ประชาชนชาวเชียงใหม่แห่ร่วมประเพณีบูชาเสาอินทขีลวันแรกคึกคัก

ใส่ขันดอก (1)เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 1 มิ.ย.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายปวิณ ชํานิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล ประจำปี 2559 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 มิ.ย.59 และจะมีพิธีออกอินทขีลในวันที่ 8 มิ.ย.59 โดยมีประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานใอย่างคับคั่ง ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันแรกของการจัดงาน ชาวเชียงใหม่ทั้งวัยรุ่นและคนชรา รวมทั้งเเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ต่างพร้อมใจมาร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า และร่วมกันนำดอกไม้ ธูปเทียน มาวางใส่ขันดอก จากนั้นจึงร่วมกันประกอบพิธีเจริญพุทธมนต์สมโภชเสาอินทขีล

ใส่ขันดอก (2)โดยการจัดพิธีในปีนี้ ได้มีการจัดขบวนแห่อัญเชิญพระพุทะรูปฝนแสนห่า พร้อมเครื่องบูชาอินทขีล ออกจากวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระปกเกล้า ผ่านพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เลี้ยวขวาไปตามถนนราชวิถี เข้าสู่ถนนช้างม่อย-ถนนช้างม่อยตัดใหม่-ถนนท่าแพ-ถนนราชดำเนิน ถึงสี่แยกกลางเวียง เลี้ยวซ้ายตามถนนพระปกเกล้า เข้าสู่วัดเจดีย์หลวงวรวิหารก่อนจะทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ขณะที่ในช่วงค่ำของวันเดียวกันนี้ ก็ได้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแห่เดินทางเข้ามาร่วมพิธีบูชาเสาอินทขีลกันอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แม้ว่าบรรยากาศจะมีฟ้าครึ้มและฝนตกลงมาในช่วงค่ำก็ตาม ซึ่งการเข้าร่วมพิธีดังกล่าวที่จัดขึ้นนี้ชาวเชียงใหม่เชื่อว่าถือเป็นการสร้างบุญและเสริมความเป็นศิริมงคลต่อตัวเอง เพราะหนึ่งปีจะมีการจัดพิธีดังกล่าวเพียงแค่ครั้งเดียวและถือเป็นงานสำคัญระดับจังหวัดอีกงานที่หลายคนให้ความสำคัญ ประกอบกับความศักสิทธิ์ของพระเจ้าฝนแสนห่า ที่ตนเชื่อว่ามีความศักสิทธิ์มากซึ่งจะสังเกตุได้ว่าเมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวทุกปีจะมีฝนตกลงมาตลอด ตามชื่อของพระพุทธรูปองค์นี้ นอกจากนี้การทำพิธียังมีความเชื่อและช่วยเสริมดวงให้โชคดีตลอดปี

ใส่ขันดอก (4)สำหรับการจัดงานประเพณีบูชาเสาอินทขีล(ใส่ขันดอก) ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเป็นเวลา 7 วัน และถือได้ว่าเป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเชียงใหม่ ซึ่งเสาหลักเมืองหรือเสาอินทขีล ปัจจุบันที่ตั้งอยู่กลางวิหารจัตุรมุขแบบล้านนาประยุกต์ในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เสาหลักเมืองนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในบ้านเมือง ให้เกิดพลังสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายใต้ศีลธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา บูชาอารักขเทวดาประจำเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความร่มเย็นฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยมีกิจกรรมการสวดสมโภชบูชาเสาอินทขิล การสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า การใส่ขันดอกเพื่อเป็นพุทธบูชา การฟ้อนบูชาเสาอินทขิลและการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการทำบุญตามจุดต่างๆ ซึ่งก่อนพิธี ได้มีฝนตกโปรยปรายลงมา สร้างความชุ่มชื้นให้กับเมืองเชียงใหม่อย่างมาก

อย่างไรก็ตาม พิธีบูชาเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ชาวเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นเสาหลักที่สร้างความมั่นคง การอยู่ดีมีสุขให้คนเชียงใหม่ อินทขิล หรือ เรียกว่า เสาหลักเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่ทราบดีว่า ทุกปีจะต้องมีพิธีสักการะบูชาเสาอินทขิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ให้แก่ชาวบ้านชาวเมืองรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับเกษตรโดยการเพาะปลูก โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญพระเจ้าฝนแสนห่าอันเป็นพระพุทธรูปที่บันดาลให้ฝนตกมาเป็นประธานในขบวนแห่และมีการสวดคาถาอินทขิลของหมู่สงฆ์ด้วย ชาวเชียงใหม่จะทำพิธีบูชาอินทขิลในตอนปลายเดือน 8 ต่อเดือน 9 หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน โดยเริ่มในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 8 เรียกว่า วันเข้าอินทขิล การเข้าอินทขิลจะมีไปจนถึงในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นวันออกอินทขิล จึงเรียกว่า เดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก

ร่วมแสดงความคิดเห็น