเห็ดเผาะ ในเบื้องต้นขณะนี้ทางโรงพยาบาลน่าน จึงได้จัดทีมแพทย์เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด จึงฝากเตือนประชาชน ในช่วงหน้าฝนนี้เห็ดจะออกมากมาย หากไม่มั่นใจหรือ เห็ดมีสีที่สดใส ให้คาดเดาไว้ก่อนว่า เห็ดชนิดดังกล่าวนั้นมีพิษ
อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่ในทุกปีที่เข้าสู่ช่วงฤดูฝนนั้น มักจะมีเห็ดหลากหลายชนิดงอกมาจากพื้นดิน และมักจะมีชาวบ้านที่เข้าใจว่าเห็ดนั้นสามารถรับประทานได้และเก็บมาประกอบอาหาร แต่เห็ดบางชนิดมีพิษที่อาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งในแต่ละปีทาง สาธารณะสุขหรือแพทย์ก็ได้ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานเห็ดชนิดต่างๆ พร้อมทั้งได้ให้คำแนะนำในการสังเกตุและการรับประทานเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ทาง นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้หลายพื้นที่เริ่มมีฝนตกหลังจากฝนตกจะมีเห็ดขึ้นตามธรรมชาติ  โดยเฉพาะป่าเขา มีเห็ดทั้งที่กินได้และกินไม่ได้ ซึ่งคือ “เห็ดพิษ” แต่กลับมีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่กินได้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และเก็บมากินจนเป็นอันตรายแก่ชีวิต ซึ่งพบทุกปี จากรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา ฝ่ายควบคุมโรคและป้องกันโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม–ธันวาคม ปี2558 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยกินเห็ดพิษ จำนวน 3 ราย และเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2559 ยังไม่มีรายงานรับแจ้งผู้ป่วยกินเห็ดพิษ
โดยอาการเจ็บป่วยหลังกินเห็ดพบได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ซึ่งเห็ดที่มีพิษรุนแรงที่สุดและเป็นเหตุให้เสียชีวิตบ่อยที่สุด คือ เห็ดระโงกหิน หรือ เห็ดไข่ตายซาก จะมีสารพิษ 2 ชนิดคือ อะมาท็อกซินส์ และฟาโลท็อกซินส์ ที่จะทำลายระบบทางเดินอาหาร ตับ ไต สมอง ระบบเลือด ระบบหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ใน 4-10 ชั่วโมง สารพิษในเห็ดจะทนความร้อนได้ดี ดังนั้น แม้เห็ดจะสุกแล้ว แต่ความเป็นพิษก็ยังมีสูง และอาการป่วยจะปรากฏหลังกินเห็ดพิษประมาณ 3 ชั่วโมง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว ปวดเกร็งในท้อง
สำหรับวิธีสังเกตลักษณะของเห็ดที่มีพิษ ส่วนใหญ่เจริญงอกงามในป่า ก้านสูง ลำต้นโป่งพองออก โดยเฉพาะที่ฐานกับที่วงแหวนเห็นชัดเจน สีผิวของหมวกมีได้หลายสี เช่น สีมะนาวถึงสีส้ม สีขาวถึงสีเหลือง ผิวของหมวกเห็ดส่วนมากมีเยื่อหุ้มดอกเห็ดเหลืออยู่ในลักษณะที่ดึงออกได้หรือเป็นสะเก็ดติดอยู่ ครีบแยกออกจากกันชัดเจน มักมีสีขาว บางชนิดสีแดงหรือสีเขียวอมเหลือง สปอร์ใหญ่มีสีขาวหรือสีอ่อน มีลักษณะใสๆรูปไข่กว้าง
คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกรับประทานเห็ด คือ ควรเลือกรับประทานเห็ดที่รู้จักดี เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดลม เห็ดโคน เป็นต้น และเวลาเก็บเห็ดต้องเก็บให้ครบทุกส่วน โดยขุดให้ลึก เพราะหากเด็ดแต่ด้านบนแล้ว จะไม่เห็นลักษณะจำเพาะบางอย่าง เช่น กระเปาะ ซึ่งอยู่ติดกับดิน ใช้บ่งบอกชนิดของเห็ดพิษร้ายสามารถสังเกตได้ คือมีสีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด มีแผ่น หรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด มีวงแหวนพันรอบบนก้านดอกเห็ด วงแหวนนี้จะเป็นตัวเชื่อมเนื้อเยื่อของหมวกเห็ด และก้านดอกให้ติดกันเมื่อดอกเห็ดบาน มีขน หรือหนามเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่น โดยส่วนมากจะเป็นกลิ่นเหม็น มีน้ำ นอกจากนี้ ควรเก็บแต่เห็ดที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์เท่านั้น หลีกเหลี่ยงเห็ดที่อ่อนเกินไป ลักษณะต่างๆ ที่ใช้จำแนกชนิดยังไม่เจริญพอ หลีกเหลี่ยงเห็ดที่แก่หรือเริ่มเน่าเปื่อย เพราะเห็ดบางชนิด เมื่อแก่อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีจนทำให้มีพิษอย่างอ่อนได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น